“Woven City” เมืองไฮโดรเจน สนามทดสอบพลังงานสะอาด และเทคโนโลยีแห่งอนาคต

อัปเดตล่าสุด 12 ม.ค. 2563
  • Share :

Toyota เปิดตัว คอนเซ็ปต์เมืองไฮโดรเจน “Woven City” แนวคิดเมืองพลังงานทดแทน ณ ตีนเขาภูเขาไฟฟูจิ พื้นที่ 175 เอเคอร์ ซึ่งใช้พลังงานจากเซลล์เชื้อเพลิง (Fuel cell) ไฮโดรเจนแทนเชื้อเพลิง ภายในงาน CES 2017 เมื่อวันที่ 6 มกราคม ที่ผ่านมา

“Woven City” ถือกำเนิดขึ้นภายใต้แนวคิด “สนามทดลองเทคโนโนโลยี” ออกแบบเพื่อใช้เป็นที่พักพนักงาน และนักวิจัยของ Toyota เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมจำลองสำหรับยานยนต์อัตโนมัติ หุ่นยนต์อุตสาหกรรม การคมนาคมส่วนบุคคล สมาร์ทโฮม (Smart Home) และปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence: AI) เพื่อให้สามารถทดลองสิ่งประดิษฐ์เหล่านี้ในสภาพแวดล้อมที่เหมือนอนาคตได้

Mr. Akio Toyoda ประธานบริษัท Toyota กล่าวแสดงความเห็นว่า “การสร้างเมืองขึ้นเองเช่นนี้ แม้เป็นเมืองขนาดเล็ก แต่ก็เป็นโอกาสอันดีในการพัฒนาเทคโนโลยีจำนวนมาก ตั้งแต่เทคโนโลยีโครงสร้างพื้นฐานแบบดิจิทัล อาคาร และยานพาหนะ ซึ่งจะถูกออกแบบให้เชื่อมต่อกันได้ผ่านระบบเซ็นเซอร์, AI, และ Connected Technology เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด”

โดย Toyota วางแผนเชิญชวนผู้สนใจ ทั้งภาครัฐ และเอกชน รวมถึงนักวิจัยทั่วโลกในการเข้าร่วมโครงการนี้ ซึ่ง Mr. Akio Toyoda กล่าวว่า “เรายินดีต้อนรับผู้ต้องการพัฒนาแนวทางการใช้ชีวิตในอนาคตด้วยเมืองแห่งนี้ และหวังเป็นอย่างยิ่งว่า Ecosystem แห่งนี้จะช่วยกระตุ้นการพัฒนาคุณภาพชีวิต และการคมนาคมที่ดียิ่งขึ้นต่อไป”

การออกแบบ

Woven City ถูกออกแบบโดย Mr. Bjarke Ingels สถาปนิกชาวเดนมาร์ก CEO บริษัท Bjarke Ingels Group (BIG) ผู้ฝากผลงานไว้กับ World Trade Center เมือนิวยอร์ค, Lego House ประเทศเดนมาร์ก, และ Mountain View กับ London headquarters ของบริษัท Google


Photo: Toyota


Mr. Bjarke Ingels กล่าวแสดงความเห็นว่า “ปัจจุบัน เทคโนโลยีกำลังเข้ามาเปลี่ยนแปลงชีวิตผู้คน Connected Car และพลังงานสะอาด จะเข้ามาสร้างภูมิทัศน์รูปแบบใหม่ในตัวเมือง และความร่วมมือทางเทคโนโลยีอุตสาหกรรม ได้นำมาซึ่งโอกาสในการพัฒนาผังเมืองอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน”

เมืองไฮโดรเจนแห่งนี้ ถูกออกแบบให้ใช้พลังงานที่ผลิตภายในตัวเมืองโดยสมบูรณ์ ติดตั้งหลังคาโซลาร์เซลล์ให้อาคารทุกหลัง เพื่อใช้เป็นแหล่งพลังงานควบคู่ไปกับเซลล์เชื้อเพลิง อาคารใช้วัสดุไม้เป็นหลัก เพื่อลดรอยเท้าคาร์บอน (Carbon Footprint) และออกแบบเพื่อการประกอบโดยหุ่นยนต์


Photo: Toyota

ภายในเมือง ทางบริษัทวางแผนติดตั้งเทคโนโลยีเพื่อสนับสนุนการใช้ชีวิตประจำวันต่าง ๆ เช่น หุ่นยนต์ประจำบ้าน (In-Home Robotics), AI และระบบเซ็นเซอร์สำหรับดูแลสุขภาพผู้อยู่อาศัย ระบบคมนาคมด้วยยานยนต์อัตโนมัติที่ใช้พลังงานสะอาด และ e-Palettes ซึ่งจะถูกใช้เป็นระบบขนส่งสาธารณะ โลจิสติกส์ และร้านค้าเคลื่อนที่


Photo: Toyota

ถนนภายในเมือง ถูกออกแบบขึ้นเพื่อทดสอบระบบยานยนต์อัตโนมัติโดยเฉพาะ โดยแบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือช่องทางปกติสำหรับยานยนต์ส่วนบุคคล ช่องทางพิเศษสำหรับยานยนต์ความเร็วสูง และช่องทางสำหรับคนเดินถนน 

เมืองไฮโดรเจนแห่งนี้ ถูกออกแบบให้รองรับผู้อยู่อาศัยจำนวน 2,000 คน ซึ่งประกอบด้วยลูกจ้างของ Toyota และครอบครัว, นักวิจัย, นักอุตสาหกรรมที่เข้าร่วมโครงการ, และอื่น ๆ ซึ่งมีแผนต่อเติมในอนาคต ซึ่ง Toyoa มีกำหนดการณ์เริ่มก่อสร้างเมืองแห่งนี้อย่างเร็วภายในช่วงต้นปี 2021