Denso และ Sumipol ลงนามความร่วมมือผลักดันอุตสาหกรรมไทยสู่ Lean Automation ภายในงานสัมมนา “เพิ่ม Productivity อย่างได้ผลด้วย Lean Automation”

อัปเดตล่าสุด 4 ก.ค. 2562
  • Share :

เมื่อวันที่ 3 กรฎาคม 2562 - งานสัมมนาพิเศษสำหรับผู้บริหาร ภายใต้หัวข้อ “เพิ่ม Productivity อย่างได้ผลด้วย Lean Automation” ณ โรงแรมนิกโก้ กรุงเทพฯ โดยบริษัท เด็นโซ่ คอร์ปอเรชั่น แห่งประเทศไทย (Denso Corporation) ร่วมกับ บริษัท สุมิพล คอร์ปอเรชั่น จำกัด (Sumipol Corporation) ด้วยการสนับสนุนจากสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เพื่อตอบโจทย์แก่ผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรมการผลิตที่กำลังจะปรับปรุงและพัฒนาระบบการผลิตไปสู่อุตสาหกรรม 4.0 โดยมุ่งเน้นที่กระบวนการทำงานที่สามารถยกระดับการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขัน ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญในสภาวการณ์ปัจจุบัน 

คุณสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เป็นประธานในการกล่าวเปิดงาน และในวาระนี้ คุณสุพันธุ์ยังได้กล่าวแสดงความยินดีกับสถาบัน SIMTec ที่กำลังจะมีการเปิดสถาบันอย่างเป็นทางการในวันที่ 30 สิงหาคมนี้ และเน้นย้ำถึงความภาคภูมิใจสำหรับภาคเอกชนที่สามารถก่อรากสร้างสถาบันขึ้นมาจนแล้วเสร็จ เพื่อเป็นประโยชน์ต่อบุคลากรในภาคอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นศูนย์กลางแห่งการเรียนรู้ด้านกระบวนการผลิตอัตโนมัติ มีหลักสูตรอบรมส่งเสริมความพร้อมของบุคลากรให้สอดรับกับระบบเทคโนโลยีสมัยใหม่ เพื่อให้ผู้ประกอบการผลิตทุกประเภทสามารถดำเนินการสู่ยุคอุตสาหกรรม 4.0 ได้อย่างรวดเร็วขึ้น

โดยการสัมมนาในครั้งนี้ ได้รับเกียรติจากคณะผู้บริหารระดับสูงของ เด็นโซ่ คอร์ปอร์ชั่น ประเทศญี่ปุ่น มาร่วมบรรยาย เรื่อง “หัวใจหลักในการทำระบบอัตโนมัติให้สำเร็จของเด็นโซ่” โดย Mr.Katsuhiko Sugito , Executive Officer , Denso Corporation (JAPAN) และ CEO , Denso Wave Incorporated ซึ่ง Mr.Toshihiro Sugito ได้กล่าวเริ่มต้นด้วยการพูดถึง QR Code (Quick Response Code) เครื่องหมายการค้าของบาร์โค้ดเมทริกซ์ (บาร์โค้ดสองมิติ) ซึ่งแต่เดิมออกแบบสำหรับอุตสาหกรรมยานยนต์ในญี่ปุ่น แต่ปัจจุบัน QR Code เป็นที่นิยมอย่างแพร่หลายนอกเหนือจากอุตสาหกรรมยานยนต์ เนื่องจากความสามารถในการอ่านเร็ว และพื้นที่เก็บข้อมูลที่มาก ซึ่งผู้คิดค้น และพัฒนา QR Code ขึ้นมานั้นคือ Mr.Mashiro Hara ซึ่งเป็นบุคลากรคนสำคัญของบริษัท เด็นโซ่ นั้นเอง

จากนั้น Mr.Toshihiro Sugito ได้กล่าวถึงที่มาของการพัฒนา Robot ของ Denso ซึ่งเริ่มจากความต้องการที่จะแบ่งเบาภาระของบุคลากรหน้างานภายในองค์กรเอง โดยมีการเริ่มพัฒนาตั้งแต่ปี 1967 และไม่เคยหยุดยั้งในการพัฒนาภายใต้คอนเซ็ปต์  “More Speed , More Accurate , More Durable , More Open” ปี 1970 - 1990 มีการเพิ่มแผนกพิเศษที่มุ่งเน้นคิดค้นพัฒนา Robot โดยเฉพาะ ต่อมาในปี 1991 จึงมีการจำหน่าย Robot สู่หน่วยงานภายนอกซึ่งได้รับการตอบรับที่ดีเยี่ยม เพราะเรารวบรวมชิ้นส่วนที่มีคุณภาพนำมาประกอบและผลิตให้มีขนาด และน้ำหนักที่สอดรับกับการปฏิบัติงานที่เหมาะสม สะดวกต่อการขนย้าย ลดพื้นที่การติดตั้ง

ในส่วนของ Factory IoT Concept ของบริษัท เด็นโซ่ คือความสามารถในการเชื่อมต่อ 130 โรงงานทั่วโลก เพื่อติดตามความเคลื่อนไหว และนำมาสู่การพัฒนาในทุกๆ ด้าน ปัจจุบันไลน์ผลิตของบริษัทเด็นโซ่ ในปรเทศญี่ปุ่น มี 13 ไลน์ผลิตที่ใช้ Robot ในการตรวจสอบคุณภาพ ซึ่งสะท้อนให้เห็นความพร้อมของระบบ IoT และความฉลาดของ Robot 

3 ขั้นตอน Lean Automation ที่เป็นเอกลักษณ์ของเด็นโซ่ 

  • การมองเห็นสถานการณ์การผลิตปัจจุบันได้ทันที และแม่นยำด้วยระบบ Factory IoT
  • วินิจฉัยกระบวนการผลิต วิเคราะห์ลดความสูญเปล่า และปรับปรุงเพิ่มประสิทธิภาพ (Lean Manufacturing)
  • ออกแบบระบบจาก Semi Automation สู่ Full Automation ทีละขั้น

หัวข้อในการบรรยายถัดมาคือ “ผลการนำ Factory IoT มาพัฒนาประสิทธิภาพการผลิต” โดย Mr.Toshihiro Inukai , Director , IoT Promotion Division , Denso Wave Incorporated Mr.Toshihiro Inukai กล่าวว่า ความยากของระบบ IoT มีอยู่ 3 ปัญหาใหญ่

  1. จะเชื่อมต่อทุก Device ได้อย่างไร / อุปกรณ์ Device จะสามารถนำข้อมูลออกมาเพื่อทำการปรับปรุงได้อย่างไร
  2. การเชื่อมต่อควรใช้ Application หรือ Platform อะไร ที่จะสามารถนำข้อมูลออกมาประมวลผลได้โดยใช้งานไม่ยาก
  3. เมื่อเชื่อม Device และ Platform แล้ว เครื่องมือแบบไหนที่จะส่งเสริม ช่วยให้การเชื่อมต่อนั้นๆ นำไปสู่การใช้งานที่ง่าย

 

“ORiN” ซึ่งถูกพัฒนาขึ้นเป็นตัวกลางในการเชื่อมต่อสำหรับผู้ใช้หุ่นยนต์และผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ โดยหวังให้กลายเป็นมาตรฐานใหม่ในภาคส่วนอุตสาหกรรมการผลิต นำพาสู่อุตสาหกรรม 4.0 บน Platform เดียวกันนี้ ซึ่ง “ORiN” เป็น Platform ที่ถูกเลือกนำไปใช้ใน Project SCOT ที่เป็นโครงการระดับชาติของญี่ปุ่นในการนำระบบ IoT ไปใช้ในการผ่าตัดในโรงพยาบาล ซึ่งได้ผลลัพธ์ที่ดีเยี่ยม เพราะมีการเชื่อมต่อ Device ต่างๆ เข้าด้วยกันอย่างมีเสถียรภาพ

หัวข้อบรรยายที่ 3 ในงานสัมมนาคือ “Lean Automation System Integrator (LASI)” โดย Mr.Kenshin Yokose , General Manager , Lean Automation Business Department , Denso Intenational Asia Co., LTd. 

LASI เกิดจากความร่วมมือระหว่างกระทรวงเศรษฐกิจการค้าและอุตสาหกรรม ประเทศญี่ปุ่น (METI) กระทรวงอุตสาหกรรมของไทย และบริษัทเด็นโซ่ คอร์เปอเรชั่น ที่พยายามผลักดันส่งเสริม ให้ภาคการผลิตสอดรับกับเศรษฐกิจยุค 4.0 เน้นการลดต้นทุน เพิ่มผลผลิตด้วยการนำเทคโนโลยีมาใช้ในกระบวนการผลิต นำหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติมาปรับใช้ในการกระบวนการ ที่เรียกว่า LEAN คือการผลิตโดยปราศจากความสูญเปล่า
 

มุมมองระบบอัตโนมัติแบบลีน (View point Lean Automation)

  1. ปราศจากความสูญเปล่า  (Minimum Waste Motion)
  2. เคลื่อนย้ายอย่างต่อเนื่องโดยไม่หยุดชะงัก (Continuous Moving)
  3. การส่งผ่านทักษะของคนสู่ระบบ (Transfer of Human Skill)
  4. การต่อประสานระหว่างคนและหุ่นยนต์ (Synchronize Human & Robot)

สิ่งสำคัญก่อนการเริ่มต้น Lean Automation คือ เรียนรู้ที่จะกำหนดสเปคระบบของตนเอง โดยเริ่มจากการมองให้เห็นความสูญเปล่าที่ซ่อนอยู่แล้วกำจัดออก จากนั้นเข้าสู่ Lean Automation ซึ่งการศึกษาให้เข้าใจทั้งทฤษฎีและปฏิบัติเป็นสิ่งที่จำเป็น แล้วจะนำมาซึ่งการเพิ่ม Productivity 

คุณทองพล อุลปาทร กรรมการบริหาร บริษัท สุมิพล คอร์ปอเรชั่น จำกัด และผู้อำนวยการ สถาบันเทคโนโลยีการผลิตสุมิพล (SIMTec) เป็นผู้บรรยายในหัวข้อ “การเตรียมความพร้อมบุคลากรด้านระบบอัโนมัติ” สิ่งที่สำคัญกว่าเทคโนโลยี คือผู้ใช้เทคโนโลยี ปัญหาใหญ่ของประเทศไทยคือ ผู้ซึ่งต้องใช้ระบบกลับไม่มีศักยภาพพอในการใช้ระบบจึงไม่สามารถเข้าถึงเทคโนโลยี บริษัท สุมิพล เล็งเห็นปัญหาของสิ่งนี้มาโดยตลอด และพยายามดำเนินการให้ความรู้ทั้งกับผู้ประกอบการเอง หรือแม้แต่นักเรียน นักศึกษาอาชีวะที่กำลังจะเป็นกำลังการผลิตที่สำคัญในอนาคต 

ความยากของการเข้าถึงเทคโนโลยีในอุตสาหกรรมการผลิต

  • เทคโนโลยีเปลี่ยนเร็ว
  • ขาดแคลนครูผู้สอนที่ชำนาญการ
  • การเรียนการสอนของภาครัฐ ไม่ตรงตามความต้องการ

บริษัท สุมิพล จึงเป็นตัวกลางระหว่างภาครัฐ และภาคเอกชน (ผู้ผลิตเทคโนโลยี) ที่สำคัญถึง 14 หน่วยงาน เกิดเป็นสถาบันเทคโนโลยีการผลิตสุมิพล (SIMTec) ที่มีทั้งเครื่องจักรกล อุปกรณ์ เครื่องมือชั้นนำระดับโลก โดยเฉพาะจากประเทศญี่ปุ่น เพื่อเป็นแหล่งพัฒนาบุคลากรทางด้านทักษะฝีมือแรงงานให้ตรงความต้องการของภาคอุตสาหกรรมในยุค 4.0 ด้วยการฝึกอบรมที่เน้นการสาธิตและการปฏิบัติในหลักสูตรสาขาต่างๆ ให้แก่วิศวกร ช่างเทคนิคในภาคอุตสาหกรรม ตลอดจนครูผู้ฝึกสอน และนักเรียนนักศึกษา โดยตั้งอยู่ที่ทางเข้านิคมอุตสาหกรรมอมตะชิตี้ ระยอง ศูนย์กลาง EEC 

ในโอกาสเดียวกันนี้ บริษัท เด็นโซ่ คอร์ปอเรชั่น แห่งประเทศไทย ได้ลงนามความร่วมมือกับ บริษัท สุมิพล คอร์ปอร์เรชั่น จำกัด ในการนำเทคโนโลยี Lean Automation มาให้บริการอย่างเป็นทางการ เพื่อรองรับผู้ประกอบการที่พร้อมจะดำเนินการ รวมถึงเตรียมการก่อตั้ง LASI แห่งที่ 2 ณ สถาบันเทคโนโลยีการผลิตสุมิพล (SIMTec)