EEC เร่งโมเดลพัฒนาทักษะแรงงาน หวังยกระดับด้านภาษาและเทคโนโลยี
การประชุมคณะอนุกรรมการพัฒนาบุคลากรตามแนวทางอีอีซีโมเดล ครั้งที่ 1/ 2562 โดยมี นายสุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เป็นประธาน ได้พิจารณา และรับทราบความคืบหน้าขั้นตอนการดําเนินงานการพัฒนาบุคลากรในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรือ อีอีซี (EEC) ในระยะเวลา 2 ปี แนวทางการสนับสนุนบัณฑิตอาสาเพื่อพัฒนาชุมชนในพื้นที่อีอีซี การสอนภาษาอังกฤษเชิงเทคนิคด้วยระบบ CILL เพื่อสร้างอาชีวะอินเตอร์ และการพัฒนาบุคลากรในหลักสูตรระยะสั้น ให้แรงงานไทยรู้เท่าทันและเชี่ยวชาญเทคโนโลยีโดยมีรายละเอียดที่สําคัญ ดังนี้
1. ความคืบหน้าในการพัฒนาบุคลากรในอีอีซี ในระยะเวลา 2 ปี ตามหลักการ Demand Driven สํานักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) ดําเนินการวิเคราะห์และสรุปความต้องการกําลังคนใน 10 อุตสาหกรรมเป้าหมาย และโครงการโครงสร้างพื้นฐานสําคัญในอีอีซี โดยคณะทํางานประสานงานด้านการพัฒนาบุคลากรในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC-HDC) พบว่าในช่วง 5 ปี (2562-2566) มีความต้องการแรงงานทักษะสําคัญ จํานวน 475,793 อัตรา อุตสาหกรรม 3 อันดับแรกที่มีความต้องการมากที่สุด ได้แก่ ดิจิทัล ร้อยละ 24 จํานวน 116,222 ตําแหน่ง โลจิสติกส์ ร้อยละ 23 จํานวน 109,910 ตําแหน่ง และอิเล็กทรอนิกส์
อัจฉริยะ ร้อยละ 12 จํานวน 58,228 ตําแหน่ง
นายสุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ประธานการประชุมคณะอนุกรรมการพัฒนาบุคลากรตามแนวทางอีอีซีโมเดล ครั้งที่ 1/ 2562
โดยที่สําคัญเป็นครั้งแรกในการร่วมบูรณาการการทํางานร่วมกันถึง 3 กระทรวง ได้แก่ กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงแรงงาน และกระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม อย่างใกล้ชิดและเป็นรูปธรรม ตามนโยบาย Demand Driven เน้นการพัฒนาบุคลากรและการศึกษายุคใหม่ ทั้งกลุ่มการศึกษาพื้นฐาน ที่ปรับปรุงทักษะด้านภาษา และการศึกษาด้าน Coding,กลุ่ม STEM ขณะที่ ระดับอาชีวะและอุดมศึกษา ปรับสู่ Demand Driven Education ที่มีการจัดการศึกษาในแบบ EEC Model Type A ภายใต้ 3 หลักการ คือ 1. ลดการศึกษาแบบแก่งแย่ง แตกแยก สู่ความร่วมมือระหว่างสถานศึกษาและสถานประกอบการ โดยกําหนดตามความถนัดของแต่ละราย 2. ช่วยพัฒนาการศึกษาและบุคลากรให้มีมาตรฐานตามหลักสากล 3. ร่วมทุนสนับสนุนค่าใช้จ่ายระหว่างภาครัฐกับเอกชนในสัดส่วน 50:50 และเอกชนบริจาคอุปกรณ์ชั้นสูง เพื่อให้สามารถผลิตบุคลากรที่มีประสิทธิภาพ ตรงตามความต้องการของอุตสาหกรรม
นอกจากนี้นโยบาย Demand Driven ยังช่วยลดภาระของทุกฝ่าย เช่น ภาคเอกชน ได้ลดค่าใช้จ่าย
ในการลดหย่อนภาษีถึง 2.5 เท่า ภาครัฐบาลจ่ายเงินอุดหนุนน้อยลง เพราะไม่ต้องลงทุนซื้ออุปกรณ์ใหม่ ส่วนผู้เรียน ลดภาระทางการเงิน เรียนจบมีงานที่มีรายได้ดี นอกจากนี้ผู้เรียนยังสามารถกําหนดทิศทางและวางแผนชีวิตในอนาคตได้อย่างชัดเจนอีกด้วย โดยปัจจุบันมีสถาบันเข้าร่วมล่าสุด คือ สถาบันอาชีวะในภาคตะวันออกเข้าร่วมจํานวน 12 แห่ง และปีการศึกษา 2562 มีผู้เข้าเรียนในระบบดังกล่าว จํานวน 1,117 คน
ทั้งนี้ EEC-HDC ตั้งเป้าหมายว่า ภายในระยะเวลา 5 ปี ต้องปฏิรูปหลักสูตรของสถานศึกษาในพื้นที่อีอีซีอย่างน้อยร้อยละ 80 ให้เป็นไปตามหลักสูตรตามแนวทาง “อีอีซีโมเดล” ที่ผ่านมามีการพัฒนาหลักสูตรระดับปริญญาตรีแล้ว 1 หลักสูตร ได้แก่ วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาปัญญาประดิษฐ์ประยุกต์ และอยู่ในระหว่างการดําเนินการอีก 1 หลักสูตร ได้แก่ วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ ขณะที่ภายในปีการศึกษา 2564 จะมีหลักสูตรระดับปริญญาตรีที่กําลังปรับปรุงให้เป็นไปตาม EEC Model Type อีกไม่น้อยกว่า 100 หลักสูตร
2. แนวทางการสนับสนุนบัณฑิตอาสาเพื่อพัฒนาชุมชนในพื้นที่อีอีซี เพื่อกระจายโอกาสสู่ชุมชน และลดความเหลื่อมล้ําในพื้นที่อีอีซี จึงได้เปิดรับสมัครคัดเลือกบัณฑิตระดับปริญญาตรี สาขาวิทยาศาสตร์และสังคมศาสตร์ ที่สําเร็จการศึกษาไม่เกิน 3 ปี จํานวน 120 คน เพื่อเข้าฝึกอบรม 2 เดือน จากนั้นเข้าทํางานใน 30 อําเภอ ในจังหวัดฉะเชิงเทรา ชลบุรี และระยอง เป็นระยะเวลา 1 ปี โดยทํางานร่วมกับอําเภอและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เสนอแนะแนวทางในการปรับปรุงกลไกต่าง ๆ เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของชุมชน ซึ่งบัณฑิตอาสารุ่นแรกคาดว่าจะมีประมาณ 30 คนจาก 3 จังหวัดในอีอีซี เริ่มภายในเดือนมกราคม 2563
3. การสอนภาษาอังกฤษเชิงเทคนิคด้วยระบบ CLIL เพื่อสร้างอาชีวะอินเตอร์ การดําเนินการในระยะแรก (ตุลาคม 2562-มีนาคม 2563) ได้พัฒนาการสอนภาษาอังกฤษในสถาบันอาชีวศึกษาใน 10 สาขาวิชา ครอบคลุมสถาบันอาชีวศึกษาของรัฐ 37 แห่ง ในภาคตะวันออก มีครูเข้าร่วมอบรม 400 คน เพื่อยกระดับศักยภาพของผู้เรียนให้ทัดเทียมสากล สามารถสื่อสารภาษาอังกฤษในวิชาชีพของตนเองได้อย่างมั่นใจ ซึ่งจะเป็นการเพิ่มในการทํางานที่มีรายได้สูงในอนาคต โดยใช้วิธีการ Content-Language Integrated Learning (CLIL) เทคนิคการเรียนรู้แบบบูรณาการภาษาอังกฤษให้เข้ากับเนื้อหาวิชาชีพในทุกวิชา ซึ่งถอดบทเรียนจากวิทยาลัยเทคโนโลยีไออาร์พีซีที่นําเทคนิคนี้ไปใช้แล้วประสบความสําเร็จ ด้วยการสร้างความเข้าใจและปรับความคิดผู้บริหารให้เห็นถึงความจําเป็นของ CLIL การพัฒนาทักษะทางภาษาอังกฤษของครูช่าง และปรับสภาพแวดล้อมด้านภาษาอังกฤษในสถานศึกษา
สําหรับในระยะต่อไป จะเตรียมการจัดตั้งศูนย์การพัฒนาความรู้ด้านภาษาอังกฤษเชิงวิชาชีพ ในมหาวิทยาลัยบูรพา
4. การพัฒนาบุคลากรในหลักสูตรระยะสั้นให้รู้เท่าทันและเชี่ยวชาญเทคโนโลยีเครือข่ายสถาบันการศึกษาในพื้นที่อีอีซี ได้จัดหลักสูตรฝึกอบรมทักษะที่สําคัญเพื่อตอบโจทย์การทํางานยุคใหม่ ทั้งด้าน อีคอมเมิร์ซ ปัญญาประดิษฐ์ (AI) หุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ และ MICE โดยมีผู้ผ่านการอบรมแล้วจํานวน 2,000 คน ในปี 2562
นอกจากนี้ เพื่อดําเนินการจัดอบรมเพื่อพัฒนาบุคลากร จํานวน 10,000 คน ภายใน 4 ปี ในอุตสาหกรรมเป้าหมายด้วยหลักสูตรระยะสั้นจํานวน 68 หลักสูตร EEC-HDC ได้หารือบริษัทข้ามชาติชั้นนําระดับโลกทั้ง Huawei, Vmware และ Microsoft เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ขณะที่ Oracle, Cisco และ Google กําลังอยู่ในระหว่างการหารือ โดยบริษัทเหล่านี้เป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการจ้างผู้สอนชาวต่างชาติ และค่าวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ
ขณะเดียวกันได้กําหนดหลักสูตรฝึกอบรมระยะสั้น (Reskills/Upskills) ซึ่งตรงตามความต้องการของอุตสาหกรรมเป้าหมายในปีงบประมาณ 2563 จํานวน 120 หลักสูตร จํานวน 20,000 คน คิดเป็นร้อยละ 20 ของความต้องการกําลังคนในปี 2563 โดยได้รับการสนับสนุนค่าใช้จ่าย 200 ล้านบาท