Sony ชน Citizen แข่งลงตลาดสมาร์ทวอทช์

Sony ชน Citizen แข่งลงตลาดสมาร์ทวอทช์

อัปเดตล่าสุด 4 มิ.ย. 2562
  • Share :
  • 450 Reads   

หลายคนคงสงสัยกันว่า “ซักวัน สมาร์ทวอทช์จะกลายเป็นสิ่งสำคัญในชีวิตประจำวันหรือไม่?” ซึ่งหากมองจากภาพรวมของตลาด Wearable Device ชนิดต่าง ๆ ที่กำลังเติบโตอย่างต่อเนื่อง ตามไปกับความก้าวหน้าของเทคโนโลยี IoT ในช่วงนี้แล้ว จะพบว่า ตลาดสมาร์ทวอทช์มีการเติบโตต่ำ สวนทางกับ Wearble Device อื่น ๆ อย่างไรก็ตาม มีอยู่ 2 บริษัท ที่เล็งเห็นว่าความผิดพลาด คือ สมาร์ทวอชท์ในปัจจุบัน ไม่ใช่นาฬิกา แต่เป็นสมาร์ทโฟนติดข้อมือ จึงตัดสินใจมุ่งสร้างกระแสในตลาดนี้ ด้วยการผลิตสมาร์ทวอทช์ที่ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้ ซึ่งก็คือ Sony และ Citizen Watch นั่นเอง

ต้องมีทั้งดีไซน์ และฟังก์ชัน

เมื่อปี 2016 Sony ได้ส่งสมาร์ทวอทช์ “wena” เข้าสู่ตลาด โดย Mr. Teppei Tsushima ผู้จัดการทั่วไป แผนก Start Up Acceleration กล่าวชี้แจงว่า “สิ่งสำคัญในการออกแบบคือ ต้องจำกัดความให้ได้เสียก่อนว่าผู้ใช้จะนำไปใช้อย่างไร” 

โดย wena มีลักษณะไม่ต่างสมาร์ทวอชท์ทั่วไป คือ เป็นหน้าจอขนาดเล็ก ติดตั้งลงบนสายรัดข้อมือ แต่โดดเด่นได้ด้านฟังก์ชัน เช่น การรับส่งสัญญาณกับสมาร์ทโฟน คุณสมบัติในการใช้ทำธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งถูกออกแบบให้ใช้งานได้ง่าย และรวดเร็ว

Mr. Teppei Tsushima กล่าวเสริมว่า “สมาร์ทวอทช์จะแพร่หลายได้ ต้องมีทั้งดีไซน์ และฟังก์ชัน” โดยลงรายละเอียดในประเด็นนี้ว่า ไม่ว่าผลิตภัณฑ์จะมีฟังก์ชันมากมายแค่ไหน แต่หากฟังก์ชันเหล่านั้นไม่ใช่สิ่งจำเป็นต้องพกพาไว้ใกล้ตัวอย่างสมาร์ทโฟนแล้ว ก็ย่อมไม่อาจตอบสนองต่อความต้องการของผู้บริโภคได้เท่าผลิตภัณฑ์อื่น ๆ 

มากกว่าแค่การแสดงผล

Citizen เข้าสู่ตลาดสมาร์ทวอทช์ด้วย “Riiiver” แอพลิเคชัน IoT ซึ่ง Mr. Masaki Oishi หัวหน้าแผนกพัฒนานวัตกรรม กล่าวแสดงความเห็นว่า “อันที่จริงแล้ว นาฬิกาข้อมือ เป็นอุปกรณ์ที่ทำได้มากกว่าแค่การแสดงผล และเหมาะแก่การ input มากกว่า”

Riiiver ถูกพัฒนาให้เป็นแพล็ตฟอร์มเชื่อมต่อกับสมาร์ทโฟน และเครื่องใช้ไฟฟ้าในครัวเรือนได้ และด้วยแนวคิดแบบแพล็ตฟอร์มนี้เอง ที่ทำให้ผู้ใช้สามารถนำไปใช้จับคู่การใช้งานได้อย่างอิสระ 

โดยแพล็ตฟอร์มนี้ จะเป็นการนำร่องให้กับสมาร์ทวอทช์ของ Citizen ในอนาคต พร้อมฟังก์ชันอำนวยความสะดวก เช่น การเรียกแท็กซี่มายังสถานที่ปัจจุบนด้วยการกดเพียงครั้งเดียว

อีกสิ่งสำคัญคือ นอกจากฟังก์ชันที่ดีแล้ว สมาร์ทวอทช์ยังต้องทำงานได้อย่างรวดเร็ว อย่างไรก็ตาม ด้วยความที่เป็นนาฬิกา จึงต้องมีน้ำหนักเบา และดีไซน์ดูดี ทำให้จำเป็นต้องลดจำนวน และขนาดชิ้นส่วนเพื่อให้เบาลงได้ ซึ่งเมื่อรวมกับคุณสมบัติอื่นที่จำเป็น เช่น ความสามารถในการชาร์จไฟแล้ว ทำให้สมาร์ทวอทช์ยังจำเป็นต้องมีการพัฒนา และแลกเปลี่ยนความเห็นระหว่างผู้ผลิตกับผู้บริโภคอีกมาก และเป็นที่น่าจับตามองว่า ระหว่าง Sony กับ Ciziten ใครจะสามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงในตลาดนี้ได้ก่อนกัน