พลังของการเปลี่ยนแปลงที่มีต่อโลกและพฤติกรรม

อัปเดตล่าสุด 5 ม.ค. 2562
  • Share :
  • 1,159 Reads   

ยานพาหนะที่ขับเคลื่อนเองได้กำลังเป็นที่สนใจอยู่ในตอนนี้ หากต้องเลือก คุณจะเลือกให้ลูกนั่งรถที่ขับเคลื่อนเองหรือนั่งรถที่ขับโดยคนแปลกหน้า น่าแปลกใจที่ร้อยละ 67 ของผู้ใหญ่เลือกรถที่ขับเคลื่อนได้เอง
 
ข้อมูลนี้นำมาจากรายงานเทรนด์ปี 2019 ของฟอร์ด ซึ่งเปิดเผยออกมาล่าสุด เจาะลึกเกี่ยวกับแรงขับเคลื่อนที่ส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรมของผู้บริโภค โดยเฉพาะความสัมพันธ์ระหว่างผู้บริโภค กับภาพรวมของเทคโนโลยีที่ไม่เคยหยุดนิ่ง
 
การเปลี่ยนแปลงไม่ใช่เรื่องง่าย โดยเฉพาะเวลาที่มีตัวแปรที่ควบคุมไม่ได้ ผลสำรวจของฟอร์ดจาก 14 ประเทศเผยว่า ผู้ใหญ่ร้อยละ 87 เชื่อว่าเทคโนโลยีคือแรงขับเคลื่อนที่มีอิทธิพลมากที่สุด และขณะที่จำนวนร้อยละ 79 คิดว่าเทคโนโลยีส่งผลในแง่ดี ประชากรจำนวนไม่น้อยก็รู้สึกกังวล บ้างก็หวาดระแวงเกี่ยวกับปัญญาประดิษฐ์ (AI) บ้างก็กลัวว่าเทคโนโลยีจะส่งผลต่อสภาพจิตใจของมนุษย์เรา

  

“การเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรมนี้อาจจะเปลี่ยนความรู้สึกของเราจากความสิ้นหวังไปเป็นแรงกระตุ้น และทำให้เกิดสิ่งมหัศจรรย์ ความหวัง และความก้าวหน้า ทั้งในระดับปัจเจกบุคคลและส่วนรวม” เชอริล คอนเนลลี ผู้จัดการฝ่ายเทรนด์และอนาคตผู้บริโภค ฟอร์ด มอเตอร์ คัมปะนี กล่าว “ฟอร์ดให้ความสำคัญในการออกแบบโดยยึดความต้องการของผู้บริโภค และมุ่งมั่นที่จะหาวิธีต่างๆ ในด้านการสัญจร เพื่อพัฒนาชีวิตของผู้คนและชุมชน ในบริบทของการเปลี่ยนแปลงนั้น เราต้องรักษาสิ่งที่เรามองว่ามีคุณค่าที่สุด ซึ่งก็คือความเชื่อใจซึ่งเราและลูกค้ามีระหว่างกัน เราจึงมีความตั้งใจและระมัดระวังในเรื่องของทิศทางที่เราจะเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ”
 
สรุปใจความหลักของผลการสำรวจจากรายงานเทรนด์ประจำปีที่ 7 ของฟอร์ดได้ดังต่อไปนี้
 

  • ประชากรเกือบครึ่งโลกเชื่อว่า ความกลัวจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลง และ 7 ใน 10 ของประชากรกลุ่มนั้น กล่าวว่าการเปลี่ยนแปลงเป็นแรงกระตุ้นสำหรับพวกเขา
  • ประชากรร้อยละ 87 เห็นว่าเทคโนโลยีเป็นแรงขับเคลื่อนที่สำคัญที่สุดในการเปลี่ยนแปลงทุกวันนี้ และ 8 ใน 10 ของประชากรเชื่อว่าเทคโนโลยีคือเป็นแรงผลักดันที่ดี
  • ประชากรผู้ใหญ่ทั่วโลกร้อยละ 45 กล่าวว่า พวกเขาอิจฉาคนที่สามารถตัดตัวเองออกจากสังคมก้มหน้าได้
  • ผู้บริโภค 7 ใน 10 เห็นด้วยว่าคนเราควรจะมีช่วงเวลาบังคับให้ตัวเองออกห่างจากอุปกรณ์สื่อสาร

 
รายงานเทรนด์ของฟอร์ดเป็นเสมือนพิมพ์เขียวที่ทำให้เข้าใจว่า รูปแบบพฤติกรรมหลักๆ ของผู้บริโภคทั่วโลกมีแนวโน้มที่จะส่งผลต่อผู้บริโภคเอง รวมถึงองค์กรต่างๆ ทั้งในปี 2019 นี้ และในอนาคตด้วย
 
เทรนด์ในปี 2019 มีดังต่อไปนี้
 

  1. เทคโนโลยีล้ำโลก เทคโนโลยีมีผลกระทบเชิงลึกต่อการเชื่อมต่อกับโลกภายนอกและการมองโลกมากขึ้นกว่าเดิม แต่ก็ยังมีความขัดแย้งระหว่างคนที่สามารถเข้าถึงเทคโนโลยีและเชื่อว่าเป็นแรงขับเคลื่อนที่ดีกับคนที่ไม่สามารถเข้าถึงได้ ฟอร์ดใช้เทคโนโลยีช่วยให้การสัญจรของคนทั่วโลกที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น ปลอดภัยมากขึ้นและใช้งานได้สะดวกขึ้น ฟอร์ดใส่ใจในการใช้เทคโนโลยีรวมไปถึงการให้ความรู้แก่ผู้บริโภคเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีอย่างฉลาด รอบคอบ เพื่อสร้างคุณค่าในชีวิตประจำวัน ในบางเมือง ฟอร์ดได้ร่วมมือกับคณะบริหารจัดการปัญหาในเมืองเพื่อช่วยให้ผู้คนสัญจรได้อย่างอิสระขึ้น
  2. ดิจิตอล ดีท็อกซ์ ถึงแม้มนุษย์จะติดสังคมก้มหน้า ผลการสำรวจพบว่าผู้คนตื่นตัวกันมากขึ้นในเรื่องการพึ่งอุปกรณ์ต่างๆ มากเกินไป และพยายามควบคุมเวลาที่ตัวเองใช้ไปกับสังคมออนไลน์ ฟอร์ดศึกษาผลกระทบทางสมองจากการขับรถแข่งสมรรถนะสูง โดยใช้ข้อมูลจากการวิจัยเกี่ยวกับ “ช่วงเวลาระทึก” ที่อาจกระทบต่อสวัสดิภาพของผู้ขับขี่ เพื่อพัฒนาประสบการณ์การขับขี่พร้อมสร้างความตระหนักเรื่องการขับขี่ที่ปลอดภัย
  3. ทวงคืนการควบคุม ในโลกที่ใครหลายๆ คนรู้สึกว่าไม่สามารถควบคุมอะไรได้ ผู้บริโภคต่างหาหนทางในการใช้ชีวิตโดยมุ่งเน้นไปที่การพัฒนาตนเอง เนื่องจากฟอร์ดได้ยึดถือกระบวนการออกแบบโดยยึดความต้องการของมนุษย์เป็นที่ตั้ง ฟอร์ดจึงได้ทำการวิจัยเพื่อศึกษาความต้องการและลักษณะนิสัยของผู้บริโภค ตั้งแต่อาจารย์มหาวิทยาลัย นักไตรกีฬา ไปจนถึงบุคคลทั่วไป ฟอร์ดได้นำผลการวิจัยครั้งนี้ไปพัฒนาเครื่องมือและยานพาหนะ อาทิ ฟอร์ด โคไพล็อต 360TM ซึ่งออกแบบมาเพื่อแบ่งเบาภาระในการขับขี่และเสริมความมั่นใจว่าพาหนะของตนจะพร้อมรับสถานการณ์ตึงเครียดบนท้องถนนได้
  4. ตัวตนที่หลากหลาย ในยุคที่โซเชียลมีเดียมีบทบาทมากในชีวิตของผู้บริโภค หลายคนจึงแสดงออกด้วยตัวตนที่แตกต่างกันไปตามสถานการณ์ เช่น การเป็นตัวเองในชีวิตจริงแต่เป็นอีกตัวตนหนึ่งในสังคมออนไลน์ ซึ่งส่งผลต่อสิ่งที่พวกเขาซื้อ สวมใส่ และขับขี่ รวมไปถึงเทคโนโลยีที่พวกเขาใช้ ฟอร์ดเข้าใจดีว่ารถยนต์เป็นวัตถุที่สะท้อนตัวตนของผู้ขับขี่ ด้วยเหตุนี้รถยนต์จึงถูกออกแบบให้ตอบโจทย์ความต้องการส่วนตัวไปพร้อมกับนำเสนอตัวตนของผู้ขับขี่ เช่น ฟอร์ด เรนเจอร์ ใหม่ เป็นรถกระบะขนาดกลาง ลงตัวทุกการใช้งาน ผู้บริโภคสามารถสัญจรไปทำงานในเมืองได้และมีความสมบุกสมบันพอที่จะไปท่องเที่ยวเชิงผจญภัยได้ในวันหยุด
  5. ชีวิตและการทำงาน มุมมองที่มีต่อชีวิตการทำงานได้เปลี่ยนแปลงไป เมื่อคนทุกวันนี้ทำงานเพื่ออยู่ แทนที่จะอยู่เพื่อทำงาน บริษัทต่างๆ ก็ตอบแทนด้วยสิทธิประโยชน์ วันหยุดพักร้อนรวมไปถึงโอกาสให้ลูกจ้างได้พัฒนาสภาพจิตใจ ฟอร์ดเชื่อว่าความสามารถของคนจะแข็งแกร่งขึ้นเมื่อได้รับการสนับสนุนให้ออกไปเผชิญโลกภายนอกและคืนกำไรสู่สังคมที่อยู่ โครงการหนึ่งของฟอร์ดได้ส่งพนักงานอายุต่ำกว่า 30 ปี ออกไปเรียนรู้เกี่ยวกับองค์กรเพื่อสังคมและวางกลยุทธ์ในการเข้าถึงผู้บริจาคและอาสาสมัครเพื่อช่วยเหลือพวกเขาในการพัฒนาสังคม 
  6. เพื่อสิ่งแวดล้อม การเปลี่ยนนิสัยที่มีมานานอาจเป็นเรื่องยาก แต่ผู้บริโภคเห็นตรงกันว่ากระบวนการทางสิ่งแวดล้อมจะขึ้นอยู่กับการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมคน และหลายคนก็เสาะหาหนทางพัฒนาสานต่อสิ่งที่ตนเองได้สร้างไว้ การพัฒนาที่ยั่งยืนนั้นสำคัญต่อสภาพสิ่งแวดล้อมและความสำเร็จของฟอร์ดเอง ฟอร์ดยังคงเน้นการลดสารพิษที่ปล่อยจากยานพาหนะ ด้วยการร่วมลดการปล่อยสารคาร์บอนไดออกไซด์ ตามข้อตกลงปารีส โดยได้เริ่มนำร่องการลงทุนประกอบรถยนต์พลังงานไฟฟ้า 16 รุ่น ในจำนวนทั้งหมด 40 รุ่นทั่วโลกที่จะแล้วเสร็จในปี 2022
  7. ขับง่ายสบายใจ การสัญจรบนท้องถนนไม่ได้มีแค่จุดเริ่มต้นและจุดหมายปลายทาง แต่ยังรวมถึงสิ่งที่เราทำระหว่างทางด้วย ชาวอเมริกันใช้เวลาบนรถมากกว่าเวลาพักร้อน นั่นหมายความว่าสิ่งที่ทำบนรถจะช่วยเปลี่ยนประสบการณ์บนท้องถนนเดิมๆ ฟอร์ดเชื่อว่ารถที่ขับเคลื่อนด้วยตัวเองจะลดความเหนื่อยล้าในสังคม พร้อมกับขยายหนทางการสัญจรรวมถึงการส่งของ ฟอร์ดร่วมมือกับบริษัทอื่นๆ เพื่อศึกษาว่า การส่งของด้วยรถยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยตัวเองนั้นสามารถพัฒนาอย่างไรได้บ้าง ตัวอย่างเช่น โครงการนำร่องที่ฟอร์ดทำร่วมกับวอลมาร์ทและโพสเมทส์ ที่ศึกษาว่ารถยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยตัวเองจะช่วยส่งเสริมการขนส่งถึงบ้านได้อย่างไร