ปตท. ผนึก สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน พัฒนานวัตกรรมขั้นสูง
ปตท. ผนึก สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน มุ่งยกระดับและพัฒนานวัตกรรมขั้นสูงโดยใช้ประโยชน์จากแสงซินโครตรอน
เมื่อเร็ว ๆ นี้ - ดร.บุรณิน รัตนสมบัติ ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการกลุ่มธุรกิจใหม่และโครงสร้างพื้นฐาน บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) (ปตท.) (กลาง) ร่วมในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมขั้นสูงโดยใช้ประโยชน์จากแสงซินโครตรอนและเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง โดยมี ดร.ยุทธนา สุวรรณโชติ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่สถาบันนวัตกรรม ปตท. (ที่ 2 จากซ้าย) และ รศ.ดร.สาโรช รุจิรวรรธน์ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (ที่ 2 จากขวา) ร่วมลงนาม เพื่อยกระดับนวัตกรรมและงานวิจัยด้านวัสดุคาร์บอนขั้นสูง (Advanced Carbon Materials) โดยใช้เครื่องมือวิเคราะห์ทดสอบของสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน ที่ได้สร้างขึ้นเป็นเครื่องแรกในประเทศไทย ในการวิเคราะห์ทดสอบเชิงลึกถึงโครงสร้างในระดับอะตอมและโมเลกุลของวัสดุ
โดยวัสดุคาร์บอนขั้นสูงนับว่าเป็นวัสดุแห่งอนาคต ที่มีคุณสมบัติโดดเด่นในการนำไฟฟ้าและนำความร้อนได้ดี แข็งแรงและมีน้ำหนักเบา สามารถนำมาต่อยอดธุรกิจใหม่ของกลุ่ม ปตท. โดยความร่วมมือนี้ยังมุ่งพัฒนาบุคลากร สร้างเครือข่ายงานวิจัยและนวัตกรรมที่เข้มแข็งระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน เพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันงานวิจัยไทยให้ทัดเทียมนานาประเทศ สร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจให้กับประเทศอีกด้วย
บทความยอดนิยม 10 อันดับ
- ยอดขายรถยนต์ใน 2566
- คาร์บอนเครดิต (Carbon Credit) คืออะไร ทำไมถึงต้องเร่งสร้างคาร์บอนเครดิต
- FTA ไทย มีกี่ประเทศ พอหรือไม่ ทำไมต้องคิดเรื่อง CPTPP
- 10 ตัวอย่างที่นำ 5G มาใช้งานได้อย่างน่าสนใจและประสบผลสำเร็จ
- อบรมรถยนต์ไฟฟ้า 2566 ฟรี
- เทคโนโลยีแห่ง G สู่ 5G เครือข่ายไร้สาย
- กฎหมาย ปล่องระบาย อากาศ 2565
- ยอดขายโทรศัพท์ 2023 ทั่วโลก
- GAC AION Thailand
- เปิดโผ 8 อุตสาหกรรมเด่นเติบโตสูงในปี 2566
อัปเดตข่าวทุกวันที่นี่ www.mreport.co.th
Line / Facebook / Twitter / YouTube @MreportTH