กรมโรงงานฯ คลอดประกาศ “การจัดการสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว พ.ศ. 2566”
กรมโรงงานอุตสาหกรรม ออกประกาศกระทรวงอุตสาหกรรมฉบับล่าสุด เรื่อง “การจัดการสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว พ.ศ. 2566” ที่นำหลักการ ผู้ก่อมลพิษเป็นผู้จ่ายหรือเป็นผู้รับผิดชอบ (Polluter Pays Principle: PPP) มาใช้อย่างเต็มรูปแบบ มีผลบังคับใช้ 1 พฤศจิกายน 2566 พร้อมเตือน ผู้ก่อกำเนิดของเสียและผู้รับบำบัดกำจัดของเสีย ต้องรายงานการจัดการของเสียภายในกำหนด ฝ่าฝืนมีโทษปรับสูงสุด 20,000 บาท
วันที่ 8 มิถุนายน 2566 นายจุลพงษ์ ทวีศรี อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า กระทรวงอุตสาหกรรม โดย กรมโรงงานอุตสาหกรรม (กรอ.) ให้ความสำคัญต่อการบริหารจัดการสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วที่เกิดขึ้นจากการประกอบกิจการโรงงาน จึงได้ปรับปรุงประกาศฉบับล่าสุด “ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง การจัดการสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว พ.ศ. 2566” ที่นำหลักการผู้ก่อมลพิษเป็นผู้จ่ายหรือเป็นผู้รับผิดชอบ (Polluter Pays Principle: PPP) มาใช้อย่างเต็มรูปแบบ กำหนดความรับผิดตั้งแต่ต้นทางโรงงานผู้ก่อกำเนิด
- กรอ. เตือน! 60,638 โรงงาน รายงานการใช้-การเก็บสารเคมีในโรงงาน ผ่านระบบ iSingle Form
- จังหวัดที่มีโรงงานอุตสาหกรรมมากที่สุด 2566 เดือนเมษายน 'สมุทรสาคร' ครองแชมป์
- 'พาณิชย์' เปิดรับฟังความเห็นต่อร่างกฎหมายนำเข้าเศษพลาสติก ปี 2566 – 2567
จนกว่าสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วจะได้รับการจัดการจนแล้วเสร็จ ต่างจากเดิมที่ความรับผิดชอบจะสิ้นสุดเมื่อโรงงานผู้รับกำจัดได้รับมอบสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2566 ยกเว้น การส่งรายงานประจำปีเกี่ยวกับการจัดการสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว และรายงานประจำเดือนเกี่ยวกับการจัดการวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์ ผ่านระบบการรายงานข้อมูลกลางของกระทรวงอุตสาหกรรม หรือ iSingle Form (https://isingleform.go.th/home) ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2566 และจะมีผลนับถัดจากวันที่ประกาศ ฝ่าฝืนไม่รายงานหรือรายงานล่าช้ามีโทษปรับสุงสุด 20,000 บาท
ผู้ก่อกำเนิดของเสีย (Waste Generator: WG) 60,638 โรงงานทั่วประเทศ เมื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ต้องรายงานประจำปีเกี่ยวกับการจัดการสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว ทั้งที่เป็นของเสียอันตรายและไม่อันตราย ภายในวันที่ 1 เมษายนของปีถัดไป โดยข้อมูลรอบปี พ.ศ. 2565 กำหนดให้รายงานภายใน 30 วัน นับถัดจากวันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา คือ ภายในวันที่ 30 มิถุนายน 2566 สำหรับโรงงานที่ส่งรายงาน แบบ สก.3 รอบปี พ.ศ. 2565 ตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง การกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว พ.ศ. 2548 แล้ว จะถือว่าได้ส่งรายงานประจำปี รอบปี พ.ศ. 2565 ตามประกาศฉบับใหม่แล้วเรียบร้อย
ผู้รับบำบัดกำจัดของเสีย (Waste Processor: WP) คือโรงงานลำดับที่ 101, 105 และ 106 จำนวน 2,500 โรงงานทั่วประเทศ จะต้องจัดส่งรายงานประจำเดือนเกี่ยวกับการจัดการวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์ ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป มีผลนับถัดจากวันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ซึ่งจะรายงานข้อมูลครั้งแรกภายใน 15 กรกฎาคม 2566
นายจุลพงษ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า กรอ. ได้จัดอบรมผ่านระบบออนไลน์ให้แก่โรงงาน ลำดับที่ 101, 105 และ 106 เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม-1 มิถุนายน 2566 รวม 1,020 ราย ในหัวข้อ "กฎหมายการจัดการสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว พ.ศ. 2566” เพื่อให้ผู้รับบำบัดกำจัดของเสีย สามารถส่งรายงานเข้าสู่ระบบได้อย่างถูกต้องตามกฎหมายภายในกำหนดเวลา
“การจัดการสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว ให้เข้าสู่ระบบการจัดการที่ดีเป็นเรื่องที่สำคัญยิ่ง ถือเป็นปัจจัยพื้นฐานรองรับการพัฒนาภาคอุตสาหกรรมอย่างสมดุล เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุน รวมทั้งสร้างความเชื่อถือและความไว้วางใจจากประชาชนทั่วประเทศ” อธิบดีกรมโรงงานฯ กล่าวปิดท้าย
บทความยอดนิยม 10 อันดับ
- สรุปยอดขายรถยนต์ในไทย ปี 2565
- ครม. อนุมัติงบอุดหนุนรถ BEV 18,000 - 150,000 บาท/คัน
- ภาพรวมอุตสาหกรรมโซลาร์เซลล์ของไทย
- 17 อุตสาหกรรมแนวโน้มเติบโตในปี 2566
- 10 ตัวอย่างที่นำ 5G มาใช้งานได้อย่างน่าสนใจและประสบผลสำเร็จ
- เทคโนโลยีแห่ง G สู่ 5G เครือข่ายไร้สาย
- แบตเตอรี่ลิเธียมไอออนคืออะไร ตลาดจะก้าวไปในทางไหนในปี 2030?
- เทคโนโลยีสำหรับโลจิสติกส์ ทางเลือกสู่ทางรอด ปรับก่อนโดนเบียด
- นิยามใหม่ SME ใช้ “รายได้” เป็นตัวกำหนด
- FTA ไทย มีกี่ประเทศ พอหรือไม่ ทำไมต้องคิดเรื่อง CPTPP
อัปเดตข่าวทุกวันที่นี่ www.mreport.co.th
Line / Facebook / Twitter / YouTube @MreportTH