สสว. อัดงบ 400 ล้าน จัดโครงการ BDS เอสเอ็มอีไทยรับเงินอุดหนุนพัฒนาธุรกิจ 50 – 80%
สสว. เร่งมาตรการช่วยเอสเอ็มอีปี 2565 เตรียมความพร้อมรับภาวะเปิดประเทศ อัดงบ 400 ล้าน ช่วยเงินอุดหนุน SME ไทยพัฒนาธุรกิจ 50 – 80% สูงสุดรายละ 200,000 บาท
วันที่ 28 มีนาคม 2565 สสว. เดินหน้ากระจายโอกาสเอสเอ็มอีทั่วประเทศ เร่งมาตรการช่วยเอสเอ็มอีอย่างต่อเนื่อง ทั้งเรื่องการจัดซื้อจ้างภาครัฐ เรื่องพัฒนาระบบทะเบียนสมาชิก สสว. เรื่องโครงการ BDS เรื่องเตรียมความพร้อมรับการประชุมการประชุมเอเปค เอสเอ็มอี ครั้งที่ 28 พร้อมเดินหน้าแผนปี 2566 ด้วยระบบ Single sign on เพื่ออำนวยความสะดวกแก่เอสเอ็มอี ใช้เป็นรหัสเข้ารับบริการหน่วยงานภาครัฐ รวมทั้งยังดำเนินการแผนการส่งเสริม SME อย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะทำให้ สสว. เป็นหน่วยงานในการพิจารณาโครงการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับ SME (system Integrator) มากยิ่งขึ้น
- THAI SME-GP ฉบับปรับปรุงปี'65 ลดอุปสรรค-เพิ่มโอกาส ให้การจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ เป็นธรรมและทั่วถึง
- ดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการ SME 2565 เดือน ก.พ. ภาพรวมเหนือระดับค่าฐานเป็นเดือนที่ 4
- สสว. ชวน 'เอสเอ็มอี' ขึ้นทะเบียน THAI SME-GP เข้าตลาดจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ 1.3 ล้านล้านบาท
นายวีระพงศ์ มาลัย ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) กล่าวภายหลังการประชุมเพื่อหาแนวทางสนับสนุนช่วยเหลือผู้ประกอบการเอสเอ็มอีในภาวะเตรียมตัวเปิดประเทศว่า แนวทางของ สสว. ในเรื่องดังกล่าว มีการดำเนินงานตั้งแต่ปี 2564 ที่ผ่านมา โดยในปี 2564 สสว.ได้ดำเนินการมาตรการสนับสนุนให้ SME เข้าถึงการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ (THAI SME-GP) ภายใต้กฎกระทรวง กำหนดพัสดุและการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุที่ต้องการส่งเสริมหรือสนับสนุน ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2563 ว่า สสว. ประสบความสำเร็จในการจัดทำระบบขึ้นทะเบียนออนไลน์ผ่านเว็บไซต์ www.thaismegp.com และเปิดให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีขึ้นทะเบียนเพื่อรับสิทธิประโยชน์ในตลาดจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐตั้งแต่ปลายปี 2563 ซึ่งมีมูลค่ามากกว่า 1.33 ล้านล้านบาท โดยที่ผ่านมา ผู้ประกอบการมีโอกาสเข้าถึงการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐที่ โดยประชาสัมพันธ์ให้ผู้ประกอบการ ได้รับรู้และเข้าร่วมโครงการกว่า 118,380 ราย
“สสว. ได้โดยได้เข้าพบพลเอกอนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย และประชาสัมพันธ์โครงการผ่านช่องทางต่างๆ ทั่วประเทศ ให้ผู้ประกอบการได้รับรู้ และได้ผลตอบรับดีมาก ช่วยส่งเสริมช่องทางการจัดจำหน่ายให้แก่ผู้ประกอบการในสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ซึ่งสร้างรายได้ให้เอสเอ็มอีได้ถึง 551,306 ล้านบาท” นายวีระพงศ์ ระบุ
นอกจากนี้ ยังมีการพัฒนาระบบทะเบียนสมาชิก สสว. เพื่อเป็นช่องทางในการเชื่อมต่อกับผู้ประกอบการทั่วประเทศให้ได้รับข้อมูล องค์ความรู้สิทธิประโยชน์ต่างๆ รวมถึงโอกาสที่จะได้รับการพัฒนาจาก สสว. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยมีผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ที่ขึ้นทะเบียนในระบบนี้ไม่น้อยกว่า 1,500,000 ราย
ผอ.สสว. เผยอีกว่า สำหรับ ปี 2565 โครงการของ สสว. ที่ดำเนินการในขณะนี้คือ โครงการส่งเสริมผู้ประกอบการผ่านระบบ BDS (Business Development Service) ปี 2565 ซึ่งเป็นการสร้างโมเดลใหม่ในการพัฒนาแพลตฟอร์มออนไลน์ โดยเร่งช่วยเหลือผู้ประกอบการ 5,000 กว่ารายให้ได้รับการพัฒนา ยกระดับมาตรฐาน ซึ่งจนถึงวันที่ 14 มีนาคม 2565 ซึ่งเป็นวันที่เปิดใช้ระบบอย่างเป็นทางการ ที่ผ่านมามีผู้ประกอบการยื่นขอรับความช่วยเหลือ อุดหนุนผ่านระบบกว่า 1,000 ราย
“สสว. ได้ออกมาตรการ BDS เพื่อช่วยเหลือ อุดหนุนเอสเอ็มอี ผ่านโครงการส่งเสริมผู้ประกอบการผ่านระบบ BDS ปี 2565 เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนผู้ประกอบการให้ได้รับโอกาสในการเข้าถึงการบริการสนับสนุนด้านการพัฒนาธุรกิจในรูปแบบใหม่ ที่ผู้ประกอบการจะสามารถเลือกรับการบริการ หรือรับการพัฒนากับผู้ให้บริการทางธุรกิจ (Business Development Service Provider : BDSP) ในด้านที่ตรงกับความต้องการของธุรกิจของตนผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ BDS (https://bds.sme.go.th/) โดย สสว. จะอุดหนุนค่าใช้จ่ายในการพัฒนาให้แก่ SME แบบร่วมจ่าย ในสัดส่วนร้อยละ 50 – 80 ตามขนาดของธุรกิจ ซึ่ง สสว. เตรียมงบประมาณเพื่อช่วยอุดหนุนผู้ประกอบการในปีนี้กว่า 400 ล้านบาท ให้แก่ ผู้ประกอบการที่ยื่นข้อเสนอการพัฒนายกระดับมาตรฐานของธุรกิจและได้รับอนุมัติให้ดำเนินการพัฒนา วงเงินสูงสุดรายละไม่เกิน 200,000 บาท ซึ่งอาจจะเรียกว่า SME Co-payment
“จำนวนผู้ประกอบการ 1,000 ราย ที่สนใจยื่นสมัครโครงการภายในสัปดาห์เดียว ถือว่าได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี สสว. ประเมินว่า มาตรการ BDS นี้ จะสามารถสร้างกลไกสนับสนุนให้ผู้ให้บริการทางธุรกิจทั้งภาครัฐ หรือภาคเอกชนมีบทบาทในการส่งเสริมเอสเอ็มอี ได้มากขึ้น รวมทั้งจะสามารถทำให้ผู้ประกอบการที่ได้รับการพัฒนาจากผู้บริการทางธุรกิจสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าและบริการ เพิ่มประสิทธิภาพ ลดต้นทุน และสร้างโอกาสทางการค้าการลงทุน และมีความพร้อมในด้านการมาตรฐานได้ 5,000 กว่าราย คิดเป็นมูลค่าทางเศรษฐกิจกว่า 1,500 ล้านบาท” ผอ.สสว. กล่าว
นายวีระพงศ์ กล่าวว่า สสว. ยังได้จัดทำระบบให้บริการแก่ผู้ประกอบการ หรือ SME ACCESS ซึ่งเป็นอีกเครื่องมือในการให้บริการแก่ผู้ประกอบการ ประกอบด้วย 1.www.smeone.one.info ซึ่งเป็นช่องทางเข้าถึงข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวกับผู้ประกอบการในมิติต่างๆ 2.www.smeacadamy365.com หรือระบบการเรียนรู้ผ่านช่องทางออนไลน์ที่รวบรวมหลักสูตรความรู้ที่จำเป็นต่อการพัฒนาธุรกิจของผู้ประกอบการ 3.Application SME CONNEXT ซึ่งเป็นช่องทางหลักของ สสว. ในรูปแบบ Application ที่รวบรวมข่าวสาร บริการ สิทธิประโยชน์ต่างๆ ของ สสว. และเป็นออนไลน์ มาร์เก็ต เพลส ที่ได้รับการส่งเสริมจาก สสว. และ 4.SME Coach ระบบฐานข้อมูลที่รวบรวมผู้เชี่ยวชาญหรือโค้ช ที่สามารถเป็นที่ปรึกษาเข้าช่วยเอสเอ็มอีให้มีความพร้อมและเพิ่มขีดความสามารถในการดำเนินธุรกิจได้ โดยผู้ประกอบการสามารถเข้าค้นหาและเลือกใช้บริการโค้ชที่ตรงต่อความต้องการของตนได้
ผอ.สสว. กล่าวอีกว่า ในปี 2565 นี้ มาตรการสนับสนุนมาตรการสนับสนุนให้ SME เข้าถึงการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ (THAI SME-GP) ยังคงมีการดำเนินการ และมีฉบับปรับปรุงปี 2565 ทั้งนี้ แนวทางปฏิบัติ ซึ่งเริ่มมีผลอย่างเป็นทางการตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2565 เป็นต้นมา ซึ่ง สสว. ได้ร่วมกับ กรมบัญชีกลางได้จัดทำคู่มือปฏิบัติ และเผยแพร่ไปยังหน่วยงานภาครัฐและผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ผ่านเว็บไซต์ของกรมบัญชีกลาง และ www.thaismegp.com ของ สสว. โดยขับเคลื่อนมาตรการ THAI SME-GP เพื่อมุ่งลดอุปสรรคและสร้างโอกาสเข้าถึงตลาดภาครัฐที่เป็นธรรมและทั่วถึง
“การปรับปรุงในครั้งนี้เพื่อแก้ปัญหาและลดอุปสรรคในการจัดซื้อจัดจ้างด้วยวิธีคัดเลือก เรื่องการสมยอมราคา เรื่องสร้างความเป็นธรรมโดยให้คงสิทธิประโยชน์กับเอสเอ็มอีด้วยแต้มต่อไม่เกินร้อยละ 10 ในการเสนอราคาด้วยวิธี e-bidding ที่ใช้เกณฑ์ราคา และเพิ่มสิทธิประโยชน์ให้เอสเอ็มอีที่ได้รับการรับรองเป็นสินค้าที่ผลิตภายในประเทศ (Made in Thailand) ด้วยแต้มต่อไม่เกินร้อยละ 15 ขณะเดียวกันยังกระจายประโยชน์ไปยังเอสเอ็มอีรายเล็กๆ ให้เข้าถึงงานที่มีวงเงินไม่เกิน 5 แสนบาทได้ง่ายขึ้น โดยกำหนดให้หน่วยงานรัฐจัดซื้อจัดจ้างด้วยวิธีเฉพาะเจาะจงจากเอสเอ็มอีเป็นลำดับแรก โดยข้อมูล ณ วันที่ 25 มีนาคม คือ มีผู้ประกอบการขึ้นทะเบียนรวมทั้งสิ้น 128,567ราย มีรายการสินค้าและบริการรวม 1,009,000 รายการ ในรอบปี 2564 (มกราคม-ธันวาคม 2564)”
นายวีระพงศ์ เผยอีกว่า นอกจากนี้ สสว.ยังเตรียมความพร้อมในการประชุมรัฐมนตรีวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (APEC SME Ministerial Meeting) ครั้งที่ 28 และการประชุมคณะคณะทำงานเอเปควิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (APEC SME Working Group Meeting) ครั้งที่ 54 ณ จังหวัดภูเก็ต โดยจะจัดขึ้นภายในเดือนกันยายน 2565 ซึ่งจะเป็นโอกาสสำคัญที่ประเทศไทยจะแสดงความพร้อมในการต้อนรับชาวต่างชาติ ตั้งแต่ระดับผู้นำ ระดับรัฐมนตรี คณะผู้แทน นักธุรกิจ และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องอื่น ๆ ที่จะเดินทางเข้ามาประเทศไทย ซึ่งทั้งหมดนี้จะส่งผลดีต่อ MSME โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและธุรกิจบริการที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19
“การประชุมดังกล่าวนั้น สสว. วางเป้าหมายที่จะผลักดันประเด็นต่างๆ เช่น การนำแนวคิด BCG (Bio / Circular / Green) มาปรับใช้กับธุรกิจ ซึ่งจะสร้างโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ ให้แก่ MSME ไทย การรู้เท่าทันข้อจำกัดใหม่ๆ ในตลาดต่างประเทศ พร้อมทั้งเป็นการแสดงความพร้อมของ MSME การเข้าถึงแหล่งเงินทุนของและการปรับโครงสร้างหนี้ MSME การเปลี่ยนผ่านทางดิจิทัลในบริบทของ MSME รวมทั้งมีการหารือแนวโน้มใหม่ของ การบริโภค การตลาด ในยุค Next Normal เพื่อเสริมสร้างความเข้าใจแก่ผู้ประกอบการ MSME”
ผอ. สสว. กล่าวอีกว่า สำหรับ ปี 2566 สสว. ได้เตรียมนำระบบ Single sign on หรือระบบ หนึ่งรหัส หนึ่งผู้ประกอบการ (One Identification : ID One SMEs) ซึ่งระบบดังกล่าว จะเป็นอำนวยความสะดวกแก่ผู้ประกอบการและสามารถนำไปใช้เป็นรหัสตัวแทนในการเข้ารับบริการของหน่วยงานภาครัฐได้ ซึ่ง สสว. ได้ร่วมกับ สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) จัดทำระบบดังกล่าวขึ้น โดยมีเป้าหมายและจะเริ่มให้บริการระบบเต็มรูปแบบ สำหรับบุคคลธรรมดา นิติบุคคล และวิสาหกิจชุมชน คาดว่าจะมีจำนวนผู้ประกอบการ บุคคลธรรมดา และนิติบุคคลมาขึ้นทะเบียนระบบฯ ไม่น้อยกว่า 1,000,000 ราย รวมทั้งยังดำเนินการแผนการส่งเสริม SME อย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะทำให้ สสว. เป็นหน่วยงานในการพิจารณาโครงการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับ SME (system Integrator) มากยิ่งขึ้น
บทความยอดนิยม 10 อันดับ
- 10 ตัวอย่างที่นำ 5G มาใช้งานได้อย่างน่าสนใจและประสบผลสำเร็จ
- เทคโนโลยีแห่ง G สู่ 5G เครือข่ายไร้สาย
- แบตเตอรี่ลิเธียมไอออนคืออะไร ตลาดจะก้าวไปในทางไหนในปี 2030?
- เทคโนโลยีสำหรับโลจิสติกส์ ทางเลือกสู่ทางรอด ปรับก่อนโดนเบียด
- นิยามใหม่ SME ใช้ “รายได้” เป็นตัวกำหนด
- ธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 ปี 2564
- กลยุทธ์การ PR และ Communication ในยุคดิจิทัล
- ปัญหาตู้คอนเทนเนอร์ขาดแคลน เจาะลึกตู้สินค้าหายไปไหน?
- เทรนด์การทำงานในอนาคต หลังไทยติดโควิด นานเกือบสองปี!
- FTA ไทย มีกี่ประเทศ พอหรือไม่ ทำไมต้องคิดเรื่อง CPTPP
อัปเดตข่าวทุกวันที่นี่ www.mreport.co.th
Line / Facebook / Twitter / YouTube @MreportTH