ก.อุตฯ ตั้งเป้าปี‘68 โรงงานทั่วประเทศเข้าสู่ Green Industry
กระทรวงอุตฯ เร่งผลักดันนโยบาย BCG ตั้งเป้ายกระดับผู้ประกอบการโรงงานเข้าสู่อุตสาหกรรมสีเขียวทั่วประเทศภายในปี 2568
นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ได้นำนโยบายการพัฒนา BCG Model ของรัฐบาลมาใช้ในภาคอุตสาหกรรม ได้แก่ เศรษฐกิจชีวภาพ (Bio Economy) เศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) และ เศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy) ของรัฐบาล เพื่อเพิ่มมูลค่าและขีดความสามารถในการแข่งขัน ลดการเกิดของเสียโดยจัดการใช้ทรัพยากรภายในสถานประกอบการให้เกิดประโยชน์สูงสุด และได้แต่งตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน เศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-Green Economy : BCG Model) เพื่อกำหนดแนวทางและบูรณาการการจัดทำแผนงานโครงการให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ มุ่งเน้นไปที่ 4 เป้าหมายสำคัญ ได้แก่ 1.การสร้างความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจ เพิ่มอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ สร้างงาน และยกระดับรายได้ของประชากร 2.การสร้างความมั่นคงทางสังคม สร้างความมั่นคงทางอาหาร สุขภาพ และพลังงานในทุกระดับ เพื่อการยกระดับคุณภาพชีวิต 3.การสร้างความยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อม ลดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ ลดของเสีย ลดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม 4.การตอบโจทย์การพัฒนาที่ยั่งยืน SDGs เพื่อให้โรงงานอุตสาหกรรมอยู่ร่วมกับชุมชนได้อย่างยั่งยืน
- กรมโรงงานฯ ดันเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ ระยะที่ 2 เพิ่ม 15 พื้นที่ใหม่ หนุน BCG Model เต็มที่
- ก.อุตฯ ตั้งเป้าปี'64 ดึง 184 โรงงานเข้าร่วม สร้างเครือข่ายบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นระบบ
- กรมโรงงานเดินหน้า 3 มาตรการลดก๊าซเรือนกระจก
นายกอบชัย สังสิทธิสวัสดิ์ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า กระทรวงอุตสาหกรรมได้มอบหมายให้กรมโรงงานอุตสาหกรรม (กรอ.) ขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจสีเขียวผ่านการดำเนินโครงการส่งเสริมและพัฒนาสถานประกอบการสู่อุตสาหกรรมสีเขียว (Green Industry) เพื่อขับเคลื่อนสถานประกอบการในประเทศไทยยกระดับเป็นอุตสาหกรรมสีเขียวมากขึ้น โดยใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรม การใช้การหมุนเวียนทรัพยากร และการผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมซึ่งสอดคล้องกับนโยบาย BCG ของกระทรวงอุตสาหกรรมในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม โดยตั้งเป้าหมายให้ในปี พ.ศ. 2565 มีสถานประกอบการอุตสาหกรรม 60% ได้รับ การรับรองอุตสาหกรรมสีเขียว (Green Industry) และสามารถสามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 1.22 ล้านตัน คาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (CO2 เทียบเท่า)
นายวันชัย พนมชัย อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม เสริมว่า กรอ. มีพันธกิจในการกำกับดูแลธุรกิจอุตสาหกรรมให้มีความปลอดภัยและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม จึงได้เริ่มโครงการส่งเสริมอุตสาหกรรมสีเขียวตั้งแต่ปี 2554 จนถึงปัจจุบันมีสถานประกอบการที่ผ่านการรับรองอุตสาหกรรมสีเขียวทั้งสิ้น ประมาณ 45,433 ใบรับรอง และในปี 2564 มีสถานประกอบการ ได้รับการถ่ายทอดความรู้และขอการรับรองอุตสาหกรรมสีเขียวเพิ่มขึ้นจำนวน 3,422 ราย และมีเป้าหมายในปี 2568 โรงงานทั่วประเทศเข้าสู่อุตสาหกรรมสีเขียวทั้งหมด
โดยในวันที่ 29 พฤศจิกายน 2564 ที่ผ่านมา กรอ. ได้จัดพิธีมอบรางวัลยกย่องผู้ประกอบกิจการโรงงานที่ได้รับการรับรองอุตสาหกรรมสีเขียวระดับ 4 - 5 ประจำปี พ.ศ. 2563 และ 2564 จำนวนทั้งสิ้น 268 ราย ประกอบด้วยรางวัลอุตสาหกรรมสีเขียวระดับ 4 วัฒนธรรมสีเขียว (Green Culture) จำนวน 236 ราย และรางวัลอุตสาหกรรมสีเขียวระดับ 5 เครือข่ายสีเขียว (Green Network) จำนวน 32 ราย ที่โรงแรมเซ็นทารา บาย เซ็นทาราศูนย์ราชการฯ กรุงเทพมหานคร
#รางวัลอุตสาหกรรมสีเขียวปี 2564 #โครงการอุตสาหกรรมสีเขียว #อุตสาหกรรมสีเขียว #Green Industry #BCG Model #เศรษฐกิจชีวภาพ #เศรษฐกิจหมุนเวียน #เศรษฐกิจสีเขียว #Bio Economy #Circular Economy #Green Economy #โรงงานอุตสาหกรรม #กรมโรงงานอุตสาหกรรม #กรอ.
บทความยอดนิยม 10 อันดับ
- เทคโนโลยีแห่ง G สู่ 5G เครือข่ายไร้สาย
- เทคโนโลยีสำหรับโลจิสติกส์ ทางเลือกสู่ทางรอด ปรับก่อนโดนเบียด
- ส่งออกไทย 2564 เดือน มิ.ย. ขยายตัว 43% สูงสุดรอบ 11 ปี อีกครั้ง
- นิยามใหม่ SME ใช้ “รายได้” เป็นตัวกำหนด
- ธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 ปี 2564
- กลยุทธ์การ PR และ Communication ในยุคดิจิทัล
- แบตเตอรี่ลิเธียมไอออนคืออะไร ตลาดจะก้าวไปในทางไหนในปี 2030?
- ปัญหาตู้คอนเทนเนอร์ขาดแคลน เจาะลึกตู้สินค้าหายไปไหน?
- สรุปยอดขายรถยนต์ 2564 ครึ่งปีแรก
- วิกฤตซัพพลายเชนโลก: ผลกระทบจากโควิด-19 ต่อธุรกิจ
อัปเดตข่าวทุกวันที่นี่ www.mreport.co.th
Line / Facebook / Twitter / YouTube @MreportTH