3 หน่วยงานการไฟฟ้าเชื่อมโยงแอปพลิเคชัน EV ให้บริการข้ามเครือข่าย
MEA, PEA และ EGAT บูรณาการสร้างความมั่นคงด้านระบบไฟฟ้า ลงนามสัญญาให้บริการแพลตฟอร์มอัดประจุยานยนต์ไฟฟ้าข้ามเครือข่าย (EV Roaming)
วันที่ 18 สิงหาคม 2566 นายชยาวุธ จันทร ประธานกรรมการ MEA หรือการไฟฟ้านครหลวง เป็นประธานการประชุมหารือร่วมกันระหว่างคณะกรรมการ 3 การไฟฟ้า ครั้งที่ 2/2566 (ครั้งที่ 5) โดยมี นายดนุชา พิชยนันท์ กรรมการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (PEA) และ พลเอก สมศักดิ์ รุ่งสิตา กรรมการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) พร้อมด้วยคณะกรรมการและผู้บริหารหน่วยงาน 3 การไฟฟ้า เข้าร่วมประชุมเพื่อติดตามความก้าวหน้าของคณะทำงานในการบูรณาการความร่วมมือด้านโครงสร้างพื้นฐานระบบไฟฟ้า และการดำเนินโครงการ Sharing of Energy information and Technology (Big Data) พร้อมกันนี้ได้จัดพิธีลงนามสัญญาให้บริการแพลตฟอร์มอัดประจุยานยนต์ไฟฟ้าข้ามเครือข่าย (EV Roaming) ระหว่าง MEA PEA และ กฟผ. โดยมี นายวิลาศ เฉลยสัตย์ ผู้ว่าการ MEA นายศุภชัย เอกอุ่น ผู้ว่าการ PEA และ นายบุญญนิตย์ วงศ์รักมิตร ผู้ว่าการ กฟผ. ร่วมลงนาม ณ อาคารวัฒนวิภาส การไฟฟ้านครหลวง สำนักงานใหญ่ คลองเตย
- MEA เปิดตัว PLUG ME EV นวัตกรรมควบคุมหัวชาร์จ EV อัจฉริยะใจกลางเมือง
- CATL เปิดตัว “เซินซิง” แบตเตอรี่อีวีชาร์จเร็วที่สุดในโลก
- สยย. เร่งเสนอมาตรการยกระดับความพร้อม ผู้ประกอบการยานยนต์ไทย สู่ยานยนต์สมัยใหม่
ในด้านการลงนามสัญญาให้บริการแพลตฟอร์มอัดประจุยานยนต์ไฟฟ้าข้ามเครือข่าย (EV Roaming) ครั้งนี้ นับเป็นการต่อยอดการพัฒนาการเชื่อมโยงโครงข่ายแอปพลิเคชัน รองรับการใช้งานข้ามผู้ให้บริการให้มีความสะดวกและครอบคลุมการใช้งานในระดับที่สูงขึ้น โดยความร่วมมือที่ผ่านมา สามารถบูรณาการข้อมูลแสดงผลตำแหน่งของสถานีอัดประจุไฟฟ้าที่มีอยู่ทั้งหมด ถือเป็นโครงการที่ช่วยส่งเสริมระบบนิเวศยานยนต์ไฟฟ้า (EV Ecosystem) ทำให้ประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศผู้นำที่จะเป็นต้นแบบให้กับประเทศอื่น ๆ ในการพัฒนาการเชื่อมโยงโครงข่ายเพื่อให้ผู้ใช้งานยานยนต์ไฟฟ้าและผู้ลงทุน เกิดความมั่นใจในการส่งเสริมการใช้รถ EV ช่วยให้ประชาชนสามารถเข้าถึงจุดชาร์จได้สะดวก เป็นไปตามมาตรฐานสากล
ทั้งนี้ ในอนาคตได้มีการร่วมวางแผนต่อยอดถึงการพัฒนาระบบชำระเงินข้ามโครงข่ายระหว่างแอปพลิเคชันของทั้ง 3 ฝ่าย คือ MEA PEA และ EGAT และมีแนวโน้มที่จะขยายผลไปยังโครงข่ายเอกชนและภาครัฐอื่น ๆ ในประเทศไทย ให้สามารถเชื่อมโยงข้อมูลและการใช้งานได้อย่างทั่วกัน และยังได้กำหนดมาตรฐานและกระบวนการในการดำเนินการ พร้อมจัดทำคู่มือเพื่อให้ผู้ให้บริการโครงข่ายอื่น ๆ สามารถดำเนินตามได้อย่างราบรื่น เกิดประโยชน์ต่อผู้ใช้ยานยนต์ไฟฟ้าและผู้ให้บริการด้าน EV ในประเทศไทยต่อไป
บทความยอดนิยม 10 อันดับ
- ยอดขายรถยนต์ใน 2566
- คาร์บอนเครดิต (Carbon Credit) คืออะไร ทำไมถึงต้องเร่งสร้างคาร์บอนเครดิต
- FTA ไทย มีกี่ประเทศ พอหรือไม่ ทำไมต้องคิดเรื่อง CPTPP
- 10 ตัวอย่างที่นำ 5G มาใช้งานได้อย่างน่าสนใจและประสบผลสำเร็จ
- อบรมรถยนต์ไฟฟ้า 2566 ฟรี
- เทคโนโลยีแห่ง G สู่ 5G เครือข่ายไร้สาย
- กฎหมาย ปล่องระบาย อากาศ 2565
- ยอดขายโทรศัพท์ 2023 ทั่วโลก
- GAC AION Thailand
- เปิดโผ 8 อุตสาหกรรมเด่นเติบโตสูงในปี 2566
อัปเดตข่าวทุกวันที่นี่ www.mreport.co.th
Line / Facebook / Twitter / YouTube @MreportTH