สมอ. เพิ่ม 6 มาตรฐานสินค้า มอก. เตรียมบังคับใช้ ก.พ. - ส.ค. 66 นี้
“สมอ.” ยกระดับการคุ้มครองความปลอดภัย เตรียมบังคับใช้เพิ่มอีก 6 มาตรฐาน "สินค้า มอก." ประกอบด้วย ภาชนะเคลือบเทฟล่อน เครื่องฟอกอากาศ เครื่องนวดร่างกาย โกลว์สตาร์ตเตอร์ ไนทรัสออกไซด์ และออกซิเจนทางการแพทย์ เร็ว ๆ นี้ เผยปีนี้เตรียมประกาศสินค้าควบคุมอย่างต่อเนื่อง ย้ำผู้ผลิต ผู้นำเข้า ต้องยื่นขออนุญาตทำ/นำเข้า ก่อนวันมีผลบังคับใช้
เมื่อวันที่ 27 มกราคม 2566 นายบรรจง สุกรีฑา เลขาธิการสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม เปิดเผยว่า สมอ. ได้ดำเนินงานตามนโยบายของกระทรวงอุตสาหกรรม โดยการบังคับใช้มาตรฐานอย่างต่อเนื่อง เพื่อยกระดับการคุ้มครองความปลอดภัยแก่ประชาชน จากการใช้สินค้าที่ได้มาตรฐาน ซึ่งปัจจุบัน สมอ. มีสินค้าควบคุมที่ต้องเป็นไปตามมาตรฐาน จำนวน 140 รายการ ที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน และกำลังจะมีผลบังคับใช้ในระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ – เดือนสิงหาคม 2566 เป็นต้นไป เพิ่มเติมอีก 6 รายการ ได้แก่ 1) ภาชนะและเครื่องใช้โลหะเคลือบฟลูออโรพอลิเมอร์สำหรับอาหาร หรือ ภาชนะเทฟล่อน มอก.2622-2556 ซึ่งมีข้อกำหนดที่สำคัญ คือ การควบคุมปริมาณโลหะหนัก (ตะกั่วและแคดเมียม) ที่ละลายปนเปื้อนออกมาไม่ให้เกินเกณฑ์มาตรฐาน เนื่องจากภาชนะเทฟล่อนต้องสัมผัสกับความร้อนและอาหารโดยตรง ซึ่งจะมีผลบังคับใช้วันที่ 2 เมษายน 2566
2) เครื่องฟอกอากาศ มอก.60335 เล่ม 2 (65)-2564 มีข้อกำหนดที่สำคัญ คือ การควบคุมการแผ่รังสี UVC ให้อยู่ในระดับที่ไม่เป็นอันตราย และการป้องกันการช็อต ซึ่งจะมีผลบังคับใช้วันที่ 5 พฤษภาคม 2566 โดยสินค้าทั้ง 2 รายการ เดิมเป็นมาตรฐานทั่วไปต่อมาได้ประกาศให้เป็นสินค้าควบคุมเพื่อความปลอดภัยของประชาชน 3) เครื่องนวดร่างกาย มอก.60335 เล่ม 2 (32)-2564 มีข้อกำหนดที่สำคัญ คือ การป้องกันการเข้าถึงส่วนที่มีไฟฟ้า การป้องกันกระแสไฟฟ้ารั่ว และความต้านทานความชื้น เป็นต้น ซึ่งจะมีผลบังคับใช้วันที่ 16 พฤษภาคม 2566 สำหรับมาตรฐานนี้ได้ประกาศเป็นสินค้าควบคุมเป็นครั้งแรก
- สมอ. ดีเดย์ 3 ม.ค. 66 คุมเข้ม “ภาชนะพลาสติกสำหรับอาหาร” ต้องได้มาตรฐาน มอก.
- อุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า 2565 ไตรมาส 3 การผลิตหดตัวต่อเนื่อง
- สมอ. บังคับใช้มาตรฐานยูโร 5 คุมมลพิษรถบรรทุก-รถบัส-รถกระบะ-รถยนต์เล็ก เริ่ม 1 ม.ค. 67
สำหรับอีก 3 รายการ เดิมประกาศเป็นสินค้าควบคุมอยู่แล้ว แต่มีการแก้ไขปรับปรุงมาตรฐานให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากล และเทคโนโลยีการผลิตในปัจจุบัน เนื่องจากมาตรฐานดังกล่าวได้มีการประกาศใช้เกินกว่า 5 ปี สมอ. จึงต้องทบทวนให้มีความทันสมัยสอดคล้องกับความต้องการของภาคอุตสาหกรรม ได้แก่ 1) โกลว์สตาร์ตเตอร์สำหรับหลอดฟลูออเรสเซนซ์ มอก.183-2562 มีรายละเอียดในมาตรฐานที่แก้ไขคือ เพิ่มข้อกำหนดให้หน้าสัมผัสของสตาร์ตเตอร์ต้องประกอบด้วยโลหะที่เหมาะสมสำหรับเป็นส่วนที่กระแสไฟฟ้าไหลผ่าน ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2566 2) ไนทรัสออกไซด์ทางการแพทย์ มอก.30-2564 มีรายละเอียดในมาตรฐานที่แก้ไขคือ เพิ่มข้อกำหนดให้สามารถบรรจุในถังก๊าซอะลูมิเนียมด้วยได้ โดยคุณลักษณะอื่นๆ ยังคงใช้ตามเกณฑ์มาตรฐานสากล USP (The United States Phamacopeia) ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 9 พฤษภาคม 2566 และ 3) ออกซิเจนทางการแพทย์ มอก.540-2564 มีรายละเอียดในมาตรฐานที่แก้ไขคือ เพิ่มข้อกำหนดถังก๊าซอะลูมิเนียม โดยคุณลักษณะอื่น ๆ ยังคงใช้ตามเกณฑ์มาตรฐานสากล USP ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 7 สิงหาคม 2566 ทั้งนี้ ผู้ประกอบการทุกรายทั้งผู้ทำ และผู้นำเข้าสินค้าทั้ง 6 รายการดังกล่าว จะต้องทำ นำเข้าสินค้าที่เป็นไปตามมาตรฐาน รวมถึงผู้จำหน่ายจะต้องขายสินค้าที่ได้มาตรฐานเท่านั้น หากฝ่าฝืนจะมีโทษตามกฎหมาย
เลขาธิการ สมอ. กล่าวเพิ่มเติมว่า เพื่อเตรียมความพร้อมให้ผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากการบังคับใช้มาตรฐานดังกล่าว สมอ. จึงได้จัดการสัมมนาขึ้นในวันนี้ (27 มกราคม 2566) เพื่อให้ความรู้ความเข้าใจในการยื่นขอรับใบอนุญาตมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) ข้อกำหนดในมาตรฐาน และข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนการตรวจติดตามภายหลังการได้รับใบอนุญาต เพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถยื่นขอรับใบอนุญาตตามมาตรฐานดังกล่าวได้อย่างถูกต้อง รวดเร็ว และไม่เป็นอุปสรรคในการดำเนินธุรกิจ ซึ่งมีผู้ประกอบการเข้าร่วมการสัมมนากว่า 400 ราย เลขาธิการ สมอ. กล่าว
บทความยอดนิยม 10 อันดับ
- สรุปยอดขายรถยนต์ ครึ่งปีแรก 2022
- ภาพรวมอุตสาหกรรมโซลาร์เซลล์ของไทย
- สถานการณ์ชิปขาดตลาด 2022 จะสิ้นสุดเมื่อไหร่?
- 12 เทรนด์เทคโนโลยีมาแรงแห่งปี 2022
- 10 ตัวอย่างที่นำ 5G มาใช้งานได้อย่างน่าสนใจและประสบผลสำเร็จ
- เทคโนโลยีแห่ง G สู่ 5G เครือข่ายไร้สาย
- แบตเตอรี่ลิเธียมไอออนคืออะไร ตลาดจะก้าวไปในทางไหนในปี 2030?
- เทคโนโลยีสำหรับโลจิสติกส์ ทางเลือกสู่ทางรอด ปรับก่อนโดนเบียด
- นิยามใหม่ SME ใช้ “รายได้” เป็นตัวกำหนด
- FTA ไทย มีกี่ประเทศ พอหรือไม่ ทำไมต้องคิดเรื่อง CPTPP
อัปเดตข่าวทุกวันที่นี่ www.mreport.co.th
Line / Facebook / Twitter / YouTube @MreportTH