สวทช. MOU สยามคูโบต้า มุ่งผลักดันการวิจัยและพัฒนา เทคโนโลยีเกษตร-สมาร์ทฟาร์มมิ่ง
สวทช. - สยามคูโบต้า คอร์ปอเรชั่น จำกัด ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือด้านการวิจัยและพัฒนาด้านเทคโนโลยีเกษตร/เกษตรอัจฉริยะ
วันที่ 22 สิงหาคม 2566 ณ คูโบต้าฟาร์ม อ.บ้านบึง จ.ชลบุรี - ศาสตราจารย์ ดร.ชูกิจ ลิมปิจำนงค์ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และ นางวราภรณ์ โอสถาพันธุ์ กรรมการรองผู้จัดการอาวุโส บริษัทสยามคูโบต้า คอร์ปอเรชั่น จำกัด ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือด้านการวิจัยและพัฒนาด้านเทคโนโลยีเกษตร/เกษตรอัจฉริยะ
โดยมี ดร.เจนกฤษณ์ คณาธารณา รองผู้อำนวยการ สวทช. และนายรัชกฤต สงวนชีวิน ผู้จัดการฝ่าย Business Value Creation บริษัทสยามคูโบต้าฯ ร่วมเป็นสักขีพยาน ซึ่งการลงนามในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นศูนย์การเรียนรู้และถ่ายทอดความรู้ด้านเทคโนโลยีเกษตรสมัยใหม่ให้ถึงมือเกษตรกรและชุมชนโดยรอบ ภายใต้ความร่วมมือในการสนับสนุนการพัฒนาเขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor of Innovation, EECi)
ศาสตราจารย์ ดร.ชูกิจ ลิมปิจำนงค์ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กล่าวว่า สวทช. เป็นหน่วยงานวิจัยที่มุ่งมั่นพัฒนาองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ที่ผ่านมา สวทช. ได้พัฒนาเทคโนโลยีด้านเกษตรอัจฉริยะ ที่เป็นผลงานจากนักวิจัยไทย เช่น ระบบควบคุมการให้น้ำตามความต้องการของพืชสำหรับพืชแปลงเปิด (ระบบฟาร์มรักษ์น้ำ) HandySense ระบบเกษตรแม่นยำ ฟาร์มอัจฉริยะ เทคโนโลยีโรงเรือนอัจฉริยะ (smart green house) เทคโนโลยีเพื่อการบริหารจัดการฟาร์มเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ (Aqua IoT) กล่องควบคุมการให้น้ำสำหรับการปลูกพืช (Water Fit simple) เป็นต้น การขับเคลื่อนการพัฒนาภาคการเกษตรในภาคตะวันออก สวทช. ได้ดำเนินงานผ่านหน่วยงาน EECi ที่มีการเตรียมความพร้อมเป็นศูนย์กลางในการพัฒนางานวิจัยและสนับสนุนให้เกิดการนำองค์ความรู้ไปสู่การใช้ประโยชน์ในวงกว้าง
- เผยศักยภาพ “เทคโนโลยีเทระเฮิรตซ์” ปูทางสู่เกษตรแม่นยำ
- ดีพร้อม รุกโปรเจกต์ “โตพร้อม MIND” ปั้นนักธุรกิจหน้าใหม่ 6 จังหวัดนำร่องเกษตรชั้นนำ
- ญี่ปุ่นยกระดับการทำฟาร์มระยะไกล เพิ่มผลผลิตและความยั่งยืน
สวทช. ใช้กลไกการถ่ายทอดเทคโนโลยีแบบมีส่วนร่วมกับสถาบันการศึกษา ภาคเอกชน และพัฒนาแหล่งเรียนรู้ต้นแบบในชุมชน รวมทั้งนำเทคโนโลยีเกษตรอัจฉริยะหลากหลายมาติดตั้งในพื้นที่ของคูโบต้าฟาร์ม เพื่อร่วมกันเรียนรู้การใช้เทคโนโลยีเกษตรอัจฉริยะบนพื้นที่ของฟาร์ม ทำให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกันระหว่างนักวิจัยและนักวิชาการของทั้งสองหน่วยงาน รวมถึง มีเกษตรกรจำนวนมากได้เข้ามาเรียนรู้และได้มีโอกาสเข้าถึงองค์ความรู้ใหม่ ๆ อย่างมีประสิทธิภาพ
ผู้อำนวยการ สวทช. กล่าวเพิ่มเติมว่า สวทช. ยินดีอย่างยิ่ง ที่จะร่วมกับบริษัทฯ ซึ่งมีความเชี่ยวชาญด้านการเกษตรในประเทศไทย เพื่อร่วมกันศึกษาวิจัย ทดสอบ และสนับสนุนให้เกิดการประยุกต์และขยายผลใช้เทคโนโลยีเกษตรอัจฉริยะ พัฒนาพื้นที่/สถานีเรียนรู้ สาธิตการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเกษตรอัจฉริยะ และการใช้เครื่องจักรกลการเกษตรพร้อมองค์ความรู้ KUBOTA (Agri) Solutions แลกเปลี่ยนประสบการณ์ทางด้านเทคโนโลยีเกษตร/เกษตรอัจฉริยะระหว่างบุคลากรทั้งสองฝ่าย และผลักดันให้เกิดการขยายผลสู่การปฏิบัติจริงเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกรไทย รวมทั้งช่วยกันพัฒนาและยกระดับเจ้าหน้าที่และบุคลากรที่เกี่ยวข้อง ให้มีความรู้ความเข้าใจ เกิดกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ โดย สวทช. ยินดีให้การสนับสนุนองค์ความรู้ต่าง ๆ ที่เป็นผลงานวิจัยของ สวทช. เพื่อจะได้ร่วมกันยกระดับภาคการเกษตรของประเทศไทย ในยุค Thailand 4.0 และร่วมกันขับเคลื่อนโมเดลเศรษฐกิจ BCG ด้วยการนำองค์ความรู้มายกระดับประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตรในประเทศไทย
นางวราภรณ์ โอสถาพันธุ์ กรรมการรองผู้จัดการอาวุโส บริษัท สยามคูโบต้าคอร์ปอเรชั่น จำกัด กล่าวว่า ที่ผ่านมา บริษัทฯ ได้พัฒนาความร่วมมือกับ สวทช. จัดทำพื้นที่ต้นแบบสาธิตการใช้เทคโนโลยี Smart Farming ในพื้นที่คูโบต้าฟาร์ม เพื่อเป็นศูนย์การเรียนรู้เกษตรครบวงจรและสัมผัสการใช้งานเทคโนโลยีสมัยใหม่ผ่านประสบการณ์ตรง อีกทั้งส่งเสริมการใช้นวัตกรรมเทคโนโลยีที่มุ่งยกระดับคุณภาพชีวิตเกษตรกร พัฒนาเศรษฐกิจฐานรากของชุมชนให้พึ่งพาตนเองได้
ซึ่งความร่วมมือกับ สวทช. ในครั้งนี้ เพื่อคึกษาวิจัยและสนับสนุนให้เกิดการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเกษตรอัจฉริยะ อุปกรณ์ IoT และเทคโนโลยีต่างๆ ที่พัฒนาโดยนักวิจัยไทย ตลอดจนแลกเปลี่ยนองค์ความรู้เกษตรครบวงจร KUBOTA (Agri) Solutions บริษัทฯ มีความมั่นใจว่าความร่วมมือกันของทุกภาคส่วนจะเป็นแรงขับเคลื่อนการพัฒนา Smart Farming ในประเทศไทยให้สามารถเกิดขึ้นจริง และเกิดการพัฒนาต่อยอดนวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ๆ เพื่อยกระดับภาคการเกษตรของไทยให้เติบโตได้อย่างยั่งยืน
- เปิดพิมพ์เขียว "ระบบเกษตรอัจฉริยะ HandySense" สู่นวัตกรรมแบบเปิด เพื่อสังคมไทย
- แนวโน้มเทคโนโลยีในภาคการเกษตรสู่ ‘Smart Farming’
- เปิด 'แผนเกษตรอัจฉริยะ' ปี 2565-2566 เน้นทำน้อยได้มาก
บทความยอดนิยม 10 อันดับ
- ยอดขายรถยนต์ใน 2566
- คาร์บอนเครดิต (Carbon Credit) คืออะไร ทำไมถึงต้องเร่งสร้างคาร์บอนเครดิต
- FTA ไทย มีกี่ประเทศ พอหรือไม่ ทำไมต้องคิดเรื่อง CPTPP
- 10 ตัวอย่างที่นำ 5G มาใช้งานได้อย่างน่าสนใจและประสบผลสำเร็จ
- อบรมรถยนต์ไฟฟ้า 2566 ฟรี
- เทคโนโลยีแห่ง G สู่ 5G เครือข่ายไร้สาย
- กฎหมาย ปล่องระบาย อากาศ 2565
- ยอดขายโทรศัพท์ 2023 ทั่วโลก
- GAC AION Thailand
- เปิดโผ 8 อุตสาหกรรมเด่นเติบโตสูงในปี 2566
อัปเดตข่าวทุกวันที่นี่ www.mreport.co.th
Line / Facebook / Twitter / YouTube @MreportTH