สกพอ. จับมือ ออมสิน-เอ็กซิมแบงค์-บสย. ส่งเสริมลงทุน เพิ่มสภาพคล่องให้ธุรกิจทุกระดับใน EEC
สกพอ. จับมือ 3 สถาบันการเงิน ออมสิน เอ็กซิมแบงค์ บสย. เร่งเครื่องส่งเสริมการลงทุน พร้อมขับเคลื่อนบริการธุรกรรมทางการเงินครบทุกมิติ เสริมสภาพคล่องทางธุรกิจเพื่อผู้ประกอบการทุกระดับในพื้นที่อีอีซี เพิ่มโอกาสสร้างรายได้ ยกระดับความสามารถการแข่งขัน เสริมความเข้มแข็งเศรษฐกิจไทยยั่งยืน
วันที่ 27 ตุลาคม 2564 นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เป็นประธานในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ การส่งเสริมการลงทุนและบริการทางการเงินเพื่อพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ระหว่าง สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) ธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (เอ็กซิมแบงค์) และบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) โดยมี นายคณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก นายวิทัย รัตนากร ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน นายรักษ์ วรกิจโภคาทร กรรมการผู้จัดการเอ็กซิมแบงค์ และนางวสุกานต์ วิศาลสวัสดิ์ รักษาการผู้จัดการทั่วไป บสย. เป็นผู้ลงนาม พร้อมด้วยผู้แทนจากหน่วยงาน สกพอ. และ 3 สถาบันทางการเงินดังกล่าว ร่วมเป็นสักขีพยาน ณ ห้องประชุมวายุภักษ์ 1 อาคารสำนักงานปลัดกระทรวงการคลัง
- ส.สถาบันการเงินของรัฐ รับลูก 'ธปท.-คลัง' พร้อมหนุนมาตรการฟื้นฟูผู้ประกอบการธุรกิจจากโควิด-19
- EXIM Biz Transformation Loan ดอกเบี้ยต่ำสุด 2% วงเงินสูงสุด 100 ล้าน ผ่อนยาว 7 ปี
- ส.อ.ท. ร่วม 3 ธนาคาร จัดสินเชื่อ Supply Chain Financing วงเงินกว่า 40,000 ล้านบาท ช่วย SMEs
โดยความร่วมมือที่เกิดขึ้น ระหว่าง สกพอ. และ 3 สถาบันการเงินครั้งนี้ จะเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนและส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือบริการธุรกรรมทางการเงินประเภทต่างๆ รวมทั้ง เทคโนโลยีทางการเงินที่ทันสมัยสนับสนุนแก่นักลงทุน ผู้ประกอบการ และประชาชนในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ที่จะมีบริการและเครื่องมือทางการเงิน สามารถเข้าถึงบริการทางการเงินในพื้นที่ได้สะดวกยิ่งขึ้น เพื่อเสริมสภาพคล่อง บรรเทาความเดือดร้อนแก่ประชาชน ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ที่ประสบผลกระทบจากสถานการณ์การระบาดของโควิด-19เพิ่มขีดความสามารถและความมั่นคงทางธุรกิจ พร้อมกันนี้ จะได้ร่วมกันพัฒนานวัตกรรมใหม่เพื่อการบริการด้านการเงินการลงทุน การนำเข้า ส่งออก และการค้ำประกันสินเชื่อ เพื่อให้ตอบสนองความต้องการนักลงทุนได้ครอบคลุมทุกความต้องการ มีความสะดวกรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เพื่อยกระดับการแข่งขัน และสร้างความแข็งแกร่งให้ผู้ประกอบการในพื้นที่ อีอีซี อย่างยั่งยืน
ทั้งนี้ ความร่วมมือของ 3 สถาบันการเงินดังกล่าว ได้ผลักดันให้เกิดธุรกรรมทางการเงิน ที่จะเป็นเครื่องมือส่งเสริมความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจในพื้นที่ อีอีซี ที่สำคัญ ๆ ได้แก่
ธนาคารออมสิน ให้บริการธุรกรรมทางการเงิน เช่น บริการ GSB Smooth Biz for EEC เพื่อเป็นทุนหมุนเวียนลงทุนในสินทรัพย์ถาวร ให้แก่กลุ่มเป้าหมายนิติบุคคลซึ่งประกอบธุรกิจผลิต การให้บริการ การพาณิชย์ และกลุ่มธุรกิจที่มุ่งแก้ไขปัญหาสังคมหรือสิ่งแวดล้อม หรือ Social Enterprise ในพื้นที่ อีอีซี วงเงินกู้ 1–20 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ย 2.99 % ต่อปี ระยะเวลาตามสัญญา 1-10 ปี โดยอัตราดอกเบี้ยคงที่ในช่วง 2 ปีแรก และบริการสินเชื่อประชาชนสุขใจ สำหรับผู้ประกอบการภายในพื้นที่ อีอีซี เพื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนประกอบธุรกิจ ทดแทนการใช้หนี้นอกระบบ ให้แก่ผู้ประกอบการรายย่อย กลุ่มค้าขายหรือให้บริการรายย่อย ผลิตสินค้าอุปโภคบริโภคเพื่อจำหน่าย วงเงินกู้ไม่เกิน 2 แสนบาท อัตราดอกเบี้ย 1% ต่อเดือน (Flat Rate) ระยะเวลาตามสัญญา 3-10 ปี
เอ็กซิมแบงค์ ให้บริการธุรกรรมทางการเงิน เช่น สินเชื่อ “EXIM EEC Plus Loan” เป็นวงเงินหมุนเวียนและเงินกู้ระยะยาว สำหรับผู้ประกอบการในทุกขนาดธุรกิจ และทุกอุตสาหกรรมที่ต้องการลงทุนใน อีอีซี หรือต้องการปรับปรุงเครื่องจักร โรงงานระบบซอฟต์แวร์ดิจิทัล โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมเป้าหมายใหม่ (S-curve) และอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 อัตราดอกเบี้ยต่ำสุด 2% ต่อปี วงเงินสูงสุด 100 ล้านบาท ระยะเวลาผ่อนชำระสูงสุด 10 ปี ทั้งนี้ เพื่อสนับสนุนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและภาคอุตสาหกรรมของไทยที่เชื่อมโยงกับการค้าระหว่างประเทศ ทำให้สินค้าและบริการของไทยแข่งขันในตลาดโลกได้ในระยะยาว
บสย. ให้บริการธุรกรรมทางการเงิน เช่น บริการ บสย. ค้ำประกันให้ลูกค้าในโครงการสินเชื่อ EXIM Biz Transformation Loan และบริการ บสย. ค้ำประกันให้ลูกค้าในโครงการสินเชื่อประชาสุขใจ สำหรับพื้นที่ อีอีซี เพื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนประกอบธุรกิจ ทดแทนการกู้ยืมเงินนอกระบบ ทั้งนี้ บสย. ยังมีมาตรการลดค่าธรรมเนียมการค้ำประกัน ซึ่งจะช่วยลดต้นทุนให้ผู้ประกอบการให้มีค่าใช้จ่ายลดลงอีกด้วย และ บสย. ยังมีโครงการให้คำปรึกษาแนะนำแก่ผู้ประกอบการรายย่อยในการพัฒนาปรับปรุงธุรกิจ ช่วยแนะนำการปรับโครงสร้างหนี้ เพื่อช่วยให้ผู้ประกอบการก้าวข้ามผลกระทบในเวลานี้ และสามารถพัฒนากิจการให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ในระยะต่อไป
บทความยอดนิยม 10 อันดับ
- เทคโนโลยีแห่ง G สู่ 5G เครือข่ายไร้สาย
- เทคโนโลยีสำหรับโลจิสติกส์ ทางเลือกสู่ทางรอด ปรับก่อนโดนเบียด
- ส่งออกไทย 2564 เดือน มิ.ย. ขยายตัว 43% สูงสุดรอบ 11 ปี อีกครั้ง
- นิยามใหม่ SME ใช้ “รายได้” เป็นตัวกำหนด
- ธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 ปี 2564
- กลยุทธ์การ PR และ Communication ในยุคดิจิทัล
- แบตเตอรี่ลิเธียมไอออนคืออะไร ตลาดจะก้าวไปในทางไหนในปี 2030?
- ปัญหาตู้คอนเทนเนอร์ขาดแคลน เจาะลึกตู้สินค้าหายไปไหน?
- สรุปยอดขายรถยนต์ 2564 ครึ่งปีแรก
- วิกฤตซัพพลายเชนโลก: ผลกระทบจากโควิด-19 ต่อธุรกิจ
อัปเดตข่าวทุกวันที่นี่ www.mreport.co.th
Line / Facebook / Twitter / YouTube @MreportTH