ก.อุตฯ ร่วม CPAC หนุนนโยบายอีวี นำร่องใช้ 'รถโม่ไฟฟ้า' ยกระดับก่อสร้างไทย สู่ Green Construction
กระทรวงอุตฯ จับมือ CPAC หนุนนโยบายรัฐขับเคลื่อนการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าอย่างเป็นรูปธรรม นำร่องจากรถโม่พลังงานไฟฟ้า (EV Fleet) ในการขนส่งคอนกรีต ช่วยลดมลพิษฝุ่น PM 2.5 ควบคู่พัฒนาและยกระดับอุตสาหกรรมการก่อสร้างสู่ Green Construction
วันที่ 28 กันยายน 2564 นายกอบชัย สังสิทธิสวัสดิ์ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม และ นายชนะ ภูมี ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ธุรกิจซีเมนต์และผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง เอสซีจี ร่วมพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจโครงการการใช้ยานยนต์ไฟฟ้า ระหว่างกระทรวงอุตสาหกรรม และ บริษัท ผลิตภัณฑ์และวัตถุก่อสร้าง จำกัด ว่าด้วยความร่วมมือของภาครัฐกับองค์กรธุรกิจภาคเอกชน ในโครงการการใช้ยานยนต์พลังงานไฟฟ้าที่รัฐบาลสนับสนุนส่งเสริมให้เกิดการลงทุนในภาคเอกชน กระตุ้นให้เกิดการใช้ยานยนต์พลังงานไฟฟ้าในภาคอุตสาหกรรมมากขึ้น เป็นประโยชน์ ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ในการลดฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมครอน (PM 2.5) ที่เกิดจากการสันดาปภายในของเครื่องยนต์ทั่วไป
- บอร์ดอีวี ตั้งเป้าปี 2578 ผลิตยานยนต์ไฟฟ้า 18.4 ล้านคัน
- คลื่นลงทุนของภาคการผลิตทั่วโลก ในยุคตื่นทอง “รถอีวี” บูมสุด
- ปตท.-ฟ็อกซ์คอนน์ เล็งพื้นที่ EEC ตั้งโรงงานผลิตยานยนต์ไฟฟ้าครบวงจร
ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยภายหลังการลงนามฯ ว่า กระทรวงฯ ขานรับนโยบายรัฐบาลโดยการกำหนดนโยบายเพื่อพัฒนาอุตสาหกรรม และลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม โดยส่งเสริมให้ภาครัฐและเอกชนบูรณาการร่วมกันในการใช้ยานยนต์พลังงานไฟฟ้า และผลักดันให้เกิดผลสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อส่งเสริมการลงทุนและสนับสนุนผู้ประกอบการ รวมถึงเร่งผลักดันสิทธิประโยชน์และมาตรการรองรับด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยกระทรวงอุตสาหกรรม พร้อมส่งเสริมและบูรณาการร่วมกับทุกภาคส่วน เพื่อให้เกิดการใช้ยานยนต์พลังงานไฟฟ้าภายในประเทศ ซึ่งจะช่วยลดปัญหามลพิษฝุ่นละออง PM 2.5 ได้อย่าง มีประสิทธิภาพ
ด้านนายชนะ ภูมี ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ธุรกิจซีเมนต์และผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง เอสซีจีกล่าวว่า เอสซีจี พร้อมสนับสนุนนโยบายกระทรวงอุตสาหกรรม ทั้งการส่งเสริมห่วงโซ่อุปทานยานยนต์ไฟฟ้าและลดปัญหาสิ่งแวดล้อม ตามความมุ่งหวังของ CPAC ที่ต้องการให้การดำเนินธุรกิจเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Green Construction) เพื่อให้การก่อสร้างของ ประเทศเกิดการพัฒนา พร้อมสร้างสรรค์สิ่งแวดล้อมให้ดีขึ้นอย่างยั่งยืน ตามวิสัยทัศน์การดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนของเอสซีจี ที่ยึดหลัก ESG (Environmental, Social and Governance) ซึ่งคำนึงถึงผลกระทบ สิ่งแวดล้อม ดูแลสังคม และมีบรรษัทภิบาล โดย CPAC มีแผนเปลี่ยนยานยนต์เครื่องยนต์สันดาปภายในจากยานยนต์แบบดั้งเดิมที่ใช้น้ำมันเป็นเชื้อเพลิง มาเป็นยานยนต์พลังงานไฟฟ้า ทั้งในส่วนของรถบรรทุก เช่น รถโม่จัดส่งคอนกรีต รถขนส่งปูนซีเมนต์ ตลอดจนรถโดยสารใช้งานทั่วไปของบริษัท โดยตั้งเป้าเป็นรถ EV 100% ภายในปีพ.ศ. 2578
สำหรับรถโม่การจัดส่งคอนกรีต CPAC เริ่มทดลองนำรถโม่พลังงานไฟฟ้า (EV Mixer Truck) มาใช้ขนส่งคอนกรีตเป็นรายแรกของไทยตั้งแต่ปี 2564 และในปี 2565 จะขยายผลใช้การงานในเขต กรุงเทพฯ และปริมณฑล และขยายผลไปทั่วประเทศ ในปีพ.ศ. 2566
#CPAC รถโม่ไฟฟ้า #รถโม่พลังงานไฟฟ้า #EV Fleet #EV Mixer Truck #ยานยนต์ไฟฟ้า #งานคอนกรีต #กระทรวงอุตสาหกรรม #อุตสาหกรรมก่อสร้างไทย #อุตสาหกรรมการก่อสร้าง #เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม #Green Construction #เอสซีจี #SCG #เครือซีเมนต์ไทย
บทความยอดนิยม 10 อันดับ
- เทคโนโลยีแห่ง G สู่ 5G เครือข่ายไร้สาย
- บทเรียน 'หมิงตี้ เคมีคอล' สู่มาตรการป้องกันไฟไหม้โรงงาน ระยะสั้น-ยาว
- เทคโนโลยีสำหรับโลจิสติกส์ ทางเลือกสู่ทางรอด ปรับก่อนโดนเบียด
- ธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 ปี 2564
- กลยุทธ์การ PR และ Communication ในยุคดิจิทัล
- นิยามใหม่ SME ใช้ “รายได้” เป็นตัวกำหนด
- แบตเตอรี่ลิเธียมไอออนคืออะไร ตลาดจะก้าวไปในทางไหนในปี 2030?
- อุตสาหกรรมรถยนต์และชิ้นส่วนรถยนต์ไทย ปี 2564
- ปัญหาตู้คอนเทนเนอร์ขาดแคลน เจาะลึกตู้สินค้าหายไปไหน?
- อุตสาหกรรม 4.0 การผลิตแห่งอนาคต
อัปเดตข่าวทุกวันที่นี่ www.mreport.co.th
Line / Facebook / Twitter / YouTube @MreportTH