ก.อุตฯ เยือนเกาหลีใต้ ชวน LG ลงทุนเพิ่มในอุตฯยานยนต์ไฟฟ้าไทย
กระทรวงอุตสาหกรรม เดินหน้าสานสัมพันธ์กระทรวงการค้า อุตสาหกรรม และพลังงาน (MOTIE) ของสาธารณรัฐเกาหลี เชื่อมความสัมพันธ์เสริมสร้างความร่วมมือด้านการพัฒนาอุตสาหกรรมดิจิทัล แย้มชักชวนยักษ์ใหญ่ “LG” บริษัทผู้นำด้านการผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ขยายการลงทุนในอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย
- Panasonic ย้ายฐานผลิตมาไทย เผยกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ลงทุน 5 เดือนกว่า 1.4 แสนลบ.
- ภาวะการลงทุนปี 2566 ครึ่งปีแรก ยอดขอรับส่งเสริมกว่า 3.6 แสนล้าน อุตฯ เครื่องใช้ไฟฟ้า-อิเล็กทรอนิกส์ เพิ่ม 7 เท่า
- แผ่นเวเฟอร์ 300mm มาแรง คาดปี 2026 กำลังการผลิตทั่วโลกสูงเป็นประวัติการณ์
วันที่ 24 กรกฎาคม 2566 นายณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม (MIND) กล่าวว่า เมื่อเร็ว ๆ นี้ ได้เดินทางไปร่วมการประชุมกับนายแดจิน จอง (Mr.Dae-jin Jeong) ปลัดกระทรวงการค้า อุตสาหกรรม และพลังงาน (MOTIE) ของสาธารณรัฐเกาหลี โดยในที่ประชุมได้มีการหารือถึงทิศทางการพัฒนาเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมของทั้งสองประเทศ โดยสาธารณรัฐเกาหลี มุ่งผลักดันเศรษฐกิจด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ยกระดับสถานะของเกาหลีใต้ให้เป็นผู้นำโลกในอุตสาหกรรมที่เป็นจุดแข็งของประเทศ โดยมีเป้าหมายพัฒนาใน 15 กลุ่มอุตสาหกรรม อาทิ วิทยาศาสตร์ การแพทย์ อุตสาหกรรมชีวภาพ การขับเคลื่อนแห่งอนาคต (Future Mobility) เซมิคอนดัคเตอร์ อวกาศ การป้องกันประเทศ เป็นต้น ซึ่งเกาหลีส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลอย่างแพร่หลายทั้งในภาคอุตสาหกรรม เกษตรกรรม การขนส่ง และการใช้ชีวิตประจำวันของประชาชน นอกจากนี้ ยังพัฒนาระบบดิจิทัลสำหรับหน่วยงานภาครัฐ (Digital Platform Government) เชื่อมโยง Big Data ระหว่างหน่วยงาน พร้อมนำเทคโนโลยี AI มาใช้ในการกำหนดนโยบายและติดตามตรวจสอบผลการดำเนินงานของภาครัฐเพื่อให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวด้วยว่า สำหรับการเดินทางไปเกาหลีครั้งนี้ ได้เข้าพบกับนายแจซึง คิม (Mr. Jaeseung Kim) รองประธานบริษัท LG อิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งเป็นบริษัทยักษ์ใหญ่อันดับ 4 ของเกาหลี มีจุดเด่นด้านการพัฒนาอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ภายในบ้าน เช่น ตู้เย็น เครื่องซักผ้า ทีวี จอคอมพิวเตอร์ เครื่องดูดฝุ่น เครื่องปรับอากาศ และเครื่องฟอกอากาศ เป็นต้น ขณะเดียวกัน LG ยังมีหน่วยธุรกิจที่เน้นการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์เพื่อป้อนให้กับผู้ผลิตยานยนต์ชั้นนำทั่วโลก เช่น แบตเตอรี่, Rotor, Starter, Inverter และ Center Information Display (หน้าจอแสดงผลภายในรถยนต์) เป็นต้น จากจุดเด่นของ LG จึงได้เชิญชวนให้ LG เข้ามาลงทุนในอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย ซึ่งเราเองก็มีความพร้อมหลายด้าน ทั้งด้านภูมิศาสตร์ แรงงาน และความสามารถในการผลิต โดยในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา ไทยมีอัตราการเติบโตในตลาดยานยนต์ไฟฟ้าอย่างก้าวกระโดด มีส่วนแบ่งการตลาดกว่า 10% รวมทั้งรัฐบาลมีนโยบายการส่งเสริมยานยนต์ไฟฟ้าที่ชัดเจนและจริงจัง โดยเฉพาะแนวทางการให้สิทธิประโยชน์ต่างๆ สำหรับผู้ผลิตแบตเตอรี่เพื่อประกอบเป็นรถยนต์ไฟฟ้า จึงนับเป็นโอกาสดีของนักลงทุนผลิตชิ้นส่วนยานยนต์หลัก (Core Technology Parts) ที่จะใช้ไทยเป็นฐานการผลิตและส่งออกไปยังประเทศอื่น ๆ ในอาเซียน
บทความยอดนิยม 10 อันดับ
- สรุปยอดขายรถยนต์ในไทย ปี 2565
- ครม. อนุมัติงบอุดหนุนรถ BEV 18,000 - 150,000 บาท/คัน
- ภาพรวมอุตสาหกรรมโซลาร์เซลล์ของไทย
- 17 อุตสาหกรรมแนวโน้มเติบโตในปี 2566
- 10 ตัวอย่างที่นำ 5G มาใช้งานได้อย่างน่าสนใจและประสบผลสำเร็จ
- เทคโนโลยีแห่ง G สู่ 5G เครือข่ายไร้สาย
- แบตเตอรี่ลิเธียมไอออนคืออะไร ตลาดจะก้าวไปในทางไหนในปี 2030?
- เทคโนโลยีสำหรับโลจิสติกส์ ทางเลือกสู่ทางรอด ปรับก่อนโดนเบียด
- นิยามใหม่ SME ใช้ “รายได้” เป็นตัวกำหนด
- FTA ไทย มีกี่ประเทศ พอหรือไม่ ทำไมต้องคิดเรื่อง CPTPP
อัปเดตข่าวทุกวันที่นี่ www.mreport.co.th
Line / Facebook / Twitter / YouTube @MreportTH