EEC เปิดความพร้อม สนามบินอู่ตะเภาฯ - ท่าเรือมาบตาพุด เร่งเครื่องดึงการลงทุนนวัตกรรมขั้นสูงทั่วโลก
อีอีซี เพิ่มความเชื่อมั่น ผลักดันโครงสร้างพื้นฐานหลักเป็นรูปธรรม เปิดความพร้อม สนามบินอู่ตะเภาฯ - ท่าเรือมาบตาพุด เร่งเครื่องดึงการลงทุนนวัตกรรมขั้นสูงทั่วโลก
วันที่ 28 เมษายน 2566 นายจุฬา สุขมานพ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) หรือ อีอีซี เปิดเผยว่า ในวันนี้ อีอีซี ได้นำคณะสื่อมวลชนรวมกว่า 40 คน เข้าร่วมติดตามความก้าวหน้าการพัฒนาโครงการโครงสร้างพื้นฐานหลัก (EEC Project list) จำนวน 2 โครงการ ซึ่งเป็นการร่วมทุนรัฐและเอกชน (PPP) ที่อีอีซี ได้ผลักดันให้เกิดความก้าวหน้าอย่างเป็นรูปธรรม ได้แก่ โครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก ที่ขณะนี้ได้เริ่มงานก่อสร้างส่วนระบบสาธารณูปโภคในพื้นที่โครงการ และ โครงการพัฒนาท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด ระยะที่ 3 ที่งานก่อสร้างเดินหน้าลุล่วงด้วยดี เกิดการพัฒนาโครงการฯ ไปแล้วกว่า 43.72% ทำได้เร็วกว่าแผนที่ตั้งไว้ โดยคาดว่าโครงการท่าเรือมาบตาพุดฯ จะสามารถก่อสร้างแล้วเสร็จและเปิดดำเนินการท่าเรือก๊าซ (ส่วนที่ 1) ภายในปี 2570 เพื่อสร้างความมั่นใจการผลักดันโครงสร้างพื้นฐานหลักในอีอีซี ประกาศความพร้อมจูงใจนักลงทุนอุตสาหกรรมนวัตกรรมขั้นสูง ตามกรอบเศรษฐกิจ BCG กระตุ้นให้เกิดเงินลงทุนขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศใน 5 ปี (2566 – 2570) ปีละ 400,000 ล้านบาท เศรษฐกิจไทยเติบโต 4.5 – 5% ได้ต่อเนื่อง
นายจุฬา กล่าวว่า การเข้าเยี่ยมชมทั้ง 2 โครงการฯ ได้มีรายละเอียดความก้าวหน้าที่สำคัญ ๆ ได้แก่ โครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก ในส่วนของภาครัฐ อยู่ระหว่างการเตรียมออกประกาศเชิญชวนผู้รับจ้างงานทางวิ่งที่ 2 คาดว่าจะดำเนินการในเดือน พ.ค. 2566 นี้ และอยู่ระหว่างส่งมอบพื้นที่ก่อสร้างให้กับ UTA คาดว่าจะส่งมอบในช่วงไตรมาส 3 ปี 2566 ทั้งนี้ ได้นำสื่อมวลชนเยี่ยมชมจุด Utility Area ติดตามความก้าวหน้าการพัฒนาระบบสาธารณูปโภคภายในสนามบิน ได้แก่ งานระบบไฟฟ้าและน้ำเย็น ซึ่งได้ก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังแสงอาทิตย์ (Solar Farm) และโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนร่วม (Cogeneration) เป็นพลังงานสะอาดตามแนวคิดหลักของอีอีซี มีกำลังผลิตไฟฟ้ารวม 95 เมกะวัตต์ พร้อมด้วยระบบกักเก็บพลังงานอัจฉริยะ ขนาด 50 เมกะวัตต์ เพื่อให้ สนามบินอู่ตะเภาฯ ก้าวสู่ มหานครการบินภาคตะวันออก ใช้พลังงานสีเขียว มีประสิทธิภาพสูงสุดลดผลกระทบสิ่งแวดล้อม และงานระบบอื่น ๆ ที่สำคัญ อาทิ งานน้ำประปาและบำบัดน้ำเสีย งานระบบเติมน้ำมันเชื้อเพลิงอากาศยาน ที่ขณะนี้ ได้ก่อสร้างและมีความคืบหน้าอย่างเป็นลำดับต่อเนื่อง
- ติดตามความคืบหน้า EEC ในการประชุมคณะกรรมการนโยบายฯ (กพอ.) ครั้งที่ 5/2565
- ถอดรหัสอีอีซี เชื่อมโลก ให้ไทยแล่น
- EEC vs. Eastern Seaboard เหมือน / ต่างกัน อย่างไร
ในส่วนภาคเอกชน การร่วมลงทุนพัฒนาอาคารผู้โดยสารหลังที่ 3 เมืองการบิน (Airport City) คลังสินค้า (Cargo) ลานจอดอากาศยาน ถนนและสาธารณูปโภคภายในโครงการ รวมถึงสิ่งอำนวยความสะดวกภายในสนามบิน ปัจจุบัน
อยู่ระหว่างปรับปรุงแผนแม่บทให้เหมาะสมกับสถานการณ์ธุรกิจการบิน และการออกแบบรายละเอียดต่างๆ แต่ละโครงการ ด้านความก้าวหน้าที่สำคัญ UTA ได้จัดทำรั้วมาตรฐานเขตการบินเรียบร้อยแล้ว และอยู่ระหว่างเตรียมการก่อสร้างทันทีหลังได้รับแจ้งให้เริ่มการก่อสร้าง (Notice to Proceed : NTP) จาก สกพอ.
ด้านโครงการพัฒนาท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุดระยะที่ 3 การก่อสร้างมีความคืบหน้าต่อเนื่อง โดยงานที่อยู่ระหว่างการก่อสร้างในปัจจุบัน ได้แก่ การก่อสร้างเขื่อนกันทราย การลงหินแกนแล้วเสร็จ 100% และอยู่ระหว่างปรับขนาดเสริมหินเกราะชั้นนอก ติดตั้งเขื่อนกันคลื่นทะเล (Breakwater) ถมทรายเพื่อก่อสร้างถนน สะพานเข้า-ออกโครงการ รวมทั้งเตรียมงานอู่ลอยสำหรับหล่อเขื่อนกันคลื่นสำเร็จรูป (Caisson) ในส่วนของงานขุดลอกและปรับพื้นที่ทางทะเล ได้ติดตั้งม่านกันตะกอนตามที่ระบุในรายงาน EHIA เพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างเคร่งครัด รวมทั้งโครงการฯ ได้สร้างการมีส่วนร่วมจากประชาชนต่อเนื่อง มีการจัดตั้งคณะกรรมการติดตามควบคุมด้านสิ่งแวดล้อมในงานก่อสร้าง ที่ภาคประชาชนเข้าร่วมเป็นกรรมการไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของกรรมการทั้งหมด จำนวน 3 คณะ และได้จัดประชุมร่วมกันไปแล้วกว่า 30 ครั้ง นอกจากนี้
ยังมีการตรวจสอบด้านสิ่งแวดล้อม อาทิ วัดคุณภาพอากาศ เสียง ความสั่นสะเทือน วัดคุณภาพน้ำทะเล คุณภาพน้ำทิ้ง ซึ่งได้รายงานต่อกรมเจ้าท่า และสำนักงาน สผ. ทุก 6 เดือน ปัจจุบันดำเนินการแล้ว 3 ครั้ง เป็นต้น โดยโครงการพัฒนาท่าเรือมาบตาพุด ถือเป็นการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน อีอีซี เพื่อรองรับการขนถ่ายก๊าซธรรมชาติและวัตถุดิบเหลวสำหรับกลุ่มอุตสาหกรรมปิโตรเคมี ในเขตนิคมฯ มาบตาพุด มีเนื้อที่ประมาณ 1,000 ไร่ รองรับการลงทุนในอีอีซี เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการขนถ่ายก๊าซธรรมชาติและสินค้าเหลวสำหรับอุตสาหกรรมปิโตรเคมี 19 ล้านตันต่อปี รองรับการขยายตัวของอุตสาหกรรมเหล็กครบวงจร และในอุตสาหกรรมต่อเนื่อง สร้างการลงทุนในพื้นที่ส่งผลให้เกิดการจ้างงาน และประชาชนในพื้นที่มีรายได้เพิ่มขึ้น
บทความยอดนิยม 10 อันดับ
- สรุปยอดขายรถยนต์ในไทย ปี 2565
- ครม. อนุมัติงบอุดหนุนรถ BEV 18,000 - 150,000 บาท/คัน
- ภาพรวมอุตสาหกรรมโซลาร์เซลล์ของไทย
- 17 อุตสาหกรรมแนวโน้มเติบโตในปี 2566
- 10 ตัวอย่างที่นำ 5G มาใช้งานได้อย่างน่าสนใจและประสบผลสำเร็จ
- เทคโนโลยีแห่ง G สู่ 5G เครือข่ายไร้สาย
- แบตเตอรี่ลิเธียมไอออนคืออะไร ตลาดจะก้าวไปในทางไหนในปี 2030?
- เทคโนโลยีสำหรับโลจิสติกส์ ทางเลือกสู่ทางรอด ปรับก่อนโดนเบียด
- นิยามใหม่ SME ใช้ “รายได้” เป็นตัวกำหนด
- FTA ไทย มีกี่ประเทศ พอหรือไม่ ทำไมต้องคิดเรื่อง CPTPP
อัปเดตข่าวทุกวันที่นี่ www.mreport.co.th
Line / Facebook / Twitter / YouTube @MreportTH