อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์, Electronics, กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.), แรงงาน

วช. MOU 12 สถาบันอุดมศึกษา เพิ่มขีดความสามารถ "ไมโครอิเล็กทรอนิกส์" ไทยในเวทีโลก

อัปเดตล่าสุด 17 ส.ค. 2566
  • Share :
  • 28,376 Reads   

วช. MOU 12 สถาบันอุดมศึกษา ส่งเสริมองค์ความรู้ทางวิชาการด้าน "ไมโครอิเล็กทรอนิกส์" มุ่งพัฒนาศักยภาพการแข่งขันอุตสาหกรรมไมโครอิเล็กทรอนิกส์ไทยในเวทีโลก

เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2566 กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดย สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ร่วมกับ 12 สถาบันอุดมศึกษา จัดพิธีลงนามบันทึกความร่วมมือทางวิชาการว่าด้วยความร่วมมือในการส่งเสริมและสนับสนุนทางวิชาการด้านไมโครอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางด้านอุตสาหกรรมด้านไมโครอิเล็กทรอนิกส์ในระดับนานาชาติ โดยมี ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ ลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือฯ ร่วมกับ ผู้บริหาร 12 สถาบันอุดมศึกษา ณ เวที Highlight Stage ในงาน “มหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2566 : Thailand Research Expo 2023” ชั้น 22 โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ และบางกอกคอนเวนชันเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิลด์ กรุงเทพฯ

ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กล่าวว่า วช. ภายใต้กระทรวง อว. เล็งเห็นความสำคัญของการพัฒนาและส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และการวิจัยในด้านไมโครอิเล็กทรอนิกส์ จึงได้สนับสนุนการดำเนินงานศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบไมโครอิเล็กทรอนิกส์แห่งประเทศไทย เพื่อนำไปสู่การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางด้านอุตสาหกรรม โดยเฉพาะกลุ่มอุตสาหกรรมด้านไมโครอิเล็กทรอนิกส์ (Microelectronics) ซึ่งมีความสำคัญและเป็นเทคโนโลยีแกนหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและนวัตกรรม หากปราศจากเทคโนโลยีไมโครอิเล็กทรอนิกส์ การพัฒนาอุตสาหกรรมจะขับเคลื่อนได้ช้าและขาดความสามารถในการแข่งขันในตลาดโลก การบริหารจัดการงานวิจัยและนวัตกรรมทางด้านอุตสาหกรรมของประเทศมิใช่เพียงการส่งเสริมการวิจัยเท่านั้น ยังรวมถึงการพัฒนาบุคลากร เสริมสร้างอาชีพ ด้วยการสร้างระบบนิเวศการวิจัย และการสร้างเครือข่ายผู้เชี่ยวชาญที่เชื่อมต่อกันทั่วประเทศและทั่วโลก

การลงนามความร่วมมือระหว่าง วช. และ 12 สถาบันอุดมศึกษา ได้แก่ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหิดล, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, มหาวิทยาลัยแม่โจ้, มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, มหาวิทยาลัยขอนแก่น, มหาวิทยาลัยกาพสินธุ์, มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง, และสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ในครั้งนี้ ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญในการกำหนดเส้นทางแห่งการร่วมมือในการส่งเสริมและสนับสนุนภาควิชาการด้านไมโครอิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทย เพื่อเชื่อมต่อองค์ความรู้และทรัพยากรระหว่างสถาบันการศึกษา และตอบสนองต่อความต้องการในด้านไมโครอิเล็กทรอนิกส์ที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วตามนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการนำพาประเทศไทยก้าวไปข้างหน้าด้วยโมเดลพัฒนาเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี ความคิดสร้างสรรค์ และนวัตกรรม ที่ส่งเสริมให้เกิดองค์ความรู้ กำลังคนและผู้เชี่ยวชาญ และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะเป็นแรงดึงดูดในการมีความร่วมมือระหว่างประเทศต่อไป และยังเป็นการพัฒนาอนาคตของประเทศไทยด้านไมโครอิเล็กทรอนิกส์ในเวทีโลก

 

บทความยอดนิยม 10 อันดับ

 

อัปเดตข่าวทุกวันที่นี่ www.mreport.co.th   

Line / Facebook / Twitter / YouTube @MreportTH