วว. จับมือพันธมิตรไทย-จีน พัฒนารถไฟความเร็วสูงในไทย
วว. จับมือพันธมิตรไทย-จีน ลงนามข้อตกลงความร่วมมือ 2 ฉบับ ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี นวัตกรรม และการศึกษา เพื่อพัฒนารถไฟความเร็วสูง
เมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2565 ศ.ดร.นพ. สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) และ มิสเตอร์ จาง กวงจวิน VICE minister of MOST China พร้อมด้วย มิสเตอร์ หาน จื้อเฉียง Ambassador Extraordinary and Plenipotentiary of the People's Republic of China to the Kingdom of Thailand นายอรรถยุทธ์ ศรีสมุทร เอกอัครราชทูต ณ กรุงปักกิ่ง มิสเตอร์ หวัง จวิน Vice President of CRRC และ มิสเตอร์ เถียน เสวฮวา Chairman of CRRC Qingdao Sifang ให้เกียรติเป็นสักขีพยานในพิธีลงนามความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี นวัตกรรมและการศึกษา ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ระหว่างประเทศไทยและสาธารณรัฐประชาชนจีน โดย ศ. (วิจัย) ดร. ชุติมา เอี่ยมโชติชวลิต ผู้ว่าการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) กับพันธมิตร จำนวน 2 MOU ได้แก่
- MOU ที่ 1 การพัฒนาความร่วมมือด้านรถไฟความเร็วสูงกับ CRRC Qingdao Sifang และ 5 มหาวิทยาลัยของไทย ได้แก่ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตขอนแก่น มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย กับ 3 มหาวิทยาลัยของประเทศจีน ได้แก่ Beijing Jiaotong University, Southwest Jiaotong University และ Central South University
- MOU ที่ 2 ความร่วมมือไทย-จีน ภายใต้โครงการเชื่อมโยงไทยจีน “Belt and Road” กับ CRRC Qingdao Sifang
โอกาสนี้ ปลัดกระทรวง อว. กล่าวว่า ประเทศไทยและสาธารณรัฐประชาชนจีนมีความสัมพันธ์ที่ดีมายาวนาน มีความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ วัฒนธรรม การท่องเที่ยว ตลอดจนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ทั้งนี้ประเทศไทยตั้งเป้าหมายในการนำประเทศก้าวสู่ Thailand 4.0 โดยใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นแรงขับเคลื่อนหลัก กระทรวง อว.ไทย และ กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ของสาธารณรัฐประชาชนจีน มีความร่วมมือในหลายด้าน ทั้งเกษตรฟังก์ชัน ความปลอดภัยด้านอาหาร เทคโนโลยีสีเขียว รวมถึงเทคโนโลยีด้านอวกาศ
“การพัฒนาอย่างรวดเร็วของโครงสร้างพื้นฐานด้านระบบรางในประเทศไทย โดยเฉพาะโครงการเชื่อมโยงทางระบบรางระหว่างไทย-จีน ผ่านรถไฟความเร็วสูง และการเชื่อมโยงท่าอากาศยาน 3 แห่งด้วยรถไฟความเร็วสูง จำเป็นต้องอาศัยเทคโนโลยีขั้นสูง ทำให้ประเทศไทยต้องแสวงพันธมิตรที่มีความเข็มแข็งเพื่อทำให้การดำเนินงานดังกล่าวบรรลุเป้าหมาย ปัจจุบัน อว.มีความมุ่งหมายที่จะสนับสนุนการเพิ่มขีดความสามารถให้กับนักศึกษาในด้านรถไฟความเร็วสูง เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของประเทศและนโยบายของภาครัฐ
นอกจากนี้ อว.ยังให้ความสำคัญกับการวิจัยและพัฒนา เพื่อให้ความร่วมมือภายใต้โครงการ “Belt and Road" ที่จะร่วมกันวิจัยและพัฒนาด้านระบบราง ทั้งไทย-จีน ต้องทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดเพื่อให้เกิดการพัฒนาด้านงานวิจัยร่วมกัน เชื่อมั่นว่าความมุ่งมั่นและตั้งใจของทั้งสองฝ่ายที่จะร่วมกันพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จะสร้างความสัมพันธ์ที่ยั่งยืนระหว่างสองประเทศ” ศ.ดร.นพ. สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล กล่าว
- ก่อร่าง สร้างระบบราง อีกก้าวใหญ่ของประเทศไทย
- วว. เสริมแกร่งผู้ประกอบการไทย ชวนใช้บริการ "ศูนย์ทดสอบมาตรฐานขนส่งทางราง"
- Perspective ระบบราง ประเทศไทย
ศ. (วิจัย) ดร. ชุติมา เอี่ยมโชติชวลิต ผู้ว่าการ วว. กล่าวถึงความเชี่ยวชาญของ วว. และกรอบการดำเนินงานกับพันธมิตรว่า วว. มีศักยภาพด้านการพัฒนาระบบรางในประเทศไทยเป็นเวลามากกว่า 10 ปี ผ่านการดำเนินงานโดย ศูนย์ทดสอบมาตรฐานระบบขนส่งทางราง (ศทร.) หรือ RTTC ซึ่งได้รับการยอมรับในระดับประเทศและอาเซียน โดยภารกิจหลักของ วว. มุ่งเน้นให้บริการเพื่อสนับสนุนอุตสาหกรรมและภาครัฐในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านระบบราง หนึ่งในกลไกสำคัญที่จะช่วยขับเคลื่อนอุตสาหกรรมด้านนี้ให้พัฒนาอย่างรวดเร็วก็คือ การพัฒนาบุคลากรให้มีหลากหลาย ในปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงด้านการศึกษาอย่างรวดเร็วและมุ่งเน้นให้นักศึกษามีทักษะในการปฏิบัติมากขึ้น นอกเหนือจากการเรียนทางทฤษฎี ภายใต้ความร่วมมือดังกล่าวจะก่อให้เกิดการพัฒนาด้านต่างๆ เป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น
ทั้งนี้ด้วยความร่วมมือเป็นอย่างดีกับ CRRC Qingdao Sifang ที่มีศักยภาพในด้านวิศวกรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการออกแบบและการผลิตรถไฟฟ้าความเร็วสูง รวมถึง 3 มหาวิทยาลัยของจีน เชื่อมั่นว่านักศึกษาของมหาวิทยาลัยไทยจะได้รับประโยชน์ในการเรียนรู้จากผู้เชี่ยวชาญ นอกจากนี้การสอน การวิจัยและพัฒนา ซึ่งจะดำเนินการร่วมกันนั้น จะมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศ รวมทั้งจะช่วยผลักดันให้เกิดการพัฒนาด้านเทคโนโลยีรถไฟความเร็วสูงในอนาคต
“การทำงานร่วมกันในครั้งนี้ทำให้ตระหนักถึงคำกล่าวที่เกี่ยวเนื่องกับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วที่ว่า “หากต้องการก้าวไปอย่างรวดเร็ว ให้ไปเพียงลำพัง หากต้องการก้าวไปได้ไกล ให้ก้าวไปด้วยกัน...และหากก้าวไปกับพันธมิตรที่มีความพร้อม จะก้าวไปได้ไกลและยั่งยืน” ผู้ว่าการ วว. กล่าวสรุป
โอกาสนี้ ดร.พัชทรา มณีสินธุ์ รองผู้ว่าการบริการอุตสาหกรรม วว. พร้อมด้วย ดร. อาณัติ หาทรัพย์ ผู้อำนวยการศูนย์ทดสอบมาตรฐานระบบขนส่งทางราง (ศทร.) นายภณสินธุ์ ไพทีกุล ผู้อำนวยการห้องปฏิบัติการทดสอบและพัฒนาเทคโนโลยีขนส่งทางรางและยานยนต์ขนส่ง (ผอ.หป.พร.) ดร.บุณณนิดา โสดา ผู้อำนวยการกองวิเทศสัมพันธ์ (กวส.) ผู้บริหารมหาวิทยาลัยทั้งไทยและจีน รวมทั้งบุคลากรที่เกี่ยวข้องร่วมเป็นเกียรติ
อนึ่ง วว. และ CRRC Qingdao มีความร่วมมือระหว่างกันอย่างยาวนานตั้งแต่ปี 2015 (พ.ศ.2558) ทั้งสองหน่วยงานมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด จากความร่วมมือในปัจจุบันทำให้กระชับความร่วมมือไปอีกขั้น โดยไม่เพียงแต่เป็นความร่วมมือกับพันธมิตรเดิมเท่านั้น แต่ยังสร้างความร่วมมือกับพันธมิตรใหม่ ซึ่งเป็นหน่วยงานจากประเทศจีนและมหาวิทยาลัยของไทย วว.เชื่อมั่นว่าจะสร้างผลกระทบและสร้างความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้กับประเทศไทยอย่างยั่งยืน
บทความยอดนิยม 10 อันดับ
- 10 ตัวอย่างที่นำ 5G มาใช้งานได้อย่างน่าสนใจและประสบผลสำเร็จ
- เทคโนโลยีแห่ง G สู่ 5G เครือข่ายไร้สาย
- แบตเตอรี่ลิเธียมไอออนคืออะไร ตลาดจะก้าวไปในทางไหนในปี 2030?
- เทคโนโลยีสำหรับโลจิสติกส์ ทางเลือกสู่ทางรอด ปรับก่อนโดนเบียด
- นิยามใหม่ SME ใช้ “รายได้” เป็นตัวกำหนด
- ธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 ปี 2564
- กลยุทธ์การ PR และ Communication ในยุคดิจิทัล
- ปัญหาตู้คอนเทนเนอร์ขาดแคลน เจาะลึกตู้สินค้าหายไปไหน?
- เทรนด์การทำงานในอนาคต หลังไทยติดโควิด นานเกือบสองปี!
- FTA ไทย มีกี่ประเทศ พอหรือไม่ ทำไมต้องคิดเรื่อง CPTPP
อัปเดตข่าวทุกวันที่นี่ www.mreport.co.th
Line / Facebook / Twitter / YouTube @MreportTH