กรมโรงงานฯ เซ็น MOU กระทรวงสิ่งแวดล้อม ญี่ปุ่น แลกเปลี่ยนเทคโนโลยีจัดการของเสีย
กรมโรงงานอุตสาหกรรม (กรอ.) จับมือ กระทรวงสิ่งแวดล้อม ประเทศญี่ปุ่น ลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือด้านการจัดการของเสีย เน้นแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ และเทคโนโลยี เพื่อบริหารจัดการของเสียอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ส่งเสริมหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ตามนโยบาย BCG
- กรมโรงงานฯ เตือน 65,000 โรงงาน เร่งส่งรายงานการกำจัดของเสียประจำปี ภายใน 1 มี.ค. นี้
- กรอ. ผนึก 40 โรงงาน ลงนาม MOU เพิ่มประสิทธิภาพการจัดการ "กากอุตสาหกรรม"
- กรมโรงงานฯ เดินหน้าพัฒนาและยกระดับผู้รับบำบัดกำจัด "ของเสียอันตรายจากภาคอุตสาหกรรม"
วันที่ 21 เม.ย. 65 นายวันชัย พนมชัย อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า กรอ.เล็งเห็นความสำคัญของการจัดการของเสียภาคอุตสาหกรรมที่เกิดจากกระบวนการผลิต เพื่อให้อุตสาหกรรมและชุมชนสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างยั่งยืน มุ่งเน้นให้มีการนำของเสียกลับมาใช้ประโยชน์และใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า จึงได้จับมือกับสำนักฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมและวัฏจักรของวัสดุ กระทรวงสิ่งแวดล้อม ประเทศญี่ปุ่น ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือด้านการจัดการของเสีย เพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านการจัดการของเสียในภาคอุตสาหกรรมให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง โดยการลงนามในบันทึกความร่วมมือระหว่างสำนักฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมและวัฏจักรของวัสดุ กระทรวงสิ่งแวดล้อม ประเทศญี่ปุ่น และกรมโรงงานอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม ประเทศไทย จะทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ และเทคโนโลยีต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการของเสีย สะท้อนให้เห็นความสำคัญของการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า ส่งเสริมหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ซึ่งเป็นหนึ่งในนโยบายสำคัญของรัฐบาล อีกทั้งการจัดการของเสียอย่างยั่งยืนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมยังถือเป็นภารกิจสำคัญของ กรอ.
ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมากระทรวงอุตสาหกรรม ประเทศไทย และกระทรวงสิ่งแวดล้อม ประเทศญี่ปุ่น ได้เคยลงนามในบันทึกความร่วมมือด้านการจัดการกากอุตสาหกรรมร่วมกัน เมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2559 โดย กระทรวงอุตสาหกรรม มอบหมาย กรมโรงงานอุตสาหกรรมดำเนินงานภายใต้ความร่วมมือดังกล่าวมาตั้งแต่ปี 2559 ในรูปแบบของคณะทำงานกำกับ ดูแล และดำเนินงานตามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือด้านการจัดการของเสีย ระหว่างกระทรวงอุตสาหกรรม ประเทศไทย และกระทรวงสิ่งแวดล้อม ประเทศญี่ปุ่น ทั้งนี้ เพื่อเป็นการขับเคลื่อนการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องจึงได้มีการลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือด้านการจัดการของเสียในครั้งนี้ ซึ่งนับเป็นครั้งที่ 2
สำหรับการดำเนินการภายใต้บันทึกข้อตกลงความร่วมมือที่ผ่านมานี้ ประเทศญี่ปุ่นได้ส่งผู้เชี่ยวชาญจัดสัมมนาแบ่งปันองค์ความรู้ให้แก่ประเทศไทยในหลากหลายเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นแนวทางสำหรับสถานีขนถ่ายของเสีย (Guideline for Transfer Station) แนวทางปฏิบัติและเทคนิคสำหรับการรีไซเคิลและบำบัดของเสียอุตสาหกรรม (Technical Guideline for Industrial Waste Recycle & Treatment) การจัดการข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับกากอุตสาหกรรมของประเทศญี่ปุ่น มาตรการรับมือการปนเปื้อนดินและน้ำใต้ดินที่เกิดจากกากอุตสาหกรรมในประเทศญี่ปุ่น และพระราชบัญญัติส่งเสริมการหมุนเวียนแหล่งทรัพยากรพลาสติกในประเทศญี่ปุ่น อธิบดีกรมโรงงานฯ กล่าวทิ้งท้าย
บทความยอดนิยม 10 อันดับ
- 10 ตัวอย่างที่นำ 5G มาใช้งานได้อย่างน่าสนใจและประสบผลสำเร็จ
- เทคโนโลยีแห่ง G สู่ 5G เครือข่ายไร้สาย
- แบตเตอรี่ลิเธียมไอออนคืออะไร ตลาดจะก้าวไปในทางไหนในปี 2030?
- เทคโนโลยีสำหรับโลจิสติกส์ ทางเลือกสู่ทางรอด ปรับก่อนโดนเบียด
- นิยามใหม่ SME ใช้ “รายได้” เป็นตัวกำหนด
- ธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 ปี 2564
- กลยุทธ์การ PR และ Communication ในยุคดิจิทัล
- ปัญหาตู้คอนเทนเนอร์ขาดแคลน เจาะลึกตู้สินค้าหายไปไหน?
- เทรนด์การทำงานในอนาคต หลังไทยติดโควิด นานเกือบสองปี!
- FTA ไทย มีกี่ประเทศ พอหรือไม่ ทำไมต้องคิดเรื่อง CPTPP
อัปเดตข่าวทุกวันที่นี่ www.mreport.co.th
Line / Facebook / Twitter / YouTube @MreportTH