วว. เสริมแกร่งผู้ประกอบการไทย ชวนใช้บริการ "ศูนย์ทดสอบมาตรฐานขนส่งทางราง"
ระบบรางเป็นองค์ประกอบสำคัญของการพัฒนาะบบคมนาคมขนส่งที่ยั่งยืน ซึ่งได้ถูกบรรจุไว้ในยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบคมนาคมขนส่งของไทย ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2561-2580) และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 ครอบคลุมการพัฒนาโครงข่ายคมนาคมขนส่งทางบกเชื่อมโยงพื้นที่เศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศและเพื่อนบ้าน โครงข่ายรถไฟตามแผนการลงทุนเร่งด่วนเพื่อพัฒนาให้ระบบรถไฟเป็นระบบหลักในการขนส่งสินค้า รวมไปถึงโครงการระบบขนส่งมวลชน เช่น รถไฟฟ้าหลากสี โครงการระบบรถไฟทางคู่ โครงการรถไฟฟ้ารางเบา และการพัฒนาโครงข่ายระบบรถไฟความเร็วสูงเพื่อเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้านในอนุภูมิภาค เช่น รถไฟความเร็วสูงไทย-จีน ช่วงกรุงเทพ-นครราชสีมา-หนองคาย เป็นต้น
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) ประยุกต์ใช้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม (วทน.) สนับสนุนโยบายการขนส่งระบบรางของภาครัฐ ผ่านการดำเนินงานของหน่วยงานในสังกัดคือ ศูนย์ทดสอบมาตรฐานขนส่งทางราง หรือ ศทร. โดยมีบทบาทสำคัญในการให้บริการทดสอบและรับรองวัสดุ/ผลิตภัณฑ์ ใน โครงการก่อสร้างเส้นทางรถไฟของกระทรวงคมนาคม มากกว่า 40 โครงการทั่วประเทศ เช่น โครงการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน โครงการรถไฟรางคู่ โครงการเสริมความมั่นคงโครงสร้างทาง โครงการปรับปรุงเส้นทางรถไฟที่ไม่ปลอดภัยต่อการเดินรถ เป็นตัน
ศ. (วิจัย) ดร.ชุติมา เอี่ยมโชติชวลิต ผู้ว่าการ วว. กล่าวว่า ศทร. วว. มีความพร้อมในการเป็นหน่วยงานสนับสนุนวิจัยและพัฒนาด้านการทดสอบและรับรองผลิตภัณฑ์ของระบบขนส่งทางราง ให้มีความปลอดภัยและได้มาตรฐานสากล ครอบคลุมรถไฟทุกระบบ ได้แก่ รถไฟทางคู่ รถไฟฟ้าขนส่งมวลชน รถไฟฟ้ารางเบา และรถไฟความเร็วสูง รวมทั้งรองรับเทคโนโลยีระบบรางได้ทุกค่าย อาทิเช่น ระบบรถไฟของประเทศจีน ญี่ปุ่น และค่ายอื่นๆ เช่น เยอรมนี เกาหลี เป็นต้น
ในด้านการบำรุงรักษาระบบรางนั้น ผู้ว่าการ วว. กล่าวว่า วว.เล็งเห็นถึงความจำเป็นในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ในการบำรุงรักษาระบบขนส่งทางรางให้สามารถให้บริการได้อย่างต่อเนื่องและปลอดภัย เช่น เทคโนโลยีการบำรุงรักษาระบบรางแบบอัจฉริยะ (Smart Railway Maintenance) การติดตามและเฝ้าระวังสถานะของการใช้งานระบบรางและตัวรถได้แบบทันทีทันใด ลดการเสียโอกาสในการให้บริการ ทำให้เกิดความปลอดภัยสูงสุด และลดค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุง
- วว. ผนึกกำลัง ภาครัฐ-เอกชน ร่วมขับเคลื่อนอุตสาหกรรมขนส่ง-โลจิสติกส์ของประเทศ
- ศูนย์ทดสอบและมาตรฐานระบบขนส่งทางราง แห่งแรกในไทยได้การรับรอง ISO/IEC 17025 : 2017 ด้านระบบราง
- “ไทยซับคอน” จับมือ “เอเอ็มอาร์ เอเซีย” พัฒนาธุรกิจระบบจ่ายไฟเหนือหัว หนุนใช้ Local Contents ในอุตฯ ระบบราง
วว. โดย ศูนย์ทดสอบมาตรฐานขนส่งทางราง (ศทร.) มีผลการดำเนินงานที่สำคัญในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสนับสนุนการทดสอบรับรองคุณภาพความปลอดภัยวัสดุผลิตภัณฑ์ระบบราง ให้แก่โครงการคมนาคมขนส่งของประเทศไทย อาทิ 1.โครงการรถไฟฟ้สายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี 2.โครงการรถไฟฟ้าสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิต / บางซื่อ-ตะลิ่งชัน 3.โครงการรถไฟฟ้าทางคู่ช่วงมาบกะเบา-จิระ สัญญาที่ 1 ช่วงมาบกะเบา-คลองขนานจิตร 4.โครงการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย MRTA 5.งานเสริมความมั่นคงโครงสร้างทาง ระหว่างสถานีชุมทางฉะเชิงเทรา ชุมทางคลองสิบเก้าในทางรถไฟสายตะวันออก 6.งานจ้างก่อสร้างปรับปรุงพื้นทางในพื้นที่แขวงบำรุงฉะเชิงเทรา 7.โครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน ช่วงที่ 1 กรุงเทพฯ-นครราชสีมา 8.โครงการก่อสร้างบ่อพักและร้อยสายไฟฟ้าใต้ดินร่วมกับโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู (ช่วงแคราย-มีนบุรี) ของรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย 9.โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ช่วงลพบุรี-ปากน้ำโพ สัญญาที่ 2 ช่วงท่าแค-ปากน้ำโพ และ 10.โครงการก่อสร้างระบบขนส่งมวลชนในกรุงเทพมหานคร ช่วง Red Lind-ROOM TVM : BTS เป็นต้น
นอกจากนี้ ศทร. ยังมีความพร้อมให้บริการทดสอบรับรองผลิตภัณฑ์ทางระบบราง เช่น 1.ทดสอบหมอนคอนกรีต (Mono block concrete sleeper) ตามมาตรฐาน BS EN 13230-2 2.การทดสอบหมอนประแจ (Concrete bearer) ตามมาตรฐาน BS EN 13230-4 3.การทดสอบเครื่องยึดเหนี่ยวราง (Fastening system) ตามมาตรฐาน BS EN 13481 4.การทดสอบรอยเชื่อมรางแบบชนวาบ (Flash butt welding) ตามมาตรฐาน BS EN 14587 5.การทดสอบรอยเชื่อมรางแบบอลูมิโนเทอร์มิก (Aluminothermic welding) ตามมาตรฐาน BS EN 14730 6. การทดสอบประกับราง (Insulated Rail Joint : IRJ) ตามมาตรฐาน AREMA และ AS 1085 เป็นต้น
- Perspective ระบบราง ประเทศไทย
- รถไฟความเร็วสูงไทย-จีน เดินต่อ ลงนามก่อสร้างงานโยธาอีก 3 สัญญา คาดให้บริการได้ในปี 2569
- ก่อร่าง สร้างระบบราง อีกก้าวใหญ่ของประเทศไทย
นอกจาก ศูนย์ทดสอบมาตรฐานขนส่งทางราง วว. จะให้บริการวิเคราะห์ ทดสอบ ด้านระบบขนส่งที่ครอบคลุมด้านระบบรางแล้วยังให้บริการทดสอบในส่วนเชื่อมต่อกับการขนส่งทางถนน และทางน้ำ หรือ การขนส่งหลายรูปแบบ (Multi-modal transport) อีกด้วย เช่น รถบรรทุกสินค้า ยานยนต์ไฟฟ้า บรรจุภัณฑ์ขนส่งสินค้า ฯลฯ เพื่อสนับสนุนด้านความปลอดภัยในการใช้งานระบบขนส่งทางรางและเสริมขีดความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการไทย โดยการทดแทนการนำเข้าผลิตภัณฑ์ในระบบขนส่งและโลจิสติกส์อีกด้วย
ในการทดสอบรับรองคุณภาพ มาตรฐานความปลอดภัยทางระบบรางนั้น ศทร. วว. ดำเนินการตามข้อกำหนดทางเทคนิคของสัญญาจ้าง (TOR) และมาตรฐานสากล เช่น ISO, EN, AS, UIC, AAR , AREMA ฯลฯ ครอบคลุมผลิตภัณฑ์ชิ้นส่วนงานทางและชิ้นส่วนล้อเลื่อน เช่น หมอนคอนกรีต รางและข้อต่อราง เครื่องยึดเหนี่ยวราง ชิ้นส่วนระบบอาณัติสัญญาณ โครงสร้างเสาจ่ายไฟฟ้า ระบบจ่ายไฟเหนือตัวรถ ชิ้นส่วนระบบเบรก แคร่ล้อ ตู้รถไฟ เป็นต้น ตลอดจนให้บริการเป็นที่ปรึกษาเพื่อแก้ปัญหาทางวิศวกรรมแก่ผู้ผลิตชิ้นส่วนรถไฟในประเทศอีกด้วย
“...การให้บริการทดสอบของศูนย์ทดสอบมาตรฐานขนส่งทางรางทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ สามารถสร้างรายได้และช่วยลดต้นทุนการผลิตให้กับภาคอุตสาหกรรมไทย คิดเป็นมูลค่าผลกระทบทางเศรษฐกิจไม่น้อยกว่า 30,000 ล้านบาทต่อปี นับได้ว่าเป็นกลไกขับเคลื่อนสนับสนุนส่งเสริมของหน่วยงานภาครัฐให้ผู้ประกอบการไทยมีความแข็งแกร่ง เพิ่มศักยภาพการแข่งขันอย่างเป็นรูปธรรม เป็นการดำเนินงานด้าน วทน. ที่สอดคล้องกับนโยบายรัฐบาลซึ่งมีการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานด้านระบบรางกว่า 1.5 ล้านล้านบาท ภายใต้ยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบคมนาคมของไทยระยะ 20 ปี ซึ่งจะสร้างผลกระทบทางเศรษฐกิจในภาพรวมอย่างมหาศาล...” ผู้ว่าการ วว. กล่าว
ทั้งนี้ผู้ประกอบการขอรับบริการจาก ศูนย์ทดสอบมาตรฐานขนส่งทางราง วว. ได้ที่ โทร.0 2577 9000 , 02577 9143 ต่อ 201 และ 304 E-mail : [email protected] https://www.tistr.or.th/rttc/ Facebook Page : https://www.facebook.com/RTTC.TISTR
อัปเดตข่าวทุกวันที่นี่
Facebook / Twitter: MreportTH
Line: Twitter @mreportth
Youtube official: MReport
Website: www.mreport.co.th