บอร์ดบีไอไอ อนุมัติลงทุน 4 โครงการใหญ่ กว่า 4.4 หมื่นล้าน - เพิ่มประเภทกิจการ หนุนใช้เทคโนโลยีเครื่องจักรขั้นสูง
บอร์ดบีโอไอ (BOI) อนุมัติ 4 โครงการลงทุนขนาดใหญ่ การผลิตรถยนต์ไฟฟ้า BEV - PHEV ของ BYD, โครงการผลิตก๊าซธรรมชาติ ของ ปตท. และกิจการขนส่งทางเรือ รวมมูลค่าเงินลงทุนกว่า 44,000 ล้านบาท พร้อมเพิ่มประเภทกิจการใหม่ หนุนใช้เทคโนโลยีเครื่องจักรขั้นสูง กระตุ้นการลงทุนครึ่งปีหลัง
- บอร์ดบีไอไอ อนุมัติลงทุนโครงการใหญ่ พลังงาน-โลจิสติกส์-อีวี รวมกว่า 2.6 หมื่นล้าน
- ภาวะการลงทุนปี 2565 ครึ่งปีแรก ยอดขอรับส่งเสริมกว่า 2.1 แสนล้าน กลุ่มยานยนต์ไฟฟ้า - อุตฯ ดิจิทัลมาแรง
- บอร์ดบีโอไอ อนุมัติลงทุน 5 โครงการ เฉียด 5 หมื่นล้านบาท
วันที่ 17 สิงหาคม 2565 นางสาวดวงใจ อัศวจินตจิตร์ เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน หรือ บีโอไอ กล่าวว่า บอร์ดบีโอไอได้อนุมัติโครงการส่งเสริมการลงทุนขนาดใหญ่ รวม 4 โครงการ และปรับนโยบายรองรับเทคโนโลยีใหม่ กระตุ้นการลงทุนช่วงครึ่งปีหลัง
โดย 4 โครงการลงทุนขนาดใหญ่ ประกอบด้วย
1. กิจการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่ และรถยนต์ไฟฟ้าแบบผสมเสียบปลั๊ก มูลค่า 17,891 ล้านบาท จากประเทศจีน (BYD)
2. กิจการผลิตก๊าซธรรมชาติ ของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) มูลค่า 18,000 ล้านบาท
3. กิจการขนส่งทางเรือของบริษัท ฐิตติ ภูมิ จำกัด มูลค่า 4,310 ล้านบาท
และ 4. บริษัท ศานติ ภูมิ จำกัด มูลค่า 4,310 ล้านบาท
เพิ่มประเภทกิจการใหม่หนุนใช้เทคโนโลยีขั้นสูง
ทั้งนี้ บอร์ดบีโอไอ ยังได้เห็นชอบให้เพิ่มประเภทกิจการผลิตภัณฑ์ที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง 4 ประเภท ได้แก่
1. กิจการผลิตเครื่องจักรที่มีความแม่นยำสูง รวมถึงการผลิตอุปกรณ์และชิ้นส่วน และการซ่อมแซมเครื่องจักรหรืออุปกรณ์ที่ผลิตเอง ได้สิทธิประโยชน์ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 8 ปี
2. กิจการซ่อมแซมเครื่องจักรที่มีความแม่นยำสูง ได้สิทธิประโยชน์ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 5 ปี (ไม่จำกัดวงเงิน)
3. กิจการผลิตชิ้นส่วนโลหะด้วยเครื่องพิมพ์ 3 มิติ (Additive Manufacturing) ได้สิทธิประโยชน์ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 5 ปี
4. กิจการผลิตผลิตภัณฑ์ที่ใช้ไมโครเทคโนโลยีในการผลิต ได้สิทธิประโยชน์ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 8 ปี
“การเพิ่มประเภทกิจการใหม่ในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อจูงใจให้เกิดการลงทุนที่รองรับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีการผลิตที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การผลิตและการซ่อมแซมเครื่องจักรที่มีความแม่นยำสูงเป็นอุตสาหกรรมที่เป็นพื้นฐานสำคัญของการสร้างความเข้มแข็งให้แก่อุตสาหกรรมในภาพรวม นอกจากนี้ การผลิตแบบ Additive Manufacturing ได้กลายเป็นแนวโน้มใหม่ในการผลิต จึงจำเป็นต้องสร้างนโยบายสิทธิประโยชน์ที่ปรับเปลี่ยนให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง” นางสาวดวงใจกล่าว
นอกจากนี้ ที่ประชุมบอร์ดบีโอไอยังได้มีมติให้ปรับปรุงหลักเกณฑ์การเสนอรายงานการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ โดยโครงการที่มีเงินลงทุน (ไม่รวมค่าที่ดินและทุนหมุนเวียน) มากกว่า 2,000 ล้านบาท ต้องเสนอรายงานการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการตามที่คณะกรรมการกำหนดจากเดิม 750 ล้านบาท เพื่ออำนวยความสะดวกและลดภาระให้แก่นักลงทุนในการเตรียมเอกสารเพื่อยื่นขอรับการส่งเสริมการลงทุน
บทความยอดนิยม 10 อันดับ
- 10 ตัวอย่างที่นำ 5G มาใช้งานได้อย่างน่าสนใจและประสบผลสำเร็จ
- เทคโนโลยีแห่ง G สู่ 5G เครือข่ายไร้สาย
- แบตเตอรี่ลิเธียมไอออนคืออะไร ตลาดจะก้าวไปในทางไหนในปี 2030?
- เทคโนโลยีสำหรับโลจิสติกส์ ทางเลือกสู่ทางรอด ปรับก่อนโดนเบียด
- นิยามใหม่ SME ใช้ “รายได้” เป็นตัวกำหนด
- ธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 ปี 2564
- กลยุทธ์การ PR และ Communication ในยุคดิจิทัล
- ปัญหาตู้คอนเทนเนอร์ขาดแคลน เจาะลึกตู้สินค้าหายไปไหน?
- เทรนด์การทำงานในอนาคต หลังไทยติดโควิด นานเกือบสองปี!
- FTA ไทย มีกี่ประเทศ พอหรือไม่ ทำไมต้องคิดเรื่อง CPTPP
อัปเดตข่าวทุกวันที่นี่ www.mreport.co.th
Line / Facebook / Twitter / YouTube @MreportTH