กรมโรงงานฯ ดีเดย์ 1 ม.ค. 67 ยกเลิกใช้สารเป่าโฟมทำลายโอโซน มุ่งสู่ Carbon Neutrality ภายใต้ COP 26
กรมโรงงานฯ ดีเดย์ 1 มกรา 67 สั่งยกเลิกใช้ "สารไดคลอโรฟลูออโรมีเทน HCFC-141b" ในสเปรย์โฟม และผลักดันให้เปลี่ยนมาใช้ "สารไฮโดรฟลูออโรโอเลฟิน HFOs" แทน หวังลดโลกร้อน มุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ภายใต้ COP 26
วันที่ 16 กันยายน 2565 นายวันชัย พนมชัย อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า กรอ. เตรียมประกาศห้ามใช้สารไดคลอโรฟลูออโรมีเทน (HCFC-141b) ในภาคอุตสาหกรรมผลิตโฟมแบบฉีดพ่น (Spray Foam) มีผลใช้บังคับวันที่ 1 มกราคม 2567 พร้อมเร่งผลักดันทุกภาคส่วนให้ใช้สารที่ไม่ทำลาย ชั้นบรรยากาศโอโซน โดยร่วมมือกับธนาคารโลก ธนาคารออมสิน และกลุ่มอุตสาหกรรมย่อยโพลียูรีเทน สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย พร้อมให้การสนับสนุนด้านเงินทุนและด้านเทคนิคแก่ผู้ประกอบการที่จะเลิกใช้โฟมแบบฉีดพ่น
- กรอ. ลั่น! โรงงานใช้สารเคมีตั้งแต่ 1 ตัน/ปี ต้องรายงานข้อมูลภายใน 23 ต.ค.นี้
- กรมโรงงานฯ ร่วมภาคีเครือข่าย ขับเคลื่อนการลดและเลิกใช้ HCFCs ในภาคการผลิตโฟมและเครื่องปรับอากาศ
- ก.อุตฯ ประกาศบังคับโรงงานปล่อยมลพิษ ติดตั้ง CEMS มีผลตั้งแต่ 10 มิ.ย. 66
กรอ. ในฐานะหน่วยงานหลัก ภายใต้พิธีสารมอนทรีออล ได้ดำเนินโครงการลดและเลิกใช้สารทำลายชั้นบรรยากาศโอโซนของประเทศไทย มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2538 จนถึงปัจจุบัน โดยห้ามใช้สาร HCFC-141b ในกระบวนการผลิตโฟมทุกชนิด ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2560 ยกเว้นโฟมแบบฉีดพ่น ทำให้แม้จะสามารถลดการใช้สาร HCFC-141b จำนวน 132 โอดีพีตัน และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ 870,000 ตัน ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า แต่ กรอ. ยังเดินหน้าเพื่อให้การใช้สาร HCFC-141b ในภาคอุตสาหกรรมโฟมแบบฉีดพ่นเป็นศูนย์ จึงได้เตรียมออกประกาศห้ามใช้สาร HCFC-141b ในภาคอุตสาหกรรมผลิตโฟมแบบฉีดพ่น (Spray Foam) ซึ่งจะมีผลใช้บังคับในวันที่ 1 มกราคม 2567 และผลักดันให้ผู้ประกอบการในภาคอุตสาหกรรมโฟมแบบฉีดพ่น เปลี่ยนมาใช้สารไฮโดรฟลูออโรโอเลฟิน หรือสาร HFOs แทน ซึ่งเป็นสารที่ไม่ทำลายชั้นบรรยากาศโอโซนมีค่าศักยภาพที่ทำให้โลกร้อนต่ำ และเป็นทางเลือกที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
นายวันชัย กล่าวต่อว่า กรอ. ได้รับการสนับสนุนจากกองทุนพหุภาคีภายใต้พิธีสารมอนทรีออล พร้อมให้การช่วยเหลือผู้ประกอบการโฟมแบบฉีดพ่นทั้งรายใหญ่และรายย่อยที่เข้าร่วมโครงการลดและเลิกใช้สารไฮโดรคลอโรฟลูออโรคาร์บอน ระยะที่ 2 (พ.ศ. 2563 – 2566) เป็นจำนวนเงินกว่า 62 ล้านบาท เพื่อช่วยเหลือด้านการเงินแก่ผู้ประกอบ สำหรับปรับเปลี่ยนเครื่องมืออุปกรณ์ในกระบวนการผลิตจากเดิมที่ใช้สาร HCFC-141b ไปใช้สาร HFOs ซึ่งขณะนี้มีผู้ประกอบการโฟมแบบฉีดพ่นที่ได้รับการอนุมัติจำนวน 2 ราย และผู้ประกอบการที่อยู่ระหว่างดำเนินการยื่นขอรับการช่วยเหลืออีก 4 ราย สำหรับผู้ประกอบการอุตสาหกรรมรายย่อยจะได้รับการสนับสนุนด้านเทคนิควิชาการ และความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารทดแทน
การดำเนินการดังกล่าวของ กรอ. จะสอดคล้องเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจก ซึ่งนายกรัฐมนตรี ได้แสดงเจตนารมณ์ของ ประเทศไทย ที่จะลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศร้อยละ 40 ในปี พ.ศ. 2573 และก้าวสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ภายในปี พ.ศ. 2593 เพื่อมุ่งสู่การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emission) ในปี พ.ศ. 2608 ในการประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศสมัยที่ 26 (COP 26) ณ เมืองกลาสโกว์ สหราชอาณาจักร
ผู้ประกอบการโฟมแบบฉีดพ่นที่ประสงค์ขอรับความช่วยเหลือ สามารถติดต่อได้ที่ กองบริหารจัดการวัตถุอันตราย กรมโรงงานอุตสาหกรรม โทร. 0 2430 6308 ต่อ 1716
บทความยอดนิยม 10 อันดับ
- 10 ตัวอย่างที่นำ 5G มาใช้งานได้อย่างน่าสนใจและประสบผลสำเร็จ
- เทคโนโลยีแห่ง G สู่ 5G เครือข่ายไร้สาย
- แบตเตอรี่ลิเธียมไอออนคืออะไร ตลาดจะก้าวไปในทางไหนในปี 2030?
- เทคโนโลยีสำหรับโลจิสติกส์ ทางเลือกสู่ทางรอด ปรับก่อนโดนเบียด
- นิยามใหม่ SME ใช้ “รายได้” เป็นตัวกำหนด
- ธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 ปี 2564
- กลยุทธ์การ PR และ Communication ในยุคดิจิทัล
- ปัญหาตู้คอนเทนเนอร์ขาดแคลน เจาะลึกตู้สินค้าหายไปไหน?
- เทรนด์การทำงานในอนาคต หลังไทยติดโควิด นานเกือบสองปี!
- FTA ไทย มีกี่ประเทศ พอหรือไม่ ทำไมต้องคิดเรื่อง CPTPP
อัปเดตข่าวทุกวันที่นี่ www.mreport.co.th
Line / Facebook / Twitter / YouTube @MreportTH