กองทุนพัฒนา SME เสิร์ฟสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ วงเงิน 2,000 ลบ. เปิดรับคำขอ 17 ม.ค. 65
กระทรวงอุตสาหกรรม อัดงบประมาณสินเชื่อกองทุนพัฒนาเอสเอ็มอีตามแนวประชารัฐ 2,000 ล้านบาท จัดสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ 3 โครงการ อุ้ม SME และลูกหนี้ได้รับผลกระทบโควิด-19 เปิดรับคำขอ 17 มกราคม 2565 นี้
วันที่ 12 มกราคม 2565 นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า จากสถานการณ์ของการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ยังคงส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจและการดำเนินธุรกิจของเอสเอ็มอีอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น เพื่อเป็นการบรรเทาผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจ และบรรเทาผลกระทบจากภาระการชำระหนี้ของลูกหนี้ให้มีสภาพคล่อง และสามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้ในช่วงภาวะวิกฤติ กระทรวงอุตสาหกรรม โดยกองทุนพัฒนาเอสเอ็มอีตามแนวประชารัฐ เล็งเห็นถึงสถานการณ์ดังกล่าว จึงได้ออกสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ 3 โครงการ เพื่อช่วยเหลือเอสเอ็มอีและลูกหนี้สินเชื่อของกองทุนฯ โดยจะสามารถเปิดรับคำขอได้วันที่ 17 มกราคมนี้ คาดว่าจะสามารถช่วยเหลือผู้ประกอบการได้มากกว่า 500 ราย รักษาการจ้างงานได้กว่า 3,000 ราย ก่อให้เกิดเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจกว่า 10,000 ล้านบาท
- สินเชื่อพิเศษ "ดีพร้อมเปย์" เสริมสภาพคล่องเอสเอ็มอี วงเงินสูงสุดไม่เกิน 5 ล้านบาท
- ก.อุตฯ มอบของขวัญปีใหม่ 2565 เสิร์ฟสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ วงเงินกว่า 3.2 หมื่นล้าน พร้อมสองมหกรรมสินค้าราคาพิเศษ
- “สมาคมธนาคารไทย” ผนึก“ธปท.-เครือข่ายภาคเอกชน” พัฒนาเทคโนโลยีช่วย SMEs เข้าถึงสินเชื่ออย่างยั่งยืน
นายกอบชัย สังสิทธิสวัสดิ์ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ในฐานะประธานกองทุนพัฒนาเอสเอ็มอีตามแนวประชารัฐ กล่าวเสริมว่า คณะกรรมการบริหารกองทุนพัฒนาเอสเอ็มอีตามแนวประชารัฐ จึงได้ออกมาตรการช่วยเหลือ SMEs ที่เป็นนิติบุคคลและเป็นลูกหนี้ของกองทุนพัฒนาเอสเอ็มอีตามแนวประชารัฐ ได้แก่
1. สินเชื่อเพิ่มศักยภาพ SME สำหรับผู้ผลิตให้บริการค้าปลีกหรือค้าส่งในกลุ่มอุตสาหกรรม BCG (Bio Circular Green) ใน 5 กลุ่ม ประกอบด้วย กลุ่มเกษตรอุตสาหกรรม/กลุ่มอาหารแปรรูปที่ใช้เทคโนโลยีชีวภาพ กลุ่มอุตสาหกรรมพลังงานทดแทน กลุ่มอุตสาหกรรมเครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์ กลุ่มผู้ผลิต/ผู้ใช้เทคโนโลยีหุ่นยนต์หรือระบบอัตโนมัติ และกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า กรอบวงเงิน 1,000 ล้านบาท วงเงินสินเชื่อต่อรายสูงสุดไม่เกิน 15 ล้านบาท ระยะเวลากู้สูงสุดไม่เกิน 10 ปี ปลอดชำระคืนเงินต้นสูงสุดไม่เกิน 18 เดือน ดอกเบี้ย 2% ต่อปีตลอดอายุสัญญา
2. สินเชื่อ สร้างโอกาส เสริมสภาพคล่อง SME สำหรับผู้ผลิตให้บริการค้าปลีกหรือค้าส่ง เพื่อสนับสนุนให้ความช่วยเหลือเงินทุนแก่เอสเอ็มอีที่มีศักยภาพที่เป็นนิติบุคคลและเป็นกลุ่มธุรกิจเป้าหมาย ที่ขาดสภาพคล่องทางการเงิน และเพิ่มช่องทางการเข้าถึงแหล่งเงินทุน ให้นำเงินทุนไปใช้ในการปรับปรุง ลงทุนในกิจการ ฟื้นฟู กิจการในปัจจุบัน หรือเริ่มต้นกิจการใหม่ ใน 8 กลุ่มอุตสาหกรรม ประกอบด้วย กลุ่มอุตสาหกรรมท่องเที่ยว กลุ่มอุตสาหกรรมเกษตรและอาหารแปรรูป กลุ่มอุตสาหกรรมแฟชั่น กลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน กลุ่มอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ กลุ่มอุตสาหกรรมพลาสติก กลุ่มอุตสาหกรรมก่อสร้าง และกลุ่มอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ โดยมีกรอบวงเงิน 500 ล้านบาท วงเงินสินเชื่อต่อรายตั้งแต่ 1 แสนบาท และสูงสุดไม่เกิน 2 ล้านบาท ระยะเวลากู้สูงสุดไม่เกิน 7 ปี ปลอดชำระคืนเงินต้น สูงสุดไม่เกิน 12 เดือน ดอกเบี้ย 2% ต่อปี ตลอดอายุสัญญา
3. สินเชื่อเพื่อฟื้นฟู SME เพื่อเป็นเงินทุนช่วยเหลือให้กับลูกค้ากลุ่มเดิม ที่เป็นลูกหนี้สินเชื่อของกองทุนพัฒนาเอสเอ็มอีตามแนวประชารัฐ ที่มีภาระหนี้เงินต้นวงเงินกู้สินเชื่อระยะยาว (Term Loan) คงเหลืออยู่กับกองทุนได้นำเงินทุนไปใช้ในการปรับปรุง ลงทุน เงินทุนหมุนเวียน เสริมสภาพคล่องในการดำเนินกิจการ หรือฟื้นฟูกิจการในปัจจุบัน หรือเริ่มต้นกิจการใหม่ โดยผู้รับสินเชื่อต้องเป็นลูกหนี้ในโครงการสินเชื่อของกองทุนพัฒนาเอสเอ็มอีตามแนวประชารัฐ หรือโครงการฟื้นฟูและเสริมศักยภาพวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม สำหรับ SMEs หรือโครงการสินเชื่อ SME โตไว ไทยยั่งยืน โดยมีกรอบวงเงิน 500 ล้านบาท วงเงินสินเชื่อต่อรายสูงสุดไม่เกิน 3 ล้านบาท โดยเมื่อรวมกับภาระหนี้เงินต้นคงเหลือและดอกเบี้ยคงค้างของสัญญากู้ยืมเงินกองทุนพัฒนาเอสเอ็มอีตามแนวประชารัฐ ต้องไม่เกินจากวงเงินสินเชื่อที่ได้รับอนุมัติเดิม ระยะเวลากู้สูงสุดไม่เกิน 7 ปี ปลอดชำระคืนเงินต้นสูงสุดไม่เกิน 12 เดือน ดอกเบี้ย 2% ต่อปี ตลอดอายุสัญญา
“ทั้ง 3 โครงการสามารถติดต่อขอรับสินเชื่อได้ที่สำนักงานกองทุนพัฒนาเอสเอ็มอีตามแนวประชารัฐ สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดทุกจังหวัด หรือผ่าน www.thaismefund.com และที www.smebank.co.th เชื่อมั่นมาตรการดังกล่าวจะเป็นส่วนสำคัญในการพยุงกลุ่มเอสเอ็มอีให้สามารถประคับประคองการดำเนินกิจการ ด้วยการเสริมสภาพคล่องสร้างมูลค่าหมุนเวียนทางเศรษฐกิจ โดยหวังว่าทุกๆ กิจการและสถานประกอบการจะสามารถดำเนินไปได้ปกติต่อไป” ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวปิดท้าย
บทความยอดนิยม 10 อันดับ
- 10 ตัวอย่างที่นำ 5G มาใช้งานได้อย่างน่าสนใจและประสบผลสำเร็จ
- เทคโนโลยีแห่ง G สู่ 5G เครือข่ายไร้สาย
- แบตเตอรี่ลิเธียมไอออนคืออะไร ตลาดจะก้าวไปในทางไหนในปี 2030?
- เทคโนโลยีสำหรับโลจิสติกส์ ทางเลือกสู่ทางรอด ปรับก่อนโดนเบียด
- นิยามใหม่ SME ใช้ “รายได้” เป็นตัวกำหนด
- ธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 ปี 2564
- กลยุทธ์การ PR และ Communication ในยุคดิจิทัล
- ปัญหาตู้คอนเทนเนอร์ขาดแคลน เจาะลึกตู้สินค้าหายไปไหน?
- เทรนด์การทำงานในอนาคต หลังไทยติดโควิด นานเกือบสองปี!
- FTA ไทย มีกี่ประเทศ พอหรือไม่ ทำไมต้องคิดเรื่อง CPTPP
อัปเดตข่าวทุกวันที่นี่ www.mreport.co.th
Line / Facebook / Twitter / YouTube @MreportTH