สมอ. คุมเข้ม “ภาชนะพลาสติกสำหรับอาหาร” เป็นสินค้า มอก. ดีเดย์ 3 ม.ค. 66
สมอ. ดีเดย์ 3 มกราคม 2566 กำหนดให้ “ภาชนะพลาสติกสำหรับอาหาร” เป็นสินค้าควบคุมต้องได้มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม มอก. เพื่อความปลอดภัยของประชาชน คุมเข้มทั้งผู้ทำและผู้นำเข้าทุกรายต้องยื่นขอ มอก. ก่อนวันมีผลบังคับใช้ หากฝ่าฝืนมีโทษตามกฎหมาย
วันที่ 8 พฤศจิกายน 2565 นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า นอกจากภารกิจด้านการเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับภาคอุตสาหกรรมแล้ว อีกภารกิจที่สำคัญของกระทรวงอุตสาหกรรม คือ การคุ้มครองประชาชนผู้บริโภคให้ปลอดภัยจากการใช้สินค้าที่ได้มาตรฐาน โดยการควบคุมสินค้าที่มีผลกระทบต่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน ซึ่งปัจจุบันมีจำนวน 136 รายการที่สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) ประกาศเป็นสินค้าควบคุม และกำลังจะควบคุมเพิ่มอีก 5 รายการได้แก่ 1) ภาชนะและเครื่องใช้พลาสติกสำหรับอาหาร ที่ทำจากพอลิเอทิลีน พอลิพรอพิลีน พอลิสไตรีน พอลิเอทิลีนเทเรฟแทเลต พอลิไวนิลแอลกอฮอล์ และพอลิเมทิลเพนทีน 2) ภาชนะและเครื่องใช้พลาสติกสำหรับอาหาร ที่ทำจากพอลิไวนิลคลอไรด์ พอลิคาร์บอเนต พอลิแอไมด์ และพอลิเมทิลเมทาคริเลต 3) ภาชนะและเครื่องใช้พลาสติกสำหรับอาหารที่ทำจากอะคริโลไนไทรล์-บิวทะไดอีน-สไตรีน และสไตรีน-อะคริโลไนไทรล์ 4) ภาชนะพลาสติกบรรจุอาหารสำหรับเตาไมโครเวฟ สำหรับการอุ่น (ใช้ซ้ำได้) และ 5) ภาชนะพลาสติกบรรจุอาหารสำหรับเตาไมโครเวฟ สำหรับการอุ่นครั้งเดียว โดยสินค้าทั้ง 5 รายการดังกล่าวแบ่งตามชนิดของพลาสติกที่ใช้ทำเฉพาะชั้นที่สัมผัสกับอาหาร ซึ่งจะมีผลบังคับใช้พร้อมกันในวันที่ 3 มกราคม 2566 นี้ เนื่องจากภาชนะที่สัมผัสอาหารโดยตรงมีความเสี่ยงที่จะมีสารเคมีปนเปื้อน หรือสารก่อมะเร็งที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพปนเปื้อนลงสู่อาหารได้ เช่น สารตั้งต้นที่ใช้ทำพลาสติก โลหะหนักที่อยู่ในสารเติมแต่ง หรือสีที่ใช้ทาเคลือบภายนอก เป็นต้น
- Oerlikon Balzers เปิดตัวสารเคลือบที่ทนต่อการเสียดสีและการกัดกร่อนสูง สำหรับการฉีดขึ้นรูปและการอัดขึ้นรูปเติมพอลิเมอร์
- สมอ. คุมเข้มท่อน้ำดื่ม PVC มอก.ต้องสีฟ้า ได้มาตรฐาน หวั่นโลหะหนักปนเปื้อน
- Sodick เปิดเทคโนโลยี V-LINE® ฉีดพลาสติกรักษ์โลก ตอบโจทย์ลดคาร์บอน ในงาน Manufacturing Expo 2022
ด้าน นายบรรจง สุกรีฑา เลขาธิการสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม กล่าวเพิ่มเติมว่า ปัจจุบันสินค้าทั้ง 5 รายการดังกล่าว เป็นสินค้ามาตรฐานทั่วไปที่ผู้ประกอบการสมัครใจในการยื่นขอการรับรองคุณภาพผลิตภัณฑ์ตามมาตรฐาน มอก.655 และ มอก.2493 ซึ่งมีผู้ประกอบการได้รับใบอนุญาตจาก สมอ. รวมจำนวน 13 ราย แต่หลังจากวันที่ 3 มกราคม 2566 เป็นต้นไป ผู้ประกอบการทุกรายทั้งผู้ทำและผู้นำเข้า จะต้องยื่นขอใบอนุญาตจาก สมอ. ก่อนทำและนำเข้า หากฝ่าฝืนจะมีโทษตามกฎหมาย กรณีทำโดยไม่ได้รับอนุญาต มีโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี ปรับไม่เกิน 2 ล้านบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ กรณีแสดงเครื่องหมายมาตรฐานโดยไม่ได้รับอนุญาต มีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับไม่เกิน 1 ล้านบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และผู้ใดมีไว้เพื่อจำหน่าย จำคุกไม่เกิน 6 เดือน ปรับไม่เกิน 5 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และขอฝากถึงประชาชนผู้บริโภค ก่อนซื้อภาชนะหรือเครื่องใช้พลาสติกสำหรับอาหาร ขอให้สังเกตเครื่องหมายมาตรฐาน ก่อนซื้อทุกครั้ง เพื่อความปลอดภัย
“เพื่อให้ผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากการบังคับใช้มาตรฐานดังกล่าว ได้มีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับข้อกำหนดในมาตรฐานและข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนเตรียมความพร้อมในการยื่นขอรับใบอนุญาตตามมาตรฐานได้อย่างถูกต้อง รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ สมอ. ได้จัดการสัมมนา เรื่อง “การเตรียมความพร้อมผู้ประกอบการขอรับใบอนุญาตมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมภาชนะและเครื่องใช้พลาสติกสำหรับอาหาร มอก.655 เล่ม 1 - 3 และมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมภาชนะพลาสติกบรรจุอาหารสำหรับเตาไมโครเวฟ มอก.2493 เล่ม 1 – 2” ขึ้น ในวันพุธที่ 30 พฤศจิกายน 2565 ณ ห้อง Mayfair A-B โรงแรม เดอะ เบอร์เคลียร์ ประตูน้ำ กรุงเทพฯ จึงขอเชิญชวนผู้ทำ และผู้นำเข้าสินค้าดังกล่าว สมัครเข้าร่วมการสัมมนาได้ที่ กลุ่มพัฒนาผู้ประกอบการด้านการมาตรฐาน กองส่งเสริมและพัฒนาด้านการมาตรฐาน สมอ. โทร. 0 2430 6833 ต่อ 2330 หรือสแกน QR Code เพื่อสมัครเข้าร่วมสัมมนาโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย” เลขาธิการ สมอ. กล่าวทิ้งท้าย
บทความยอดนิยม 10 อันดับ
- สรุปยอดขายรถยนต์ ครึ่งปีแรก 2022
- ภาพรวมอุตสาหกรรมโซลาร์เซลล์ของไทย
- สถานการณ์ชิปขาดตลาด 2022 จะสิ้นสุดเมื่อไหร่?
- 12 เทรนด์เทคโนโลยีมาแรงแห่งปี 2022
- 10 ตัวอย่างที่นำ 5G มาใช้งานได้อย่างน่าสนใจและประสบผลสำเร็จ
- เทคโนโลยีแห่ง G สู่ 5G เครือข่ายไร้สาย
- แบตเตอรี่ลิเธียมไอออนคืออะไร ตลาดจะก้าวไปในทางไหนในปี 2030?
- เทคโนโลยีสำหรับโลจิสติกส์ ทางเลือกสู่ทางรอด ปรับก่อนโดนเบียด
- นิยามใหม่ SME ใช้ “รายได้” เป็นตัวกำหนด
- FTA ไทย มีกี่ประเทศ พอหรือไม่ ทำไมต้องคิดเรื่อง CPTPP
อัปเดตข่าวทุกวันที่นี่ www.mreport.co.th
Line / Facebook / Twitter / YouTube @MreportTH