ก.อุตฯ เร่งออกมาตรฐานยานยนต์ไฟฟ้าเพิ่ม หนุนนโยบาย EV เต็มสูบ
บอร์ด สมอ. ไฟเขียวเพิ่มอีก 19 มาตรฐานยานยนต์ไฟฟ้า คาดประกาศใช้ภายในปีนี้ รองรับเทคโนโลยีวีทูจี (Vehicle to Grid - V2G) ให้รถยนต์อีวีเป็นแหล่งไฟฟ้าสำรอง
- ครม. ลุยสนับสนุนยานยนต์ไฟฟ้าจัดเต็มทุกมิติ เคาะแล้ว!! ลดภาษีนำเข้ารถยนต์ไฟฟ้า 100% และอื่น ๆ อีกเพียบ
- คาดการณ์มูลค่าตลาดชิ้นส่วนระบบไฟฟ้ายานยนต์ ปี 2030
- HORIZON PLUS บริษัทร่วมทุน ปตท.-ฟ็อกซ์คอนน์ ผุดโรงงานผลิตรถ EV พร้อมปล่อยสู่ตลาด ปี'67
วันที่ 7 มีนาคม 2565 นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า รัฐบาลได้ส่งเสริมให้ประเทศไทยก้าวสู่การเป็นฐานการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าและชิ้นส่วนที่สำคัญของโลก คณะกรรมการนโยบายยานยนต์ไฟฟ้าแห่งชาติ (บอร์ด EV) ที่มีท่านนายกรัฐมนตรี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นประธานได้กำหนดแนวทางการส่งเสริมยานยนต์ไฟฟ้า (EV) ซึ่งกระทรวงอุตสาหกรรมได้ขานรับนโยบายดังกล่าว โดยการจัดทำมาตรฐานยานยนต์ไฟฟ้าออกมาอย่างต่อเนื่อง และมีการประกาศใช้แล้วจำนวน 116 มาตรฐาน รวมทั้งส่งเสริมให้มีโครงสร้างพื้นฐานด้านการตรวจสอบรับรองที่มีความพร้อม เช่น ศูนย์ทดสอบยานยนต์และยางล้อแห่งชาติ (ATTRIC) ที่สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) อยู่ระหว่างดำเนินการก่อสร้าง เพื่อสนับสนุนนโยบายรัฐบาลด้าน EV ให้เกิดการผลิตและการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศ ให้เป็นไปตามเป้าหมายการผลิตและการใช้ยานยนต์ไร้มลพิษ หรือ Zero Emission Vehicle : ZEV ลดการใช้น้ำมัน ลดการปล่อยไอเสีย รวมทั้งลดฝุ่นจิ๋ว PM 2.5 ด้วย
นายจุลพงษ์ ทวีศรี รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ในฐานะประธานคณะกรรมการมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (กมอ.) กล่าวเพิ่มเติมว่า การประชุม กมอ. เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ได้มีมติเห็นชอบมาตรฐานยานยนต์ไฟฟ้าเพิ่มอีก 19 มาตรฐาน ได้แก่ มาตรฐานจักรยานยนต์ไฟฟ้า มาตรฐานระบบแบตเตอรี่ในรถยนต์ไฟฟ้า มาตรฐานระบบการสื่อสารระหว่างรถยนต์ไฟฟ้ากับโครงข่ายไฟฟ้า มาตรฐานระบบขับเคลื่อนรถยนต์ไฟฟ้า มาตรฐานระบบเบรกของรถจักรยานยนต์ไฟฟ้า และมาตรฐานวิธีทดสอบที่เกี่ยวข้องกับยานยนต์ไฟฟ้า เป็นต้น
- ก.อุตฯ ออกมาตรฐาน “ยานยนต์ไฟฟ้า-ตุ๊กตุ๊กไฟฟ้า-ยานยนต์อัจฉริยะ” รวดเดียว 33 มาตรฐาน
- แบตเตอรี่โซลิดสเตต สำคัญไฉน?
- ยอดขายรถยนต์ไฟฟ้า 2021 โตพรวด 109% เทสล่าครองเบอร์ 1
ด้าน นายบรรจง สุกรีฑา เลขาธิการสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) กล่าวเพิ่มเติมว่า ในปี 2565 สมอ. มีแผนจัดทำมาตรฐานอีกจำนวน 19 มาตรฐาน ได้แก่ มาตรฐานเรือไฟฟ้า ชิ้นส่วนสำหรับดัดแปลงรถจักรยานยนต์ที่ใช้น้ำมันเป็นรถจักรยานยนต์ไฟฟ้า ระบบจอดอัตโนมัติของรถยนต์ และระบบแบตเตอรี่ของรถจักรยานยนต์ไฟฟ้า เป็นต้น โดยจะเร่งดำเนินการออกมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อขับเคลื่อนนโยบายรัฐบาลด้านอีวีให้เป็นรูปธรรม สำหรับมาตรฐานยานยนต์ไฟฟ้าที่จัดทำแล้วเสร็จและผ่านความเห็นชอบจาก กมอ. เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา จำนวน 19 มาตรฐานนั้น อ้างอิงมาจากมาตรฐานระหว่างประเทศของ ISO ซึ่งมีข้อกำหนดครอบคลุมทั้งด้านความปลอดภัย ด้านมลพิษ ด้านเสียง และด้านการใช้พลังงาน รวมทั้งยังเป็นมาตรฐานที่รองรับเทคโนโลยีวีทูจี (Vehicle to Grid - V2G) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่สามารถเก็บพลังงานไฟฟ้าสำรองไว้ในแบตเตอรี่ยานยนต์ไฟฟ้า มีศักยภาพในการควบคุมกระแสไฟฟ้าให้ไหลเข้าออกจากแบตเตอรี่ได้อย่างอิสระ จึงช่วยลดค่าใช้จ่ายด้านพลังงานได้มากขึ้น
“นอกจากบอร์ด กมอ. ได้เห็นชอบมาตรฐานยานยนต์ไฟฟ้าแล้ว ยังได้เห็นชอบมาตรฐานอื่น ๆ อีก 37 มาตรฐาน รวมเป็น 56 มาตรฐาน เช่น มาตรฐานระบบตรวจจับการบุกรุกและการโจรกรรมในอาคาร มาตรฐานตัวเป่าผม เครื่องขยายสัญญาณ ไมโครโฟน หูฟังคาดศีรษะและหูฟังใส่หู ถ้วยกระดาษสำหรับเครื่องดื่ม กระดาษพิมพ์และเขียน และผงสีอัลทรามารีน เป็นต้น รวมทั้ง ได้เห็นชอบให้ เตาอบไมโครเวฟ และเหล็กกล้าคาร์บอนทรงแบนรีดร้อน สำหรับงานโครงสร้างเครื่องจักรกล เป็นสินค้าควบคุมอีกด้วย” เลขาธิการ สมอ. กล่าวทิ้งท้าย
บทความยอดนิยม 10 อันดับ
- 10 ตัวอย่างที่นำ 5G มาใช้งานได้อย่างน่าสนใจและประสบผลสำเร็จ
- เทคโนโลยีแห่ง G สู่ 5G เครือข่ายไร้สาย
- แบตเตอรี่ลิเธียมไอออนคืออะไร ตลาดจะก้าวไปในทางไหนในปี 2030?
- เทคโนโลยีสำหรับโลจิสติกส์ ทางเลือกสู่ทางรอด ปรับก่อนโดนเบียด
- นิยามใหม่ SME ใช้ “รายได้” เป็นตัวกำหนด
- ธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 ปี 2564
- กลยุทธ์การ PR และ Communication ในยุคดิจิทัล
- ปัญหาตู้คอนเทนเนอร์ขาดแคลน เจาะลึกตู้สินค้าหายไปไหน?
- เทรนด์การทำงานในอนาคต หลังไทยติดโควิด นานเกือบสองปี!
- FTA ไทย มีกี่ประเทศ พอหรือไม่ ทำไมต้องคิดเรื่อง CPTPP
อัปเดตข่าวทุกวันที่นี่ www.mreport.co.th
Line / Facebook / Twitter / YouTube @MreportTH