กนอ.ดึงความเชื่อมั่นเอกชน คาดปี 67 สมาร์ทปาร์คพร้อมเดินหน้ารับลงทุน
การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) มั่นใจนิคมอุตสาหกรรมสมาร์ทปาร์ค (Smart Park) สามารถเปิดดำเนินการได้ในปี 2567 ตามแผน ดึดดูดการลงทุนในกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย (New S-Curve) จัดสรรพื้นที่รองรับอุตสาหรรมการบินและโลจิสติกส์ การแพทย์ ดิจิทัล และหุ่นยนต์
วันที่ 7 กันยายน 2564 นายวีริศ อัมระปาล ผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) เปิดเผยว่า การลงทุนในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) ถือเป็นปัจจัยสำคัญในการกระตุ้นเศรษฐกิจให้ฟื้นตัวทั้งในระยะสั้นและระยะยาว กนอ.ได้เร่งเดินหน้าโครงการสำคัญ อาทิ โครงการนิคมอุตสาหกรรมสมาร์ทปาร์ค (Smart Park) ที่คาดว่าจะสามารถเปิดดำเนินการได้ในปี 2567 ตามแผนที่วางไว้ เพื่อดึงดูดการลงทุนในกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย (New S-Curve) แบ่งพื้นที่รองรับการลงทุน ดังนี้ อุตสาหกรรมการบินและโลจิสติกส์ 301.70 ไร่ อุตสาหกรรมการแพทย์ 182.84 ไร่ อุตสาหกรรมดิจิทัล 163.93 ไร่ และอุตสาหกรรมหุ่นยนต์ 75.17 ไร่ โดยผลประโยชน์ทางตรงที่จะคาดว่าเกิดขึ้นหลังเริ่มมีการลงทุนในนิคมอุตสาหกรรมสมาร์ทปาร์ค (Smart Park) คือ การเติบโตทางเศรษฐกิจสามารถสร้างมูลค่าของจีดีพีในประเทศต่อปีอยู่ที่ 53,000 ล้านบาท เกิดการจ้างงาน ในระยะก่อสร้างประมาณ 200 คน ส่งผลให้เกิดเงินหมุนเวียนในชุมชนประมาณ 24 ล้านบาทต่อปี ในระยะดำเนินการคาดว่าจะมีการจ้างงานประมาณ 7,500 คน ส่งผลให้มีเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจในพื้นที่ประมาณ 1,400 ล้านบาทต่อปี
ขณะเดียวกัน กนอ. ยังได้เดินหน้าโครงการพัฒนาท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด ระยะที่ 3 ที่มีการสัมมนาทดสอบความสนใจของภาคเอกชน (Market Sounding) เมื่อเดือน ส.ค.2564 ที่ผ่านมา และจะเปิดดำเนินการตามแผนในปี 2569 โดยโครงการดังกล่าวจะเป็นศูนย์กลางการคมนาคมขนส่ง และโลจิสติกส์ทางน้ำของอาเซียนสู่เศรษฐกิจนานาชาติ เพื่อเป็นประตูการค้าเชื่อมโยงกับภูมิภาค และสนับสนุนการลงทุนอุตสาหกรรมหลักของประเทศ มีความสามารถในการรองรับการนำเข้าก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG) เพื่อเป็นแหล่งพลังงานที่สำคัญต่อการขับเคลื่อนระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก ตลอดจนสนับสนุนการพัฒนาพื้นที่และท้องถิ่น เกิดการจ้างงาน สร้างเศรษฐกิจชุมชน และเพิ่มรายได้แก่ประชาชนในพื้นที่
- กนอ. คุย ญี่ปุ่นเล็งนิคมฯ สมาร์ทปาร์ค อีอีซี ตั้งโรงงานผลิตไฟฟ้าทางเลือก-โซลาร์
- อนุมัติแล้ว! นิคมฉะเชิงเทรา บลูเทค ซิตี้ รับยานยนต์สมัยใหม่-อุปกรณ์กักเก็บพลังงาน ดึงลงทุน EEC
- ท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด เฟส 3 (ช่วงที่ 2) เดินหน้าโครงการฯ เปิดรับฟังความเห็น เตรียมคัดเลือกเอกชนร่วมทุน
นายวีริศ กล่าวด้วยว่า ในปี 2564 มีนิคมอุตสาหกรรมร่วมดำเนินงานแห่งใหม่ที่จะจัดตั้งในพื้นที่อีอีซีทั้งสิ้น 4 แห่ง ได้แก่ 1.นิคมอุตสาหกรรมเอ็กโกระยอง จ.ระยอง พื้นที่ 621 ไร่ ขณะนี้อยู่ระหว่างพัฒนาโครงการ 2.นิคมอุตสาหกรรมโรจนะหนองใหญ่ จ.ชลบุรี พื้นที่ 1,987 ไร่ ขณะนี้อยู่ระหว่างพัฒนาโครงการ 3.นิคมอุตสาหกรรมเอเพ็กซ์กรีน อินดัสเตรียล เอสเตท จ.ฉะเชิงเทรา พื้นที่ 2,191 ไร่ ขณะนี้อยู่ระหว่างรอเซ็นสัญญาร่วมดำเนินงานกับ กนอ. และ 4.นิคมอุตสาหกรรมฉะเชิงเทรา บลูเทคซิตี้ จ.ฉะเชิงเทรา พื้นที่ 1,181 ไร่ ขณะนี้อยู่ระหว่างรอเซ็นสัญญาร่วมดำเนินงานกับ กนอ. โดยนิคมอุตสาหกรรมแห่งใหม่จะดึงดูดการลงทุนในกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย อาทิ ยานยนต์และชิ้นส่วน เหล็กและโลหะภัณฑ์ อิเล็กทรอนิกส์ และปิโตรเคมี เป็นต้น
“การลงทุนในพื้นที่อีอีซี จะทำให้เกิดเม็ดเงินลงทุนที่เข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ และเกิดการจ้างงานตามมาจำนวนมาก โดยปัจจุบันมีนิคมอุตสาหกรรมที่ตั้งอยู่ในพื้นที่อีอีซีทั้ง 3 จังหวัด ได้แก่ ชลบุรี ระยอง และฉะเชิงเทรา 40 แห่ง มีเม็ดเงินลงทุนในพื้นที่กว่า 2.04 ล้านล้านบาท ขณะเดียวกัน กนอ.ได้เตรียมความพร้อมด้านสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานไว้รองรับการขยายตัวด้วยเช่นเดียวกัน เพื่อให้การเติบโตด้านอุตสาหกรรมอยู่คู่กับชุมชนและสังคมอย่างยั่งยืน” นายวีริศ กล่าวปิดท้าย
#สมาร์ทปาร์ค #โครงการ จัดตั้ง นิคมอุตสาหกรรม ส มา ร์ ท ปาร์ค นิคมอุตสาหกรรม Smart Park #โครงการนิคมอุตสาหกรรม Smart Park #โครงการพัฒนานิคมอุตสาหกรรม Smart Park #โครงการ Smart Park ระยอง #ส มา ร์ ท ปาร์ค ระยอง #Smart Park EEC #มาบตาพุด เฟส 3 #มาบตาพุด เฟส 3 eia #ท่าเรือ มาบตาพุด เฟส 3 #ข่าว มาบตาพุด เฟส 3 #ประมูล ท่าเรือ มาบตาพุด เฟส 3 #โครงการ พัฒนา ท่าเรือ มาบตาพุด เฟส 3 #มาบตาพุด ระยอง #ท่าเรือมาบตาพุด #EEC มาบตาพุด #ท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด #ก่อสร้าง ท่าเรือ มาบตาพุด #ข้อมูล ท่าเรือ มาบตาพุด #กนอ. #การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
บทความยอดนิยม 10 อันดับ
- เทคโนโลยีแห่ง G สู่ 5G เครือข่ายไร้สาย
- บทเรียน 'หมิงตี้ เคมีคอล' สู่มาตรการป้องกันไฟไหม้โรงงาน ระยะสั้น-ยาว
- เทคโนโลยีสำหรับโลจิสติกส์ ทางเลือกสู่ทางรอด ปรับก่อนโดนเบียด
- ธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 ปี 2564
- กลยุทธ์การ PR และ Communication ในยุคดิจิทัล
- นิยามใหม่ SME ใช้ “รายได้” เป็นตัวกำหนด
- แบตเตอรี่ลิเธียมไอออนคืออะไร ตลาดจะก้าวไปในทางไหนในปี 2030?
- อุตสาหกรรมรถยนต์และชิ้นส่วนรถยนต์ไทย ปี 2564
- ปัญหาตู้คอนเทนเนอร์ขาดแคลน เจาะลึกตู้สินค้าหายไปไหน?
- อุตสาหกรรม 4.0 การผลิตแห่งอนาคต
อัปเดตข่าวทุกวันที่นี่ www.mreport.co.th
Line / Facebook / Twitter / YouTube @MreportTH