บีโอไอ เคาะ 3 มาตรการส่งเสริมลงทุน วัคซีนโควิด-ฮับผลิตยานยนต์ไฟฟ้า-สิ่งแวดล้อม
บอร์ดบีโอไอ (BOI) เห็นชอบ 3 มาตรการสำคัญส่งเสริมการลงทุน พัฒนาวัคซีนและยา ลดผลกระทบโควิด กระตุ้นไทยเป็นฮับผลิตยานยนต์ไฟฟ้า และลงทุนเพื่อสิ่งแวดล้อม เพื่อเตรียมพร้อมรองรับการเติบโตทางเศรษฐกิจภายหลังสถานการณ์โควิดคลี่คลาย
Advertisement | |
วันที่ 6 กันยายน 2564 นางสาวดวงใจ อัศวจินตจิตร์ เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน หรือ บีโอไอ เปิดเผยว่า วันนี้ที่ประชุมคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ซึ่งมี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ได้พิจารณาเห็นชอบมาตรการสำคัญ 3 เรื่อง
1. สนับสนุนการพัฒนาวัคซีนและ/หรือยาในประเทศและการบรรเทาผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ซึ่งประกอบด้วย 2 เรื่อง ดังนี้
1) ผู้ประกอบการที่อยู่ระหว่างได้รับสิทธิประโยชน์ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลสามารถนำเงินสนับสนุนแก่โครงการวิจัยและพัฒนาวัคซีนและยาของสถาบันการศึกษา สถาบันวิจัย หรือหน่วยงานภาครัฐมาขอสิทธิประโยชน์ตามคุณค่าของโครงการ (Merit-based Incentives) ได้ กรณีที่เงินสนับสนุนมีมูลค่าอย่างน้อยร้อยละ 1 ของยอดขายของโครงการใน 3 ปีแรกรวมกัน หรืออย่างน้อย 200 ล้านบาท จะได้รับสิทธิประโยชน์ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเพิ่มอีก 1-3 ปี และเพิ่มวงเงินยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลในสัดส่วนร้อยละ 100 ของค่าใช้จ่าย ในกรณีที่ค่าใช้จ่ายไม่ถึงเกณฑ์ขั้นต่ำ จะเพิ่มวงเงินยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลในสัดส่วนร้อยละ 100 ของค่าใช้จ่ายเท่านั้น
2) ผ่อนปรนเงื่อนไขและขยายเวลาการดำเนินการที่เกี่ยวข้องกับการได้สิทธิบีโอไอ ได้แก่ การผ่อนผันขยายเวลาการดำเนินการให้ได้รับการรับรองมาตรฐานสากล เช่น ISO 9002, CMMI เป็นต้น แก่ผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากการตรวจประเมินที่ล่าช้า หรือไม่สามารถตรวจประเมินในสถานประกอบการได้ โดยขยายเวลาออกไปอีก 6 เดือน นับจากวันครบกำหนดการดำเนินการระหว่างวันที่ 1 เมษายน - 31 ธันวาคม 2564 และการผ่อนผันการขออนุญาตหยุดดำเนินกิจการชั่วคราวเป็นระยะเวลาเกินกว่า 2 เดือน ระหว่างวันที่ 1 เมษายน - 31 ธันวาคม 2564 ทั้งนี้ สามารถกรอกข้อมูลผ่านระบบออนไลน์โดยไม่ต้องยื่นขออนุญาตจากบีโอไอ
- บีโอไอเร่งสร้างสภาพแวดล้อมเอื้อลงทุน หนุนไทยสู่ศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติ
- BOI อนุมัติลงทุนกว่า 40 โครงการอุตสาหกรรมการแพทย์ มูลค่า 1.2 หมื่นล้านบาท
- บีโอไอ อัดมาตรการกระตุ้นลงทุนส่งท้ายปี 2563 หนุนสังคมสูงอายุ ฟื้นอีวี ชูไทยฐานผลิตในภูมิภาค
2. กระตุ้นไทยเป็นศูนย์กลางการผลิตยานยนต์ไฟฟ้า
ที่ประชุมฯ เห็นชอบการปรับปรุงนโยบายส่งเสริมการลงทุนการผลิตยานพาหนะไฟฟ้า เพื่อสนับสนุนอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าซึ่งเป็นอุตสาหกรรมเป้าหมายของประเทศ โดยขยายขอบข่ายของประเภทกิจการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่ (BEV) ทั้งรถยนต์ไฟฟ้า รถสามล้อไฟฟ้า และรถโดยสารไฟฟ้าและรถบรรทุกไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่ ให้ครอบคลุมการผลิตแพลตฟอร์มสำหรับยานยนต์ไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่ (BEV Platform) ที่สามารถนำไปใช้งานร่วมกันได้ระหว่างยานยนต์ไฟฟ้าหลายแบรนด์และรุ่นที่แตกต่างกัน ซึ่งจะช่วยลดจำนวนวัตถุดิบที่ต้องใช้ ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายในการผลิตและพัฒนายานยนต์ไฟฟ้ารุ่นใหม่ๆ เข้าสู่ตลาด ก่อให้เกิดการประหยัดต่อขนาด (Economy of Scale) โดยแพลตฟอร์มต้องประกอบด้วย Energy Storage System, Charging Module และ Front & Rear Axle Module พร้อมกันนี้ ยังเปิดให้การส่งเสริมการลงทุนในกิจการผลิตรถจักรยานไฟฟ้า (Electric Bicycle หรือ E-BIKE) โดยให้ได้รับสิทธิประโยชน์ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 3 ปี และหากมีการผลิต Traction Motor และ/หรือการผลิตโครงรถจักรยานไฟฟ้าจากวัสดุน้ำหนักเบาภายใน 3 ปี นับจากวันออกบัตรส่งเสริม จะได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเพิ่มเติมอีกกรณีละ 1 ปี นอกจากนี้ ยังขอสิทธิประโยชน์เพิ่มเติมหากมีการวิจัยพัฒนาได้ด้วย
- ปตท. ผนึก ฟ็อกซ์คอนน์ ร่วมทุนกว่า 1 พันล้านเหรียญสหรัฐ ดันไทยขึ้น 'ฮับผลิตยานยนต์ไฟฟ้าอาเซียน'
- ชมคลิป เปิดแผนยุทธศาสตร์ยานยนต์ไฟฟ้าไทย จะเกิดอะไรขึ้นอีก 10 ปีข้างหน้า
- บอร์ดอีวี ตั้งเป้าปี 2578 ผลิตยานยนต์ไฟฟ้า 18.4 ล้านคัน
3. ขับเคลื่อนการลงทุนเพื่อสิ่งแวดล้อม
ที่ประชุมฯ เห็นชอบมาตรการส่งเสริมการลงทุนเพื่อการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน ซึ่งจะมีส่วนช่วยสนับสนุนการขับเคลื่อนและพัฒนาประเทศด้วยโมเดลเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (BCG) ดังนี้
1) ขยายขอบข่ายการสนับสนุนตามมาตรการส่งเสริมการลงทุนเศรษฐกิจฐานรากให้ครอบคลุมถึงการสนับสนุนองค์กรท้องถิ่นในการพัฒนากิจการเกษตรที่ยั่งยืน เช่น การปลูกข้าวแบบปล่อยมีเทนต่ำ เป็นต้น นอกจากนี้ได้ขยายระยะเวลาการยื่นขอรับการส่งเสริมตามมาตรการเศรษฐกิจฐานรากออกไปอีก 1 ปี จากเดิมจะสิ้นสุดในปี 2564 เป็นภายในวันทำการสุดท้ายของปี 2565
2) เพิ่มขอบข่ายมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพ ภายใต้มาตรการย่อยด้านการประหยัดพลังงาน การใช้พลังงานทดแทน หรือลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ให้ครอบคลุมกรณีการปรับเปลี่ยนเครื่องจักรเพื่อลดปริมาณ
การปล่อยก๊าซเรือนกระจก เช่น การปรับเปลี่ยนมาใช้สารทำความเย็นที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในระบบทำความเย็นของโรงงานและห้องแช่แข็ง เป็นต้น โดยได้รับสิทธิประโยชน์ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 3 ปี สัดส่วนร้อยละ 50
ของเงินลงทุน
3) การปรับปรุงประเภทกิจการ สิทธิและประโยชน์ ใน 2 กิจการ คือ กิจการผลิตผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมี ในกรณีใช้เทคโนโลยีการดักจับ การใช้ประโยชน์และการกักเก็บคาร์บอน (Carbon Capture, Storage and Utilization: CCSU) โดยให้ได้รับสิทธิประโยชน์ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 8 ปี และกิจการห้องเย็นหรือกิจการห้องเย็นและขนส่งห้องเย็น ในกรณีใช้สารทำความเย็นธรรมชาติ จะได้รับสิทธิประโยชน์ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 3 ปี
4) เปิดให้ส่งเสริมการลงทุนกิจการโรงแยกก๊าซธรรมชาติ ที่ใช้เทคโนโลยีการดักจับ การใช้ประโยชน์ และการกักเก็บคาร์บอน โดยให้ได้รับสิทธิประโยชน์ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 8 ปี
- “ลดคาร์บอน” คลื่นลูกใหม่ ท้าทายธุรกิจโลก
- ชมคลิป ลดคาร์บอน ไม่ใช่แค่โลกสวย แต่เป็นต้นทุนที่เราต้องแบกรับ
- “ลดคาร์บอน” คลื่นลูกใหญ่ที่กำลังท้าทาย “ผู้ผลิตเครื่องจักรกล”
#สิทธิประโยชน์ boi 2564 #การส่งเสริมการลงทุน #boi สิทธิประโยชน์ทางภาษี #อุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า #วัคซีนโควิด #ผลกระทบจากโควิด 19 ต่อธุรกิจ #สิ่งแวดล้อม #BOI #BOI Thailand #บีโอไอ #บอร์ดบีโอไอ #Investment #ลงทุน #ส่งเสริมการลงทุน #สิทธิประโยชน์ boi 2564 #สิทธิBOI #BOI สิทธิประโยชน์ทางภาษี ประโยชน์
บทความยอดนิยม 10 อันดับ
- เทคโนโลยีแห่ง G สู่ 5G เครือข่ายไร้สาย
- บทเรียน 'หมิงตี้ เคมีคอล' สู่มาตรการป้องกันไฟไหม้โรงงาน ระยะสั้น-ยาว
- เทคโนโลยีสำหรับโลจิสติกส์ ทางเลือกสู่ทางรอด ปรับก่อนโดนเบียด
- ธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 ปี 2564
- กลยุทธ์การ PR และ Communication ในยุคดิจิทัล
- นิยามใหม่ SME ใช้ “รายได้” เป็นตัวกำหนด
- แบตเตอรี่ลิเธียมไอออนคืออะไร ตลาดจะก้าวไปในทางไหนในปี 2030?
- อุตสาหกรรมรถยนต์และชิ้นส่วนรถยนต์ไทย ปี 2564
- ปัญหาตู้คอนเทนเนอร์ขาดแคลน เจาะลึกตู้สินค้าหายไปไหน?
- อุตสาหกรรม 4.0 การผลิตแห่งอนาคต
อัปเดตข่าวทุกวันที่นี่ www.mreport.co.th
Line / Facebook / Twitter / YouTube @MreportTH