รายงานความก้าวหน้าโครงการ EEC ในการประชุมคณะอนุกรรมการบริหารฯ (กบอ.) ครั้งที่ 4/2565
อีอีซี เผยความคืบหน้าโครงการปี 2565 ก้าวสู่ฐานผลิตยานยนต์ไฟฟ้า EV แห่งภูมิภาค เผยวางระบบ 5G ครอบคลุมพื้นที่ 100% เพื่อสร้าง Smart Factory ไม่น้อยกว่า 10,000 รง. ภายใน 5 ปี
Advertisement | |
วันที่ 9 ธันวาคม 2565 รายงานข่าวจากการประชุมคณะอนุกรรมการบริหารการพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กบอ.) ครั้งที่ 4/2565 โดยมี นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เป็นประธาน ได้รับทราบ และพิจารณาความก้าวหน้า การดำเนินงานในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) มีรายละเอียดที่สำคัญ ดังนี้
1. อีอีซี ต้นแบบการวางฐานเศรษฐกิจไทยที่เข้มแข็ง ประโยชน์ตรงถึงประชาชนคนธรรมดา
ที่ประชุม กบอ. รับทราบ ความก้าวหน้าโครงการอีอีซี ในปี 2565 ซึ่งได้ประสบผลสำเร็จต่อเนื่อง จากการสนับสนุนของรัฐบาล การบูรณาการร่วมกับภาคเอกชน ท้องถิ่น และประชาชน โดยโครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานทั้ง 4 โครงการหลัก (รถไฟความเร็วสูงฯ สนามบินอู่ตะเภาฯ ท่าเรือมาบตาพุด และแหลมฉบัง) ได้ทยอยเข้าสู่ขั้นตอนก่อสร้างแล้ว การผลักดันและเร่งรัดการลงทุนระยะที่ 1 (2561 – 2565) เกิดการอนุมัติงบลงทุนสูงถึง 1.92 ล้านล้านบาท เกินเป้าหมาย 1.7 ล้านล้านบาท สามารถดึงการลงทุนจากเอกชนรายใหญ่ เช่น บริษัท โซนี่ พิคเจอร์ และอเมซอน ฟอลส์ เปิดสวนน้ำโคลัมเบีย อควาเวิร์สแห่งแรกของโลก ดึงดูดนักท่องเที่ยวได้ 20 ล้านคน เกิดมูลค่าเศรษฐกิจกว่า 10,000 ล้านบาท
พื้นที่ อีอีซี ก้าวสู่ที่ตั้งและฐานผลิตยานยนต์ไฟฟ้า EV แห่งภูมิภาค โดยมี บริษัท เกรท วอลล์ มอเตอร์ ลงทุน 22,000 ล้านบาท บริษัท บีวายดี (BYD) ลงทุนรวม 17,891 ล้านบาท บริษัท EVlomo ร่วมทุนโครงการผลิตแบตเตอรี่ใหญ่สุดในอาเซียน ลงทุน 33,000 ล้านบาท บริษัท ฮอริซัน พลัส (ปตท.ร่วม Foxconn) เงินลงทุนกว่า 36,100 ล้านบาท ซึ่งคาดว่าจะช่วยเพิ่มตำแหน่งงานไม่น้อยกว่า 6,000 ตำแหน่ง นอกจากนี้ อีอีซี ได้เร่งเชิญชวนและพบปะนักลงทุนต่อเนื่อง อาทิ การจัดเวทีประชุมไทย-ซาอุฯ ซึ่งคาดว่าจะเกิดการลงทุนสูงถึง 300,000 ล้านบาท การเชิญชวนกลุ่มนักธุรกิจเยอรมนี สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น เพื่อผลักดันให้เกิดการลงทุนโดยเฉพาะในกลุ่มธุรกิจ BCG โดยอีอีซี ตั้งเป้าหมายเกิดการลงทุนในระยะที่ 2 ให้ได้ 2.2 ล้านล้านบาทใน 5 ปี (2566 – 2570) มีเงินลงทุนประมาณปีละ 400,000 - 500,000 ล้านบาท ภาพรวมเศรษฐกิจอีอีซีจะขยายตัวได้ 7-9% ต่อปี และทำให้ประเทศไทยขยายตัวได้ประมาณ 5% ตั้งแต่ปี 2567 เป็นต้นไป
การเพิ่มประโยชน์สัญญาณ 5G ที่ครอบคลุมพื้นที่ อีอีซี 100% เพื่อขับเคลื่อนระบบ Automation ในโรงงานและธุรกิจช่วยลดต้นทุนได้กว่า 30% ตั้งเป้าจะสามารถปรับสู่โรงงานอัจฉริยะไม่น้อยกว่า 10,000 โรงงานภายใน 5 ปี การพัฒนาระดับชุมชน ซึ่งได้เกิดชุมชนอัจฉริยะต้นแบบที่บ้านฉาง ต่อยอดไปถึงโรงพยาบาล ระบบเกษตรอัจฉริยะ เป็นต้น รวมถึงการพัฒนาบุคลากร ที่สร้างความร่วมมือกับภาคเอกชนชั้นนำ เช่น หัวเว่ย มิตซูบิชิ ซิสโก้ แพลนเน็ตคอม ตั้งเป้าหมายพัฒนาบุคลากรดิจิทัลให้ได้ 30,000 คน ในเวลา 3 ปี และในภาพใหญ่อีอีซี ได้มุ่งมั่นสร้างบุคลากรแนวคิดผลิตคนตรงความต้องการ (EEC Demand driven) ร่วมกับ 3 กระทรวง (ศึกษาธิการ/แรงงาน/อว.) คาดว่าในปี 2566 จะสามารถผลิตได้ประมาณ 151,062 คน และจะดำเนินการให้ได้ตามเป้าหมาย 475,668 คน
นอกจากนี้ อีอีซี ยังได้บูรณาการลงทุนร่วมกับทุกภาคส่วน สร้างผลประโยชน์ตรงถึงคนไทย การบริหารจัดการสาธารณูปโภค น้ำ ไฟฟ้า ขยะ ให้ทันสมัยเพียงพอ และใส่ใจสิ่งแวดล้อม การยกระดับเศรษฐกิจชุมชน นำเทคโนโลยี ความรู้ สนับสนุนด้านการเงิน ให้การขายผลิตภัณฑ์ชุมชน OTOP ตรงความต้องการตลาด และสร้างรายได้เพิ่มขึ้นให้ภาคการท่องเที่ยว เกษตรกรและชุมชน รวมถึงโครงการสินเชื่อพ่อค้า-แม่ขาย และ SMEs เพื่อบรรเทาหลังสถานการณ์โควิด-19 โดยร่วมกับ 7 สถาบันการเงิน อาทิ ธนาคารออมสิน กรุงไทย บสย. ธกส. ซึ่งสนับสนุนแล้ว 51,420 ราย เป็นเงินช่วยเหลือประมาณ 34,000 ล้านบาท เป็นต้น
- อีอีซี รับคณะหอการค้า ซาอุฯ สร้างโอกาสลงทุนอุตสาหกรรมเป้าหมาย
- EEC เชื่อมนักลงทุนเยอรมัน ร่วมลงทุนอุตสาหกรรม BCG
- 4 ปี EEC เร็วกว่าเป้า ต่างชาติลงทุน 1.7 ล้านลบ. โครงสร้างพื้นฐานหลักครบ
2. ยกระดับโรงพยาบาลปลวกแดง 2 รักษาได้ทันการ ปลอดภัย มีคุณภาพ ลดการเดินทางออกนอกพื้นที่
ที่ประชุม กบอ. รับทราบ โครงการยกระดับโรงพยาบาลปลวกแดง 2 ซึ่งเป็นหนึ่งในโครงการ EEC Project List มีกระทรวงสาธารณสุข และ สกพอ. เป็นหน่วยงานหลักร่วมกันดำเนินการ โดยจะดำเนินการในรูปแบบการลงทุนรัฐ
ร่วมเอกชน (PPP) ซึ่งจะเป็นต้นแบบการลงทุนขยายโรงพยาบาลของรัฐโดยความร่วมมือจากเอกชน พัฒนาให้เป็นโรงพยาบาลทั่วไปขนาดเล็ก (M1) รองรับได้ 120/200 เตียง และจะช่วยแก้ข้อจำกัดด้านงบประมาณจากกระทรวงสาธารณสุข โดยจะเป็นโรงพยาบาลที่มีมาตรฐาน คุณสมบัติรองรับผู้ประกันตน ไม่ต่ำกว่า 200,000 คนในอำเภอปลวกแดง และเป็นโรงพยาบาลคู่สัญญาประกันสังคม โดยประชาชน ที่อยู่อาศัย และทำงานในพื้นที่อำเภอปลวกแดง จังหวัดระยอง จะได้รับบริการสาธารณสุขในระดับมาตรฐาน ผู้ป่วยจะได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที สะดวกปลอดภัย และเพื่อลดการเดินทางไปรักษาพยาบาลนอกพื้นที่
โดยแผนการดำเนินงานที่สำคัญต่อไป จะเตรียมเสนอให้ที่ประชุม กพอ. พิจารณาเห็นชอบในหลักการโครงการ ฯ และคาดว่าจะประกาศเชิญชวนการคัดเลือกเอกชน ได้ในช่วงกลางปี 2566 และคาดว่าจะสามารถประกาศผลการคัดเลือก พร้อมลงนามสัญญาร่วมลงทุนกับภาคเอกชน เพื่อยกระดับโรงพยาบาลปลวกแดง 2 ได้ในช่วงปลายปี 2566
- รถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน คืบหน้า เตรียมก่อสร้าง concrete yard ยันพร้อมเปิดบริการปี'68
- EEC vs. Eastern Seaboard เหมือน / ต่างกัน อย่างไร
- ถอดรหัสอีอีซี เชื่อมโลก ให้ไทยแล่น
บทความยอดนิยม 10 อันดับ
- สรุปยอดขายรถยนต์ ครึ่งปีแรก 2022
- ภาพรวมอุตสาหกรรมโซลาร์เซลล์ของไทย
- สถานการณ์ชิปขาดตลาด 2022 จะสิ้นสุดเมื่อไหร่?
- 12 เทรนด์เทคโนโลยีมาแรงแห่งปี 2022
- 10 ตัวอย่างที่นำ 5G มาใช้งานได้อย่างน่าสนใจและประสบผลสำเร็จ
- เทคโนโลยีแห่ง G สู่ 5G เครือข่ายไร้สาย
- แบตเตอรี่ลิเธียมไอออนคืออะไร ตลาดจะก้าวไปในทางไหนในปี 2030?
- เทคโนโลยีสำหรับโลจิสติกส์ ทางเลือกสู่ทางรอด ปรับก่อนโดนเบียด
- นิยามใหม่ SME ใช้ “รายได้” เป็นตัวกำหนด
- FTA ไทย มีกี่ประเทศ พอหรือไม่ ทำไมต้องคิดเรื่อง CPTPP
อัปเดตข่าวทุกวันที่นี่ www.mreport.co.th
Line / Facebook / Twitter / YouTube @MreportTH