มาตรฐานการติดตั้ง EV Charger

มาตรฐานการติดตั้ง EV Charger สำหรับรถอีวี ต้องศึกษาความปลอดภัยของระบบไฟฟ้า

อัปเดตล่าสุด 8 เม.ย. 2564
  • Share :
  • 3,692 Reads   

การไฟฟ้านครหลวง (MEA) ประกาศเตือนผู้ประกอบการและผู้ใช้ไฟฟ้าทั่วไปที่จะขอติดตั้ง EV Charger ต้องศึกษาข้อกำหนดมาตรฐานความปลอดภัยของระบบไฟฟ้าสำหรับยานยนต์ไฟฟ้าทุกประเภท ก่อนติดตั้ง เพื่อความปลอดภัย

Advertisement

เมื่อวันที่ 5 เมษายน 2564  นายจุมภฎ หิมะเจริญ ผู้อำนวยการฝ่ายสื่อสารองค์กร การไฟฟ้านครหลวง หรือ MEA กล่าวว่า MEA ในฐานะหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ เป็นผู้นำการขับเคลื่อนการใช้งานยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย มุ่งมั่นขับเคลื่อนวิสัยทัศน์พลังงานเพื่อวิถีชีวิตเมืองมหานคร พร้อมส่งเสริมการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าและพลังงานทดแทนที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม MEA มีความห่วงใยผู้ใช้ไฟฟ้าที่จะขอติดตั้ง EV Charger กำหนดมาตรฐานความปลอดภัยของระบบไฟฟ้าสำหรับ EV มาตรฐานการติดตั้งเครื่องอัดประจุไฟฟ้าสำหรับสถานีอัดประจุไฟฟ้า มาตรฐานการติดตั้งเครื่องอัดประจุไฟฟ้าสำหรับสถานีชาร์จเรือไฟฟ้า ข้อกำหนดการเชื่อมต่อและติดตั้งทางไฟฟ้าสำหรับผู้ประกอบการสถานีอัดประจุไฟฟ้าสำหรับ EV และมาตรฐานการติดตั้งเครื่องอัดประจุไฟฟ้าภายในบ้านที่อยู่อาศัย ทั้งแบบเต้ารับสำหรับสายชาร์จแบบพกพา และเครื่องชาร์จแบบติดผนัง เพื่อความปลอดภัยจะต้องผ่านการตรวจสอบโดยช่างผู้ชำนาญโดยเฉพาะ การขอเพิ่มขนาดมิเตอร์ไฟฟ้า การติดตั้งสายเมนวงจร ต้องติดตั้งอุปรณ์ควบคุมไฟฟ้า อุปกรณ์ป้องกันกระแสเกินไฟฟ้า และหลักดินวงชาร์จ EV รวมถึงการติดตั้งเครื่องชาร์จไฟแบบติดผนัง (Wall Mounted Charger) และเต้ารับสำหรับสายชาร์จแบบพกพา (EV Socket-Outlet) ระบบวงจรไฟฟ้าต้องออกแบบเพื่อรองรับกับเครื่องชาร์จไฟยานยนต์ไฟฟ้าตามมาตรฐานและความปลอดภัย

ปัจจุบัน MEA ดำเนินการวิจัยและพัฒนาใช้งานยานยนต์ไฟฟ้าภายในองค์กรอย่างจริงจัง ในโครงการ MEA EV Car Sharing จำนวน 47 คัน และกำลังพัฒนาทดสอบการวิ่งรถบัสโดยสารไฟฟ้า E-bus ของ MEA รวมทั้งมีแผนในการนำรถจักรยานยนต์ไฟฟ้า (e- Motorbike) และ รถตุ๊กตุ๊กไฟฟ้า (E-Tuk Tuk) เพื่อใช้ในกิจการสนองตอบนโยบายขับเคลื่อนการใช้งานยานยนต์ไฟฟ้า ลดการสร้างมลภาวะอันเป็นสาเหตุสำคัญของฝุ่น PM2.5 นอกจากนี้ MEA พัฒนานวัตกรรมต่อยอดให้บริการสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า 14 แห่ง ประกอบด้วย ที่ทำการไฟฟ้านครหลวงเขตต่าง ๆ ศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ และที่บริเวณ 7-Eleven ทั้ง 2 สาขา ครอบคลุมทั้งพื้นที่กรุงเทพมหานคร นนทบุรี และสมุทรปราการ พร้อมรองรับการใช้งานสถานีชาร์จได้ทั่วประเทศ ผ่าน MEA EV Application เพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้ใช้ยานยนต์ไฟฟ้ามากยิ่งขึ้น ดาวน์โหลดใช้งานฟรี คลิก https://onelink.to/meaev

ทั้งนี้ ผู้ใช้ไฟฟ้าสามารถศึกษามาตรฐานความปลอดภัยของระบบไฟฟ้าสำหรับ EV ได้ที่ https://www.mea.or.th/profile/3361/3440 และขอใช้บริการออกแบบและติดตั้งเครื่องชาร์จไฟยานยนต์ไฟฟ้าภายในที่อยู่อาศัยที่ได้มาตรฐานความปลอดภัยของ MEA ได้ที่ ฝ่ายธุรกิจบริการและคุณภาพไฟฟ้า โทร. 0 2476 5666-7 ระหว่างเวลา 07.30-15.30 น. ในวันเวลาทำการ หรือ MEA Call Center 1130 รวมถึงแจ้งผ่านช่องทางโซเชียลมีเดียต่าง ๆ ได้แก่ Facebook : การไฟฟ้านครหลวง MEA, Line : MEA Connect, Twitter: @mea_news, และศูนย์บริการข้อมูลผู้ใช้ไฟฟ้าการไฟฟ้านครหลวง MEA Call Center 1130 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง

อ่านต่อ: ฟิลิปปินส์ไฟเขียว อนุมัติลงทุน “ฐานการผลิตแท่นชาร์จรถไฟฟ้าความเร็วสูง” หวังขึ้น “ฮับผลิตชิ้นส่วนรถอีวี”