ก.อุตฯ ต่อมาตรการ Green Tax Expense ลดหย่อนภาษี "พลาสติกที่ย่อยสลายได้" 1.25 เท่า ในปี 2565-2567
กระทรวงอุตสาหกรรมร่วมกับกระทรวงการคลัง เดินหน้าขับเคลื่อนมาตรการกระตุ้นใช้พลาสติกย่อยสลายได้ทางชีวภาพ (Green Tax Expense) ต่อเนื่อง พร้อมออกใบรับรองผลิตภัณฑ์ ชูสิทธิประโยชน์ใช้ลดหย่อนภาษีเงินได้ 1.25 เท่า หวังช่วยกระตุ้นภาคเอกชนหันมาใช้พลาสติกย่อยสลายฯ มากขึ้น ตอบรับโมเดลเศรษฐกิจสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน
วันที่ 9 ธันวาคม 2565 นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) เปิดเผยว่า กระทรวงอุตสาหกรรมร่วมกับกระทรวงการคลัง จัดทำมาตรการกระตุ้นการใช้พลาสติกที่ย่อยสลายได้ทางชีวภาพ (Green Tax Expense) อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถนำรายจ่ายที่ใช้ในการซื้อผลิตภัณฑ์พลาสติกที่ย่อยสลายได้ทางชีวภาพมาหักลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็นจำนวน 1.25 เท่าของค่าใช้จ่ายที่ได้จ่ายไป ในการขอรับการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลในระหว่างปี 2565-2567 โดยจะต้องซื้อผลิตภัณฑ์พลาสติกที่ย่อยสลายได้ทางชีวภาพจากผู้ผลิตที่ได้รับใบรับรองผลิตภัณฑ์พลาสติกที่ย่อยสลายได้ทางชีวภาพที่ออกให้โดยสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม หรือ สศอ. ตามประกาศ สศอ. เรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการรับรองผลิตภัณฑ์พลาสติกที่ย่อยสลายได้ทางชีวภาพ ซึ่งเป็นไปตามแนวนโยบายเพื่อขับเคลื่อนโมเดลเศรษฐกิจสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน (BCG Economy : เศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว)
- V-LINE® ผนวก INFILT-V แม่นยำยิ่งขึ้น เพื่อการฉีดพลาสติกย่อยสลายได้ เทคโนโลยีจาก Sodick
- เตือน!! ส่งออกไทย รับมือ "มาตรการยกเลิกบรรจุภัณฑ์จากพลาสติก" เริ่มแล้วในบางประเทศ
- 'โพลีพลาสติกส์' เผย DURAFIDE (R) PPS ให้การส่องผ่านและความแกร่งที่มากขึ้นในการนำไปเชื่อมด้วยเลเซอร์
ด้าน นางวรวรรณ ชิตอรุณ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) กล่าวว่า หลักเกณฑ์การออกใบรับรองผลิตภัณฑ์พลาสติกดังกล่าว สศอ. จะออกให้กับผู้ผลิตผลิตภัณฑ์พลาสติกฯ ที่จำหน่ายระหว่างปี 2565-2567 โดยต้องยื่นแบบฟอร์มการขอใบรับรองให้ สศอ. ตรวจสอบ ตามหลักเกณฑ์ข้อใดข้อหนึ่งใน 4 ข้อ คือ
1. ผลิตภัณฑ์ได้รับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.)
2. ผลิตภัณฑ์ได้รับรองมาตรฐานอื่นที่เทียบเท่าในต่างประเทศ
3. ผลิตภัณฑ์มีใบรับรองทางห้องปฏิบัติการตามมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง
และ 4. ผลิตภัณฑ์ที่ได้รับรองเม็ดพลาสติกที่ใช้ผลิตตามมาตรฐาน มอก. 17088 หรือมาตรฐานเทียบเท่า และสำเนาผลการทดสอบผลิตภัณฑ์ในรายการผลิตภัณฑ์ที่ได้รับรองเม็ดพลาสติกที่ใช้ผลิตตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม มอก. 17088 หรือมาตรฐานเทียบเท่า และสำเนาผลการทดสอบองค์ประกอบผลิตภัณฑ์ (FTIR)
ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ที่ 3 และ 4 ต้องมีใบรับรองจากหน่วยตรวจสอบ ซึ่ง สศอ. ได้รับความร่วมมือจากสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) และศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (MTEC) เข้ามาร่วมเป็นหน่วยตรวจสอบผลิตภัณฑ์ที่ผู้ผลิตยื่นขอใบรับรอง อีกทั้งผู้ประกอบการที่สนใจสามารถขอคำปรึกษาแนะนำเกี่ยวกับกระบวนการผลิตได้ที่สถาบันพลาสติก
“การดำเนินการที่ผ่านมา สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) ภายใต้กระทรวงอุตสาหกรรม ได้ดำเนินการขับเคลื่อนมาตรการ Green Tax Expense สำหรับพลาสติกที่ย่อยสลายได้ทางชีวภาพอย่างต่อเนื่อง โดยได้ออกใบรับรองให้กับผู้ผลิตผลิตภัณฑ์พลาสติกฯ ที่จำหน่ายระหว่างปี 2562-2564 ซึ่งมีผู้ผลิตเข้ามาขอใบรับรองเพื่อนำไปลดหย่อนภาษีทั้งสิ้นจำนวน 7 ราย ทั้งนี้ สศอ. ได้มีการออกใบรับรองไปทั้งสิ้น 72 ใบรับรอง ดังนี้ 1) หลอดพลาสติก จำนวน 57 ใบรับรอง 2) ถุงขยะ ถุงหูหิ้ว ถุงซิป จำนวน 10 ใบรับรอง 3) ถุงหูหิ้ว หลอดพลาสติก และฟิมล์ปิดฝาแก้ว จำนวน 2 ใบรับรอง 4) แก้วพลาสติก และฝาพลาสติก จำนวน 2 ใบรับรอง 5) ถาดพลาสติก จำนวน 1 ใบรับรอง จากการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้มีผู้ประกอบการให้ความสนใจขอรับการรับรองและสอบถามเข้ามาเพิ่มมากขึ้น สะท้อนให้เห็นถึงความใส่ใจของผู้ประกอบการที่ตระหนักถึงกระแสของการรักษาสิ่งแวดล้อม” นางวรวรรณ กล่าว
ทั้งนี้ มาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมผลิตภัณฑ์พลาสติกที่ย่อยสลายได้ทางชีวภาพ ซึ่งกำหนดให้ยกเว้นภาษีเงินได้ให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล สำหรับเงินได้เป็นจำนวนร้อยละยี่สิบห้าของรายจ่ายที่ได้จ่ายเป็นค่าซื้อผลิตภัณฑ์พลาสติกที่ย่อยสลายได้ทางชีวภาพ และได้รับการรับรองผลิตภัณฑ์จากสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำหรับรายจ่ายที่ได้จ่ายไปตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2565 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2567 โดยสามารถโหลดแบบฟอร์มการขอรับใบรับรองผลิตภัณฑ์พลาสติกที่ย่อยสลายได้ทางชีวภาพ ผ่านเว็บไซต์ www.oie.go.th และผู้ผลิตที่สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ทั้งทางอีเมล [email protected] หรือทางโทรศัพท์ 0 2430 6804 ต่อ 680406-7 กองนโยบายอุตสาหกรรมรายสาขา 1
#อุตสาหกรรมไบโอ #อุตสาหกรรมชีวภาพ #Green Tax Expense #มาตรการกระตุ้นใช้พลาสติกย่อยสลายได้ทางชีวภาพ #พลาสติกย่อยสลายได้ทางชีวภาพ #ไบโอพลาสติก #Bioplastics industry #พอลิเมอร์ชีวภาพ #โพลีแลคติค แอซิด #Polylactic Acid #PLA #BCG Model #โมเดลเศรษฐกิจใหม่
บทความยอดนิยม 10 อันดับ
- สรุปยอดขายรถยนต์ ครึ่งปีแรก 2022
- ภาพรวมอุตสาหกรรมโซลาร์เซลล์ของไทย
- สถานการณ์ชิปขาดตลาด 2022 จะสิ้นสุดเมื่อไหร่?
- 12 เทรนด์เทคโนโลยีมาแรงแห่งปี 2022
- 10 ตัวอย่างที่นำ 5G มาใช้งานได้อย่างน่าสนใจและประสบผลสำเร็จ
- เทคโนโลยีแห่ง G สู่ 5G เครือข่ายไร้สาย
- แบตเตอรี่ลิเธียมไอออนคืออะไร ตลาดจะก้าวไปในทางไหนในปี 2030?
- เทคโนโลยีสำหรับโลจิสติกส์ ทางเลือกสู่ทางรอด ปรับก่อนโดนเบียด
- นิยามใหม่ SME ใช้ “รายได้” เป็นตัวกำหนด
- FTA ไทย มีกี่ประเทศ พอหรือไม่ ทำไมต้องคิดเรื่อง CPTPP
อัปเดตข่าวทุกวันที่นี่ www.mreport.co.th
Line / Facebook / Twitter / YouTube @MreportTH