สินเชื่อ SME D Bank, สินเชื่อ SMEs, สินเชื่อธุรกิจ, สินเชื่อเอสเอ็มอี

SME D Bank สร้าง New High เติมทุนเอสเอ็มอีทะลุ 6.8 หมื่นล้าน สูงสุดนับแต่ก่อตั้ง

อัปเดตล่าสุด 2 ก.พ. 2566
  • Share :

SME D Bank สร้าง New High เติมทุนเอสเอ็มอีทะลุ 6.8 หมื่นล้าน สูงสุดนับแต่ก่อตั้ง มอบนโยบายปี 66 ย้ำบทบาทธนาคารเพื่อเอสเอ็มอีไทย พร้อมเติมความรู้คู่เงินทุน หนุนเติบโตยั่งยืน

วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2566 SME D Bank เปิดเผยสรุปผลการดำเนินการ ปี 65 สร้าง New High ช่วยพาเอสเอ็มอีเข้าถึงแหล่งเงินทุนกว่า 68,800 ลบ. สูงที่สุดนับแต่ก่อตั้งธนาคาร ควบคู่ช่วยพัฒนายกระดับกว่า 21,860 ราย  มอบนโยบายปี 66 เดินหน้าตอกย้ำบทบาท “ธนาคารเพื่อเอสเอ็มอีไทย” พร้อมเคียงข้างเอสเอ็มอีไทย ด้วยการ “เติมความรู้คู่เงินทุน” สนับสนุนเติบโตยั่งยืน

นางสาวนารถนารี รัฐปัตย์ กรรมการผู้จัดการ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) หรือ SME D Bank กล่าวในการประชุม “Town Hall Meeting” ครั้งที่ 1 ประจำปี 2566 เพื่อสรุปการทำงานตลอดปี 2565 และมอบนโยบายการทำงานปี 2566 ว่า จากความมุ่งมั่นทุ่มเท ร่วมแรงร่วมใจของคณะกรรมการ ผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ SME D Bank มีเป้าหมายหนึ่งเดียว ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีต้องอยู่รอด และเดินหน้าธุรกิจต่อไปได้ด้วยดี  ประกอบกับยกระดับด้านบริหารจัดการ นำเทคโนโลยีมาเสริมการทำงาน มีผลิตภัณฑ์สินเชื่อตอบความต้องการ สามารถกู้ได้สูงถึง 50 ล้านบาท และด้วยการปรับปรุงหลักเกณฑ์อนุมัติสินเชื่อให้สอดคล้องเหมาะสมกับสถานการณ์จริง โดยพิจารณาจากความสามารถในการดำเนินธุรกิจก่อนเกิดสถานการณ์โควิด-19 เอื้อให้เข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ ส่งผลให้ SME D Bank สามารถสร้างสถิติใหม่สูงสุด (New High) ช่วยเหลือพาผู้ประกอบการเอสเอ็มอีเข้าถึงแหล่งทุนกว่า 68,800 ล้านบาท สูงกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้เมื่อต้นปี 2565 ที่ 66,000 ล้านบาท หรือเกินเป้ากว่า 2,800 ล้านบาท

ทั้งนี้ ยอดดังกล่าวสูงสุดตั้งแต่ก่อตั้งธนาคารมากว่า 21 ปี  ผลักดันยอดสินเชื่อคงค้าง (Outstanding) ขยายตัวอยู่ประมาณ 109,290 ล้านบาท สร้างประโยชน์ช่วยให้มีเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจไทยกว่า 315,140 ล้านบาท รักษาการจ้างงานกว่า 226,450 ราย ตลอดระยะเวลา 3 ปีที่ผ่านมา ในช่วงเกิดสถานการณ์โควิด-19 SME D Bank ช่วยเติมทุนผู้ประกอบการเอสเอ็มอี รวมกว่า 160,000 ล้านบาท ก่อให้เกิดประโยชน์สร้างเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจกว่า 735,000 ล้านบาท รักษาการจ้างงานได้กว่า 629,000 อัตรา

นอกจากนั้น ในปี 2565 ที่ผ่านมา ช่วยเหลือผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ผ่านมาตรการปรับโครงสร้างหนี้อย่างยั่งยืน (ฟ้า-ส้ม) ของธนาคารแห่งประเทศไทย ประคับประคองลูกค้าให้ผ่านช่วงเวลายากลำบากจากสถานการณ์โควิด-19 จำนวนกว่า 16,000 ราย วงเงินกว่า 29,450 ล้านบาท  ขณะที่ หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) ลดลงเหลือ 9.72%  ส่วนด้าน “การพัฒนา” ได้ริเริ่มโครงการ “SME D Coach” มิติใหม่แห่งความช่วยเหลือผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ดำเนินกิจกรรมยกระดับผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ทั้งออนไซต์และออนไลน์ต่อเนื่องตลอดทั้งปี เช่น อบรม สัมมนา เพิ่มช่องทางขาย ขยายตลาดออนไลน์ จับคู่ธุรกิจ ฯลฯ  มีผู้ประกอบการเอสเอ็มอีและลูกค้าธนาคารเข้าร่วมและได้รับประโยชน์กว่า 21,860 ราย ช่วยเพิ่มศักยภาพ มีความพร้อม สามารถปรับตัวยกระดับทางธุรกิจบนพื้นฐาน ทั้งด้านการตลาด มาตรฐาน นวัตกรรม และสามารถเข้าถึงแหล่งทุน เคียงคู่ดูแลสังคม และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม นำสู่การเติบโตอย่างแข็งแรงและยั่งยืน   

นางสาวนารถนารี กล่าวมอบนโยบายการทำงานในปี 2566 ว่า SME D Bank ต้องเดินหน้าตอกย้ำบทบาทการเป็น “ธนาคารเพื่อเอสเอ็มอีไทย” พร้อมเคียงข้างผู้ประกอบการเอสเอ็มอีไทย ด้วยการ “เติมความรู้คู่เงินทุน  พร้อมมอบ  บริการต่างๆ ครบวงจร เช่น พร้อมมอบสินเชื่อตอบทุกความต้องการ  วงเงินกู้สูงสุดถึง 50 ล้านบาท พร้อมมอบบริการด้านการพัฒนา ช่วยให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอี มีศักยภาพธุรกิจเพิ่มขึ้น ขยายตลาด รายได้เพิ่ม และพร้อมมอบบริการด้วยเทคโนโลยี เพิ่มความสะดวกสบายให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอี เช่น ใช้บริการ SME D Bank ผ่านสมาร์ทโฟน  เป็นต้น

 

บทความยอดนิยม 10 อันดับ

 

อัปเดตข่าวทุกวันที่นี่ www.mreport.co.th   

Line / Facebook / Twitter / YouTube @MreportTH