โซลาร์เซลล์ลอยน้ำไฮบริดเขื่อนสิรินธร ใหญ่สุดในโลก! จ่ายไฟเชิงพาณิชย์แล้ว
โซลาร์เซลล์ลอยน้ำไฮบริดใหญ่ที่สุดในโลกเขื่อนสิรินธร กฟผ. เริ่มจ่ายไฟฟ้าเชิงพาณิชย์แล้ว พร้อมลุยต่อโครงการใหม่อีก 15 แห่งทั่วประเทศ รวม 2,725 เมกะวัตต์ ตอกย้ำผู้นำพลังงานสะอาด ร่วมผลักดันประเทศมุ่งสู่สังคมคาร์บอนต่ำอย่างยั่งยืน
Advertisement | |
นายบุญญนิตย์ วงศ์รักมิตร ผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เปิดเผยว่า โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ทุ่นลอยน้ำร่วมกับโรงไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนสิรินธร จ.อุบลราชธานี (Hydro-floating Solar Hybrid) หรือ โรงไฟฟ้าโซลาร์เซลล์ลอยน้ำไฮบริดเขื่อนสิรินธร ขนาดกำลังผลิต 45 เมกะวัตต์ เริ่มจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบเชิงพาณิชย์แล้วเมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2564 ช่วยเสริมความมั่นคงทางพลังงานของประเทศ ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ประมาณ 47,000 ตัน/ปี ตอบโจทย์พลังงานสะอาดช่วยลดภาวะโลกร้อน
โดยจัดพิธีเปิดวันจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบเชิงพาณิชย์ (COD) มีนายสรา สุวรรณรัตน์ ผู้อำนวยการฝ่ายสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานประจำเขต 5 (อุบลราชธานี) นายธนกร สอนอาจ พลังงานจังหวัดอุบลราชธานี นายวันชัย โภชธิหรรษา ผู้จัดการโครงการฯ บริษัท บี.กริม เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) บริษัทคู่สัญญา และผู้บริหาร กฟผ. ร่วมพิธี ณ ห้องประชุมอาคารช้างน้อย เขื่อนสิรินธร จ.อุบลราชธานี
โรงไฟฟ้าโซลาร์เซลล์ลอยน้ำไฮบริดเขื่อนสิรินธรขนาดใหญ่ที่สุดในโลก มีจุดเด่นที่สามารถผลิตไฟฟ้าจากทั้งพลังงานแสงอาทิตย์ในเวลากลางวัน และพลังน้ำจากเขื่อนที่มีอยู่เดิม มาผลิตไฟฟ้าในช่วงที่ไม่มีแสง หรือเสริมความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงสุดในช่วงค่ำ โดยนำระบบ EMS (Energy Management System) ร่วมกับระบบพยากรณ์อากาศ (Weather Forecast System) มาควบคุมและบริหารจัดการ เพื่อช่วยเพิ่มเสถียรภาพให้กับระบบผลิตไฟฟ้า ทำให้สามารถผลิตไฟฟ้าได้ยาวนานขึ้น ลดข้อจำกัดของพลังงานหมุนเวียน ในอนาคต กฟผ. เตรียมสร้างศูนย์ควบคุมพลังงานหมุนเวียน (RE Control Center) โดยนำเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence: AI) เข้ามาเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตไฟฟ้าให้มากขึ้น
- สิงคโปร์สร้างโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ลอยน้ำ มุ่งบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน
- ‘บ้านปู เน็กซ์’ จับมือ ‘ไทร เบคก้า เอ็นเตอร์ไพร์ส’ พัฒนาโซลาร์ลอยน้ำภาคเอกชนที่ใหญ่ที่สุดในไทย
- กฟผ.นับ 1 “โซลาร์ลอยน้ำ” รักษาแชร์ 2,700 เมกะวัตต์
โรงไฟฟ้าฯ ติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์แบ่งออกเป็น 7 ชุด บนพื้นที่ผิวน้ำในเขื่อนไม่ถึงร้อยละ 1 ของพื้นที่อ่างเก็บน้ำทั้งหมด โดยเลือกใช้แผงโซลาร์เซลล์และทุ่นลอยน้ำที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมทั้งหมด ไม่ส่งผลกระทบกับระบบนิเวศใต้น้ำ นอกจากนี้ ยังใช้ระบบส่งไฟฟ้า อุปกรณ์ไฟฟ้าต่าง ๆ รวมถึงพื้นที่ผิวน้ำในเขื่อนเขื่อนสิรินธรที่มีอยู่เดิมให้เกิดประโยชน์สูงสุดเต็มประสิทธิภาพ ช่วยลดต้นทุนและค่าใช้จ่ายลงได้ ทำให้ต้นทุนค่าไฟฟ้ามีราคาต่ำ โดยวางแผงโซลาร์เซลล์ให้มีมุมเอียง มีช่องว่างระหว่างแผงและทุ่นลอยน้ำ แสงแดดสามารถลอดผ่านลงในน้ำได้ จึงไม่กระทบกับระบบนิเวศใต้น้ำ และการนำแผงโซลาร์เซลล์วางบนผิวน้ำ จะช่วยลดความร้อนของแผงโซลาร์เซลล์ ทำให้มีประสิทธิภาพในการผลิตไฟฟ้าดีกว่าการติดตั้งบนบกถึงร้อยละ 10 – 15 ทั้งยังช่วยลดการระเหยของน้ำในเขื่อนได้ประมาณ 460,000 ลูกบาศก์เมตร/ปี
อ่านเพิ่มเติม
- กรอ. ร่วม กฟผ. สร้างต้นแบบ 'โรงงานรีไซเคิลแผงโซลาร์เซลล์และแบตเตอรี่' ครบวงจรในไทย
- รวมหลักเกณฑ์ เงื่อนไข สิทธิประโยชน์ จากมาตรการส่งเสริมการลงทุนประหยัดพลังงาน ในงานเสวนา “ติดตั้งโซลาร์เซลล์ ประหยัดไฟฟ้าในโรงงาน ดี 2 ต่อ”
#Hydro-Floating Solar Hybrid คือ #Egat Floating Solar #Floating Solar เขื่อนสิรินธร #โครงการ Solar Floating #โซ ล่า เซลล์ลอยน้ำไฮ บ ริ ด #Solar Cell ในไทย #โรงไฟฟ้าไฮ บ ริ ด #โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก #โซ ล่า ฟาร์ม ลอยน้ำ แห่งแรกของไทย อยู่ ที่ไหน #โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย #แผง solar cell แบบลอยน้ำที่ใหญ่ที่สุดในไทย #โซ ล่า เซลล์ลอยน้ำ ก ฟ ผ #โซ ล่า ฟาร์ม ลอยน้ำ #โซลาร์ลอยน้ำ #โซลาร์เซลล์ลอยน้ำไฮบริดเขื่อนสิรินธร
บทความยอดนิยม 10 อันดับ
- เทคโนโลยีแห่ง G สู่ 5G เครือข่ายไร้สาย
- เทคโนโลยีสำหรับโลจิสติกส์ ทางเลือกสู่ทางรอด ปรับก่อนโดนเบียด
- ส่งออกไทย 2564 เดือน มิ.ย. ขยายตัว 43% สูงสุดรอบ 11 ปี อีกครั้ง
- นิยามใหม่ SME ใช้ “รายได้” เป็นตัวกำหนด
- ธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 ปี 2564
- กลยุทธ์การ PR และ Communication ในยุคดิจิทัล
- แบตเตอรี่ลิเธียมไอออนคืออะไร ตลาดจะก้าวไปในทางไหนในปี 2030?
- ปัญหาตู้คอนเทนเนอร์ขาดแคลน เจาะลึกตู้สินค้าหายไปไหน?
- สรุปยอดขายรถยนต์ 2564 ครึ่งปีแรก
- วิกฤตซัพพลายเชนโลก: ผลกระทบจากโควิด-19 ต่อธุรกิจ
อัปเดตข่าวทุกวันที่นี่ www.mreport.co.th
Line / Facebook / Twitter / YouTube @MreportTH