ลงทุนใน EEC เดินหน้าต่อเนื่อง งบบูรณาการ-PPP-BOI สร้างเม็ดเงินรวม 1.5 ล้านล้านบาท
จากการประชุมคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) ครั้งที่ 4/2563 เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2563 มีรายงานสรุปภาพรวมการลงทุนในพื้นที่ อีอีซี ปัจจุบันยังคงเดินหน้าต่อเนื่อง และมีความคืบหน้าหลายโครงการ โดยมีมูลค่าลงทุนรวมสูงถึง 1,582,698 ล้านบาท (ณ กันยายน 2563) โดยเป็นการลงทุนจาก 3 ส่วนดังนี้
1. งบบูรณาการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (โครงสร้างพื้นฐาน) อนุมัติแล้ว 67,687 ล้านบาท มูลค่าการลงทุนระหว่างปี 2561 – 2564 มูลค่า 50,757 ล้านบาท และเดินหน้าลงทุนต่อเนื่อง ปี 2565 – 2567 มูลค่า 16,930 ล้านบาท
2. โครงการร่วมลงทุนรัฐ - เอกชน หรือ PPP ได้ผู้ลงทุน 3 โครงการ ทำสัญญาแล้วรวม 527,603 ล้านบาท โดยจะมีการลงทุนในปี 2563 มูลค่า 2,565 ล้านบาท ในปี 2564 มูลค่า 55,783 ล้านบาท และลงทุนตลอดระยะเวลาโครงการ 469,255 ล้านบาท
3. ออกบัตรส่งเสริมการลงทุน โดยสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ส่งเสริมการลงทุนให้กับอุตสาหกรรมเป้าหมายในพื้นที่ อีอีซี ตั้งแต่ปี 2560 – เดือนมิถุนายน 2563 รวมเป็นมูลค่าการลงทุน 987,408 ล้านบาท ซึ่งเป็นการลงทุนของภาคเอกชนทั้งสิ้น
โดย สกพอ. วางแนวทางการส่งเสริมการลงทุนในอีอีซี ด้วยการสร้างกลยุทธ์การส่งเสริมและสนับสนุนใน 12 อุตสาหกรรมเป้าหมาย ซึ่งมุ่งเน้นสนับสนุน 3 แกนนำกลุ่มธุรกิจที่มีศักยภาพสูง ได้แก่
1.) กลุ่มธุรกิจสุขภาพ และความเป็นอยู่ที่ดี ต่อยอดจากอุตสาหกรรมเป้าหมายการแพทย์ครบวงจร อุตสาหกรรมท่องเที่ยวกลุ่มรายได้ดี และการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ เน้นเทคโนโลยีระบบการแพทย์แม่นยำ จีโนมิกส์
2.) กลุ่มดิจิทัลและเทคโนโลยี 5G ต่อยอดอุตสาหกรรมเป้าหมายดิจิทัล อิเล็กทรอนิกส์ หุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ และยานยนต์สมัยใหม่ เน้นเทคโนโลยีระบบ 5G การพัฒนา Platform บนพื้นฐาน 5G
3.) ระบบขนส่งอัจฉริยะ (Smart logistics) ต่อยอดอุตสาหกรรมเป้าหมาย การบินและด้านโลจิสติกส์ อุตสาหกรรมท่องเที่ยวกลุ่มรายได้ดี และการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ เน้นเทคโนโลยีระบบจัดการเกี่ยวกับพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ การเชื่อมโยงกับสนามบินอู่ตะเภา
อ่านต่อ: