Factory 4.0 และ Circular Economy อนาคตอุตสาหกรรมไทย

อัปเดตล่าสุด 15 มี.ค. 2562
  • Share :

รมช.สมชายฯ ปาฐกถาพิเศษประเด็น “Factory 4.0 และ Circular Economy” ในบริบทอนาคตภาคอุตสาหกรรมไทย เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืนของภาคอุตสาหกรรม และนายทองชัย ชวลิตพิเชฐ อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม บรรยายพิเศษ การรับรองตนเองของโรงงาน ( DIW – Self declaration ) ลดขั้นตอนและประหยัดเวลา แต่ยังคุมเข้มด้านสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัย มีเจ้าหน้าที่รัฐดูแลตรวจสอบ
ก.อุตสาหกรรม – ขับเคลื่อนอุตสาหกรรมสู่ Factory 4.0 ภายใต้แนวคิด Circular Economy หรือ เศรษฐกิจแบบหมุนเวียน ทางเลือกการเป็นผู้นำเศรษฐกิจและความความยั่งยืน  จะช่วยให้สามารถแก้ปัญหาการใช้ทรัพยากรเท่าที่จำเป็นและมีประสิทธิภาพสูงสุด ตั้งแต่กระบวนการผลิต การบริโภค การจัดการของเสีย จนถึงการนำกลับมาใช้เป็นวัตถุดิบ ตลอดจนรูปแบบการกำกับดูแลโรงงานใหม่ DIW – Self declaration หรือ การรับรองตนเองของโรงงาน 

ดร.สมชาย หาญหิรัญ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม  ปาฐกถาพิเศษมีสาระสำคัญว่า การจะช่วยให้โรงงานอุตสาหกรรมคงอยู่ได้อย่างยั่งยืน การลดปริมาณลดเสียจากโรงงานอุตสาหกรรมที่มีกระบวนการผลิตที่ประสิทธิภาพต่ำ ส่งผลทำให้เกิดการใช้ทรัพยากรอย่างไม่คุ้มค่า และเกินความจำเป็น ทำให้ทรัพยากรธรรมชาติซึ่งมีอยู่อย่างจำกัดดลดน้อยลงและหาได้ยากมากยิ่งขึ้น Circular Economy หรือ เศรษฐกิจแบบหมุนเวียน จะเป็นการเพิ่มศักยภาพความสามารถในการแข่งขั้น และการเติบโตในระบบเศรษฐกิจที่ยั่งยืนในอนาคต โดยให้ความสำคัญครอบคลุม 4 ด้าน ดังนี้

  1. การผลิต (Manufacture/Production) โดยการส่งเสริมการออกแบบเพื่อสิ่งแวดล้อม(Circular product design) และการพัฒนากระบวนการผลิตที่มีประสิทธิภาพสู่นวัตกรรมการรออกแบบตลอดห่วงโซ่ของผลิตภัณฑ์ (Life Cycle)
  2. การบริโภค (Consumption) โดยการนำกลับมาใช้ซ้ำ (Reuse) และการลดการใช้หรือใช้น้อยเท่าที่จำเป็น (Reduce) ตลอดจนมีข้อมูลของผลิตภัณฑ์
  3. การจัดการของเสีย (Waste Management) โดยการปรับปรุงขั้นตอนการจัดการของเสีย และการลงทุนการจัดการของเสียในระยะยาว
  4. การใช้วัตถุดิบรอบสอง หรือการแปรรูปนำกลับมาใช้ใหม่ (Recycle) โดยการส่งเสริมการใช้วัตถุดิบรอบสอง หรือการแปรรูปนำกลับมาใช้ใหม่ (Recycle) อย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนส่งเสริมให้มีการใช้สารเคมีอย่างปลอดภัยและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

นายทองชัย  ชวลิตพิเชฐ  อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม  เผยการกำกับดูแลโรงงานตามแนวทางการรับรองตนเองของโรงงาน “มาตรการนี้จะส่งผลดีและชัดเจนแบบ 2 เพิ่ม 2 ลด คือ 1.เพิ่มความสะดวกให้กับผู้ประกอบการ 2.เพิ่มประสิทธิภาพในการบริการของภาครัฐ และ 1.ลดระยะเวลาการทำเรื่องขอใบอนุญาตแบบเดิม 2. ลดปัญหาข้อร้องเรียนสร้างความความโปร่งใสในกระบวนการต่อใบอนุญาต  ซึ่งผู้ที่ได้รับประโยชน์โดยตรงก็คือผู้ประกอบการโรงงานทั่วประเทศ อีกทั้งยังช่วยสร้างความสนใจดึงดูดนักลงทุนทั่วโลกมาลงทุนเพิ่มในประเทศไทยได้มากขึ้น ”

โดยภายใต้การจัดงาน “ทิศทางการพัฒนาอุตสาหกรรมไทย...ในอนาคต”  นอกจากจะมีการปาฐกถาพิเศษโดยรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม และบรรยายพิเศษโดยอธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรมแล้ว ยังการการฝึกอบรมสัมมนาใน 4 หัวข้อที่น่าสนใจ โดยมีผู้สนใจเข้าร่วมสัมมนากว่า 450 คน คือ

  • “การเพิ่มประสิทธิภาพพลังงาน ความปลอดภัย และสิ่งแวดล้อมในระบบทำความเย็นที่ใช้แอมโมเนียเป็นสารทำความเย็น” ณ ห้องปารติ
  • “กฎหมายความปลอดภัยเกี่ยวกับสารเคมี” ณ ห้องบุหงา
  • “การถ่ายทอดแนวทางการรับรองตนเองของผู้ประกอบกิจการโรงงาน (Self-declaration) และการตรวจสอบโดยผู้ตรวจสอบเอกชน (Third party)” ณ ห้องวาสนา
  • “ประชาสัมพันธ์การใช้งานระบบสารสนเทศความปลอดภัยหม้อน้ำและการประยุกต์ใช้    เทคโนโลยี 4.0 เพื่อยกระดับความปลอดภัยหม้อน้ำ” ณ  ห้องทับทิมสยาม (ชั้น 24)

ทั้งนี้ ภาคเอกชนให้ความสนใจและมาร่วมออกบูธกว่า 20 บูธ  ขานรับนโยบาย “Factory 4.0 และ Circular Economy” โดยการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมการผลิตสมัยมาร่วมออกงาน แบ่งเป็นโซนเกี่ยวกับหม้อน้ำสมองกล หรือ Smart Boiler  โซนเทคโลยีดิจิตอลในระบบทำความเย็นที่ใช้แอมโมเนียเป็นสารทำความเย็น และโซนเศรษฐกิจหมุนเวียน หรือ Circular Economy ด้วยการนำเทคโนโลยีดิจิตอลมาสู่ภาคการผลิต และการนำทรัพยากรกลับมาใช้ใหม่  รวมทั้งสิ้นมีผู้เข้าร่วมงานสัมมนาดังกล่าวประมาณ 600 คน