สถาบันยานยนต์นำทัพ ระดมสมองผู้ประกอบการไทย มองอนาคตอุตสาหกรรมยานยนต์

อัปเดตล่าสุด 8 พ.ย. 2561
  • Share :
  • 367 Reads   

สืบเนื่องจากนโยบายรัฐบาล ที่ต้องการขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศไทย โดยการสร้างมูลค่าเพิ่มและ นวัตกรรมในทุกภาคส่วน เพื่อให้ประเทศไทยก้าวข้ามกับดักรายได้ปานกลาง ซึ่งรัฐมีนโยบายต่อยอด อุตสาหกรรมเดิมที่มีศักยภาพไปสู่อุตสาหกรรมสมัยใหม่ โดยในอุตสาหกรรมยานยนต์จะมุ่งไปสู่อุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ ที่เน้นเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม อาทิ ยานยนต์ที่ ขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ไฟฟ้า หรือ Electric Vehicle ซึ่งรวมถึงการนําเทคโนโลยีอัตโนมัติและการเชื่อมต่อ (Automated & Connected) มาใช้ในยานยนต์ อันจะนําไปสู่แนวคิดการใช้ยานยนต์ร่วมกัน (Sharing Mobility) ต่อไปในอนาคต สถาบันยานยนต์หนึ่งหน่วยงานที่สนับสนุนอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย จึงจัดการประชุม "ปฏิบัติการมองอนาคตอุตสาหกรรมไทย" เพื่อทราบถึงวัตถุประสงค์ของการจัดงานและผลการศึกษาเบื้องต้น เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2561 ที่โรงแรมเซ็นจูรี่ กรุงเทพฯ 

นายอดิศักดิ์ โรหิตะศุน กรรมการสถาบันยานยนต์ ผู้ทําการแทนผู้อํานวยการสถาบันยานยนต์ กล่าวว่า “ภายใต้สภาวะการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว ส่งผลทําให้อุตสาหกรรมยานยนต์ไทยเกิดการเปลี่ยนแปลง สถาบันยานยนต์เป็นหนึ่งในหน่วยงานที่มีหน้าที่สนับสนุนให้อุตสาหกรรมยานยนต์ไทย มีความสามารถแข่งขันในเวทีโลก จึงมีแนวคิดจัดทําแผนแม่บทเพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์ฉบับใหม่ (ปีพ.ศ. 2562 – 2566) เพื่อนําเสนอหน่วยงานรัฐ นําไปใช้ประกอบการวางแผนเพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์ต่อไป อย่างไรก็ตาม ในการจัดทําแผนแม่บทฯ ดังกล่าว มีกระบวนการดําเนินการหลายขั้นตอนเพื่อไปสู่ผลลัพธ์ โดยในขั้นต้นจะเป็นการจัดทําภาพอนาคต (Scenario Planning) ของอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย ผ่านกระบวนการคาดการณ์ อนาคตเทคโนโลยี (Technology Foresight) ที่เป็นเทคนิคในการวางแผนระยะยาวอย่างเป็นระบบ โดย สถาบันฯ ได้รับความร่วมมือจากสํานักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ สํานักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วม ดําเนินการในขั้นนี้”

การประชุมเชิงปฏิบัติการมองอนาคตอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย (Thailand Automotive Industry Foresight Workshop) ในวันนี้ได้รับเกียรติจาก ดร.ณัฐพล รังสิตพล ผู้อํานวยการสํานักงานเศรษฐกิจ อุตสาหกรรม กล่าวเปิดงานประชุมเชิงปฏิบัติการฯ ดังกล่าว และนายอดิศักดิ์ โรหิตะศุน ผู้ทําการแทน ผู้อํานวยการ สถาบันยานยนต์ กล่าวรายงาน วัตถุประสงค์ของการจัดงานในครั้งนี้ ซึ่งมีผู้เข้าร่วมกว่า 80 ท่าน จาก 80 หน่วยงาน มีวัตถุประสงค์เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูล ความคิดเห็นและประสบการณ์ของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ทั้งหน่วยงานภาครัฐ ในฐานะผู้กําหนดนโยบายพัฒนาและสนับสนุนอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย อาทิ กระทรวง อุตสาหกรรม กระทรวงคมนาคม กระทรวงพลังงาน กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงการคลัง กระทรวงวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีและสถาบันการศึกษา และภาคเอกชน ซึ่งประกอบด้วย ผู้ผลิตรถยนต์ จักรยานยนต์ รถบรรทุก และรถโดยสาร รวมถึงผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ ผู้ดําเนินธุรกิจในอุตสาหกรรมเกี่ยวเนื่อง จากบริษัทข้ามชาติที่มี การลงทุนในประเทศไทย มีนวัตกรรมและเทคโนโลยียานยนต์ที่ทันสมัย รวมถึงบริษัทผู้ผลิตยานยนต์ไฟฟ้า และส่วนในอตสาหกรรมของคนไทย ร่วมกันแสดงความคิดเห็นภาพอนาคตอตสาหกรร ปัจจัยแห่งความสําเร็จ รวมถึงปัญหาและอุปสรรค เพื่อที่สถาบันฯ จะนําข้อมูลมารวบรวม วิเคราะห์ และนําไป จัดทําแผนแม่บทเพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์ฉบับใหม่ ช่วงไตรมาสที่ 2 ปี 2562

ภายในงานประชุมนี้ มีการนําเสนอผลการศึกษา แผนและเป้าหมายการพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์ ของประเทศที่สําคัญและมีส่วนเกี่ยวข้องต่อประเทศไทย เช่น ประเทศจีน เวียดนาม และสิงคโปร์ ซึ่งประเทศเหล่านี้อยู่ในภูมิภาคเดียวกัน ทําให้มีข้อตกลงทางการค้า การส่งออก และนโยบายทางภาษีที่เกี่ยวข้องกัน ซึ่งมี ผลทางตรงต่อการผลิตยานยนต์อนาคตของประเทศไทย อย่างไรก็ตาม การพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์ต่อจาก นี้จะแตกต่างจากอดีต ที่คํานึงถึงแต่ภาพการผลิตต้นทุนต่ำ ผลิตให้ได้จํานวนมาก เพื่อมีกําไรสูง จะเปลี่ยนเป็น การผลิตที่ต้องแข่งขันกันด้านการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีขั้นสูงทั้งกระบวนการและผลิตภัณฑ์ จึงจะเกิด กําไรสูง ดังนั้นผู้ผลิตในอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย ที่ได้ชื่อว่าเป็นผู้ผลิตที่มีศักยภาพทั้งด้านเทคนิคและการจัดการ ทําให้ห่วงโซ่อุปทานยานยนต์ไทยมีความแข็งแกร่ง จะต้องปรับกลยุทธ์ทางธุรกิจ เพื่อสร้างกําไร อาจ จําเป็นต้องหานวัตกรรมและเทคโนโลยีขั้นสูง เข้ามาพัฒนาการผลิตเพื่อตอบสนองเทคโนโลยียานยนต์ที่ล้ำสมัย

สรุปผลการศึกษาแผนและเป้าหมายของแต่ละประเทศพบว่า เทคโนโลยีแรก คือ ยานยนต์ไฟฟ้า โดยทุกประเทศที่ทําการศึกษามีเป้าหมายและนโยบายจากรัฐในการสนับสนุนอย่างชัดเจน ส่วนการพัฒนาเทคโนโลยี ยานยนต์ระบบขับขี่อัจฉริยะ หรือไร้คนขับ นั้น แต่ละประเทศมีการพัฒนาอยู่ในช่วงทดลองนําร่องวิ่งในถนน (Field operational test) และประเทศที่มีโครงสร้างพื้นฐานด้านสื่อสารและอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง จะ ค่อนข้างได้เปรียบ แต่ทั้งนี้ข้อกฎหมายและระเบียบเรื่องความปลอดภัยทั้งข้อมูลและทรัพย์สิน ยังเป็นสิ่งที่ ประเทศต่างๆต้องรีบดําเนินการให้สอดคล้องต่อการใช้งาน

นอกจากนี้สถาบันฯ ได้รวบรวมผลการสัมภาษณ์จากผู้เชี่ยวชาญด้านยานยนต์ทั้งหน่วยงานภาครัฐและ ภาคเอกชนกว่า 20 องค์กร เพื่อให้ทราบถึงแนวคิด ความร่วมมือ อุปสรรคและปัญหา นํามาวิเคราะห์จัดทําเป็นข้อเสนอแนะ พร้อมกับผลการศึกษาฯ นํามาวิเคราะห์และสรุปจัดทําเป็นภาพอนาคต (Scenario Planning) ของอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยเป็นสิ่งสําคัญต่อการจัดทําแผนแม่บทอุตสาหกรรมฉบับใหม่ให้มีความชัดเจนและแม่นยํา เพื่อเพิ่มขีดความสามารถของอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยต่อการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีฯ ทําให้ประเทศไทยยังคงรักษาฐานการผลิตยานยนต์เดิมและพัฒนาต่อยอดไปยังยานยนต์สมัยใหม่ได้อย่างยั่งยืน