กบอ. วางกรอบการลงทุนใช้พื้นที่ EEC ครั้งที่ 2/2561
เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2561 คณะกรรมการเฉพาะกิจเพื่อบริหารการพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ร่วมประชุมเพื่อบริหารการพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ครั้งที่ 2/2561 มี โดยมีนายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นประธาน สาระสำคัญ สรุปได้ดังนี้
1.กรอบการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานสำคัญ (EEC Project List) รวม 4 โครงการ
โครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญ (EEC Project List) มีทั้งหมด 5 โครงการ โดย รถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน เป็นโครงการแรกที่ได้ออกเอกสารคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนกับรัฐไปแล้วเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2561 และกำหนดรับข้อเสนอเอกชนในวันที่ 12 พฤศจิกายน 2561
โครงการที่เหลือได้วางกำหนดการเพื่อออกหนังสือชี้ชวนภายในเดือนตุลาคม 2561 การดำเนินการเป็นไปตามเป้าหมาย โดย กบอ. มีมติ ให้นำกรอบโครงการไปเสนอต่อกรรมการนโยบายในวันที่ 4 ตุลาคม โดยมีสาระสำคัญดังนี้
1) โครงการเมืองการบินภาคตะวันออก: สนามบินอู่ตะเภา
- หน่วยงานเจ้าของโครงการ : กองทัพเรือ
กิจกรรมที่เกี่ยวข้อง นอกเหนือจากทางวิ่งที่ 2 และทางขับ (Runway 2 & Taxiway) ที่รัฐบาลจะเป็นผู้ลงทุนแล้ว มีกิจกรรมรวม 6 ประเภท
1) อาคารผู้โดยสารหลังใหม่ (หลังที่ 3)
2) ศูนย์ธุรกิจการค้า (Commercial Gateway) และการขนส่งภาคพื้น (GTC)
3) ศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยาน (ระยะที่ 2 นอกเหนือจากระยะแรก 500 ไร่)
4) เขตประกอบการค้าเสรี (Cargo Village or Free Trade Zone) และเขตธุรกิจเกี่ยวเนื่อง
5) ศูนย์ธุรกิจขนส่งสินค้าและโลจิสติกส์ (Cargo Complex)
6) ศูนย์ฝึกอบรมบุคลากรด้านการบินและอวกาศ
ทั้งนี้รวมถึงกิจการสาธารณูปโภคที่จำเป็น และการจัดตั้งหอบังคับการบิน ระบบควบคุมการจราจรทางอากาศ
- กำหนดออกหนังสือชี้ชวน ต.ค. 2561
- กำหนดได้เอกชนผู้ร่วมทุน ก.พ. 2562
- เปิดดำเนินการ 2566
2) โครงการศูนย์ซ่อมอากาศยานสนามบินอู่ตะเภา
เป็นการย้ายศูนย์ซ่อม ของ การบินไทย ออกจากที่เดิม เพื่อก่อสร้างทางวิ่งที่ 2 และ อาคารผู้โดยสารใหม่ โดยใช้เป็นโอกาสในการลงทุนให้ศูนย์ซ่อมใหม่ ให้ขนาดใหญ่ขึ้น และทันสมัยมากขึ้นเพื่อผลักดัน
อุตสาหกรรมอากาศยานของประเทศ
- หน่วยงานเข้าของโครงการ บริษัทการบินไทย จำกัด มหาชน
กิจกรรมที่เกี่ยวข้อง
- การซ่อมใหญ่อากาศยาน (Heavy Maintenance / Base Maintenance)
- การซ่อมบำรุงอากาศยานระดับลานจอด (Line Maintenance)
- การพ่นสีอากาศยาน และส่วนประกอบอื่น (Aircraft Painting)
- กิจกรรมอื่นๆ ในการซ่อมบำรุงอากาศยาน
- กำหนดออกหนังสือชี้ชวน ต.ค. 2561
- กำหนดได้เอกชนผู้ร่วมทุน ธ.ค. 2562
- เปิดดำเนินการกลางปี 2565
3) โครงการท่าเรือแหลมฉบังระยะที่ 3
เป็นการขยายท่าเรือให้เป็นท่าเรือระดับภูมิภาค เพื่อความสามารถเป็น 15 ล้าน TEU จาก 8 ล้าน TEU ในปัจจุบัน
- หน่วยงานเจ้าของโครงการ การท่าเรือแห่งประเทศไทย
- กิจกรรมที่เกี่ยวข้อง ท่าเรือ E0 E1 E2 F1 และ F2
โดยการท่าเรือจะเป็นผู้ดำเนินการถมทะเล และให้เอกชนลงทุนการให้บริการท่าเรือ โดยเริ่มต้นจากที่ F1 และ F2 ก่อน ให้เป็นท่าเรือที่ทันสมัยใช้ระบบอัตโนมัติ อย่างไรก็ตาม การท่าเรือจะได้ดำเนินส่วนที่เป็นโครงสร้างพื้นฐานล่วงหน้าโดยเฉพาะระบบรถไฟให้เข้าเชื่อมระบบเรือสู่ราง
- กำหนดออกหนังสือชี้ชวน ต.ค. 2561
- กำหนดได้เอกชนผู้ร่วมทุน ก.พ. 2562
- เปิดดำเนินการปลายปี 2566
4) โครงการท่าเรือมาบตาพุดระยะที่ 3
เป็นการขยายท่าเรือมาบตาพุดเพื่อเพิ่มขีดความสามารถและความจุในการขนถ่ายก๊าซธรรมชาติ(ประมาณ 10.8 ล้านตัน/ปี) และสินค้าเหลว (ประมาณ 4 ล้านตัน/ปี) ให้เป็นท่าเรือระดับภูมิภาค
- หน่วยงานเข้าของโครงการ การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
- กิจกรรมที่เกี่ยวข้อง ท่าเรือก๊าซ ท่าเรือของเหลว คลังสินค้าและธุรกิจต่อเนื่อง
· กำหนดออกหนังสือชี้ชวน ต.ค. 2561
· กำหนดได้เอกชนผู้ร่วมทุน ม.ค. 2562
· เปิดดำเนินการต้นปี 2568
2.แผนพัฒนาโครงการแผนปฏิบัติการการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลระยะเวลา 5 ปี
ที่ประชุมรับทราบข้อเสนอของกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมในร่างแผนปฏิบัติการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลเพื่อรองรับ EEC ให้เป็นศูนย์กลางด้านเศรษฐกิจของภูมิภาคประกอบด้วย 8 แผนงาน ระยะความเร่งด่วนในการดำเนินงาน ดังนี้
- แผนงานที่ 1 การพัฒนาเขตส่งเสริมอุตสาหกรรมและนวัตกรรมดิจิทัล (Digital Park Thailand) และสถาบัน IoT
- แผนงานที่ 2 การพัฒนา Advanced Big Data, Cloud and Data Center (ABCD)
- แผนงานที่ 3 การพัฒนาศูนย์กระจายพัสดุภัณฑ์อัตโนมัติ (Automated Postal Distribution Center)
- แผนงานที่ 4 IoT SMART City
- แผนงานที่ 5 การสร้างศูนย์ทดสอบ 5G และเตรียมโครงสร้างพื้นฐานในพื้นที่นำร่อง
- แผนงานที่ 6 การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน IoT ในเขต EEC
- แผนงานที่ 7 โครงสร้างพื้นฐาน ท่อร้อยสาย เคเบิ้ลใยแก้วนำแสงและเสา (i-Pole)
- แผนงานที่ 8 ASEAN Digital Hub