หอการค้าฯ เผยดัชนีเชื่อมั่นผู้บริโภค ธ.ค.67 ปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 ในรอบ 10 เดือน

หอการค้าฯ เผยดัชนีเชื่อมั่นผู้บริโภค ธ.ค.67 ปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 ในรอบ 10 เดือน

อัปเดตล่าสุด 14 ม.ค. 2568
  • Share :

ดัชนีความเชื่อมั่นหอการค้าไทย (TCC Confidence Index: TCC-CI) ประจำธันวาคม 2567 อยู่ที่ระดับ 54.3 จากระดับ 66.1 ในเดือนก่อนหน้า ปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 ในรอบ 10 เดือน เนื่องจากผู้บริโภคเริ่มเห็นว่ามาตราการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลช่วยผ่อนคลายให้สถานการณ์เศรษฐกิจเริ่มปรับตัวดีขึ้นและการท่องเที่ยวในประเทศเริ่มปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่อง

14 มกราคม 2568 นายธนวรรธน์ พลวิชัย อธิการบดีมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และประธานที่ปรึกษาศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ เปิดเผยผลสำรวจประชาชน ทั่วประเทศ 2,244 คน พบว่าเศรษฐกิจไทยส่งผลต่อความเชื่อมั่นผู้บริโภคมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 40.1 และต่างจังหวัดร้อยละ 59.9 โดยกลุ่มตัวอย่างเป็นเพศชายและเพศหญิง ประมาณร้อยละ 49.8 และ 50.2 ตามลำดับ 

ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อดัชนีความเชื่อมั่นของหอการค้าไทย

ปัจจัยด้านลบ​​​​​​

  • การฟื้นตัวของระบบเศรษฐกิจโลกให้ข้าลงหรือชะลอตัวลง และอาจส่งผลกระทบในเชิงลบต่อการส่งออกและเศรษฐกิจไทยในอนาคต
  • เศรษฐกิจยังฟื้นตัวช้า คลอดจนปัญหาค่าศรองชีพ รวมถึงผู้บผู้บรับการะมัดระวังการจับจ่าย ส่งผลกระทบต่อยอดขายของธุรกิจที่อาจจะไม่เติบโต
  • ความกังวลต่อสถานการณ์ความขัดแย้งทางด้านภูมิรัฐศาสตร์ของโลกที่ยังคงยืดเยื้อ ทั้งสถานการณ์สงครามระหว่างรัสเซียและยูเครน การสู้รบระหว่างอิสราเอลกับขบวนการฮามาส (Hamas) ตลอดจนสถานการณ์ความขัดแย้งในตะวันออกกลางที่รุนแรงขึ้น
  • ความเสียหายของภาคธุรกิจและประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภัยธรรมชาติน้ำท่วมหนักในบางพื้นที่ ทำให้ต้องหยุดดำเนินกิจการและขาดรายได้ อีกทั้งยังต้องซ่อมแซมอาคารบ้านเรือนที่เกิดความเสียหาย
  • SET Index เดือน ธ.ค. 67 ปรับตัวลดลง 27:33 จุด จาก 1,427.54 ณ สิ้นเดือน พ.ย. 67 เป็น 1,400.21 ณ สิ้นเดือน ธ.ค. 67
  • ค่าเงินบาทปรับตัวแข็งค่าขึ้นเล็กน้อยจากระดับ 34.448 8/5 ณ สิ้นเดือน พ.ย. 67 เป็น 34.182 8/5 ณ สิ้นเดือน ธ.ค. 67 ทำให้มีความกังวลว่าจะส่งกระทบในเชิงลบต่อความสามารถในการแข่งขันของสินค้าไทยในตลาดโลก

ปัจจัยด้านบวก​​​​​​​​​​​​​​

  • กนง. มีมติเป็นเอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 2.25% ต่อปี โดยเห็นว่าอัตราดอกเบี้ย ปัจจุบันยังอยู่ในระดับที่สอดคล้องกับแนวโน้มเศรษฐกิจที่ใกล้เคียงกับศักยภาพ
  • ดำเนินมาตรการอัดฉีดเม็ดเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ ทั้งการช่วยเหลือชาวนาไร่ละ 1,000 บาท /และการเตรียมแจกเงิน 10,000 ให้กลุ่มคนอายุ 60 ปี ในช่วงเดือนมกราคม 25668
  • จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องยิ่งในช่วงฤดูกาลท่องเที่ยวของประเทศไทย ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการยกเว้นการยื่นวีซ่านักท่องเที่ยว รวมการขยายระยะเวลาการพำนักของนักท่องเที่ยว ส่งผลให้เกิดเม็ดเงินหมุนเวียนในประเทศมากขึ้นและกิจกรรมทางเศรษฐกิจในภูมิภาคต่างๆ ปรับตัวดีขึ้น
  • การส่งออกของไทยเดือน พ.ย. 67 ขยายตัวร้อยละ 8.17 มูลค่าอยู่ที่ 25,608.16 ล้านดอลลาร์ สหรัฐฯ และการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.87 มีมูลค่าอยู่ที่ 25,832.53 ล้านคอลลาร์สหรัฐฯ ส่งผลให้ขาดดุลการค้า 224.37 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
  • ครม. มีมติเห็นชอบขยายเวลาคงอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ไว้ที่ 7% ต่ออีก 1 ปี โดยนับตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2568 เพื่อส่งเสริมการกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศ
  • รัฐบาลประกาศมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจโครงการ Easy E-Receipt โดยมีผลเดือนม.ค.68
  • ราคาน้ำมันขายปลีกแก๊สโซฮอล ออกเทน 91 (E10) และแก๊สโซฮอล ออกเทน 95 ในประเทศ ปรับตัวลดลงประมาณ 0.10 บาทต่อลิตรจากเดือนที่ผ่านมา อยู่ที่ระดับ 35.88 และ 36.25 บาทต่อลิตร ขณะที่ราคาน้ำมันดีเซลขายปลีกในประเทศ ยังคงทรงตัวจากเดือนที่ผ่านมา
  • ราคาพืชผลทางการเกษตรหลายรายการปรับตัวดีขึ้นหรือทรงตัวส่งผลให้เกษตรกรเริ่มมีรายได้สูงขึ้น และมีกำลังซื้อในต่างจังหวัดเริ่มปรับตัวดีขึ้น​​​

#สภาหอการค้า #หอการค้าไทย #สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย #เศรษฐกิจไทย #อุตสาหกรรมไทย #ภาคการเกษตร #ท่องเที่ยวไทย #ส่งออกไทย #ราคาพลังงาน #GDP

 

บทความยอดนิยม 10 อันดับ

 

อัปเดตข่าวทุกวันที่นี่ www.mreport.co.th   

Line / Facebook / Twitter / YouTube @MreportTH