หอการค้าฯ เผยดัชนีเชื่อมั่นผู้บริโภค เม.ย. 67 ปรับตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 เศรษฐกิจฟื้นช้า น้ำมันแพง

หอการค้าฯ เผยดัชนีเชื่อมั่นผู้บริโภค เม.ย. 67 ปรับตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 เศรษฐกิจฟื้นช้า น้ำมันแพง

อัปเดตล่าสุด 20 พ.ค. 2567
  • Share :
  • 3,410 Reads   

ดัชนีความเชื่อมั่นหอการค้าไทย (TCC Confidence Index: TCC-CI) เดือนเมษายน 2567 อยู่ที่ระดับ 55.3 ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคของผู้บริโภค (Consumer Confidence Index: CCI) ปรับตัวลดลงจากระดับ 63.0 เป็น 62.1 ลดลงต่อเนื่องเดือนที่ 2 ในรอบ 9 เดือน ทั้งนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับเศรษฐกิจโดยรวม ดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับโอกาสหางานทำโดยรวม และดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับรายได้ในอนาคตรายได้ในอนาคต อยู่ที่ระดับ 56.0 58.9 และ71.5 ตามลำดับ ปรับตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 ในรอบ 9 เดือนทุกรายการ

15 พฤษภาคม 2567 นายธนวรรธน์ พลวิชัย อธิการบดีมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และประธานที่ปรึกษาศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ เปิดเผยผลสำรวจตัวอย่างประชาชนทั่วประเทศจำนวน 2,242 คน พบว่าผู้บริโภคยังคงเห็นว่าสถานการณ์เศรษฐกิจโดยรวมยังคงฟื้นตัวช้า ค่าครองชีพสูงและการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในประเทศไทยและทั่วโลก ตลอดจนสงครามระหว่างรัสเซียและยูเครน กับอิสราเอลและฮามาสในฉนวนกาซาที่ยังคงยืดเยื้อ ส่งผลกระทบทางจิตวิทยาในเชิงลบต่อกำลังซื้อภายในประเทศ ภาคการท่องเที่ยว ภาคการส่งออกธุรกิจโดยทั่วไป และการจ้างงานในอนาคต โดยยังคงมีโอกาสบั่นทอนความเชื่อมั่นของผบู้ริโภคทั้งในปัจจุบนัและในอนาคตได้อย่างต่อเนื่องในระยะอันใกล้นี้

ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อดัชนีความเชื่อมั่นของหอการค้าไทย

ปัจจัยด้านลบ

  • กนง. มีมติ 5 ต่อ 2 เสียง ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 2.50% ต่อปี และเห็นว่าเศรษฐกิจไทยปี 2567 มีแนวโน้มขยายตัวสูงขึ้นจากปีก่อน

  • สศค. ปรับลดประมาณการเศรษฐกิจไทยในปี 2567 คาดว่าจะขยายตัวที่ 2.4%

  • สถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 ที่มากขึ้นจนส่งผลกระทบต่อการดำเนินกิจกรรมกลางแจ้งในบางพื้นที่ และกระทบต่อสุขภาพของประชาชนที่สูดหายใจเข้าไป

  • การส่งออกของไทยเดือน มี.ค. 67 หดตัวร้อยละ 10.9 มูลค่าอยู่ที่ 24,960.55 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.63 มีมูลค่าอยู่ที่ 26,123.82 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ส่งผลให้ขาด
    ดุลการค้า 1,163.27 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

  • SET Index เดือน เม.ย. 67 ปรับตัวลดลง 9.99 จุด จาก 1,377.94 ณ สิ้นเดือน มี.ค. 67 เป็น 1,367.95 ณ สิ้นเดือน เม.ย. 67

  • ค่าเงินบาทปรับตัวอ่อนค่าลงเล็กน้อยจากระดับ 35.954 ฿/$ ณ สิ้นเดือน มี.ค. 67 เป็น 36.789 ฿/$ ณ สิ้นเดือน เม.ย. 67 สะท้อนว่ามีการไหลออกสุทธิของเงินตราต่างประเทศ

  • ความกังวลจากผลกระทบจากปัญหาภัยแล้งต่อผลผลิตภาคเกษตร ซึ่งสภาวะเอลนีโญ ทำให้ปริมาณ น้ำฝนน้อยกว่าค่าเฉลี่ยปกติ และมีอุณหภูมิสูงขึ้น ซึ่งส่งผลกระทบต่อปริมาณผลผลิตทางการเกษตร

  • ความกังวลในเรื่องของต้นทุนทางการผลิต-การเกษตรของผู้ประกอบการที่อาจจะมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น

  • ความกังวลจากความตึงเครียดในตะวันออกกลางที่เพิ่มสูงขึ้น ส่งผลกระทบต่อคล่องของกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงทำให้มีการปรับราคาน้ำมันเชื้อเพลิง

  • ราคาน้ำมันขายปลีกแก๊สโซฮอล ออกเทน 91 (E10) และแก๊สโซฮอล ออกเทน 95 ในประเทศปรับตัวเพิ่มขึ้น โดยปรับตัวเพิ่มขึ้นประมาณ 1.6 และ 1.2 บาทต่อลิตร อยู่ที่ระดับ 39.28 และ 40.35 บาท
    ต่อลิตร และราคาน้ำมันดีเซลขายปลีกปรับตัวเพิ่มขึ้นประมาณ 1.00 บาท ณ สิ้นเดือน เม.ย. 67

ปัจจัยด้านบวก

  • นักท่องเที่ยวต่างชาติเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทยจำนวนมากขึ้น หลังจากการเปิดประเทศ และกิจกรรมเชิญชวนในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ส่งผลให้เกิดเม็ดเงินหมุนเวียนในประเทศมากขึ้น

  • ภาคท่องเที่ยวและบริการภายในประเทศปรับตัวดีขึ้นผลมาจากการจัดกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวในหลายพื้นที่ 

  • ราคาพืชผลทางการเกษตรหลายรายการปรับตัวดีขึ้นหรือทรงตัวส่งผลให้เกษตรกรเริ่มมีรายได้สูงขึ้น และมีกำลังซื้อในต่างจังหวัดเริ่มปรับตัวดีขึ้น

  • มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านภาคอสังหาริมทรัพย์จากภาครัฐเพื่อเป็นการสนับสนุนการมีที่อยู่อาศัยของประชาชน กระตุ้นเศรษฐกิจผ่านภาคอสังหาริมทรัพย์และธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง

  • ความหวังของประชาชนจากการมีสัญญาณของการขึ้นค่าจ้างงาน และเริ่มจะมีในการจับจ่ายใช้สอยที่กลับมามากขึ้น แต่ยังคงมีการระวังการเลือกซื้อสินค้าเพิ่มขึ้น

  • ภาคอุตสาหกรรมเริ่มที่จะฟื้นตัวเนื่องจากมีความต้องการของสินค้าปรับตัวเพิ่มขึ้นทั้งในและต่างประเทศ อาทิ ยางพาราในกลุ่มผลิตภัณฑ์ยาง ผลิตภัณฑ์ยางแปรรูป และผลิตภัณฑ์ไม้

ข้อเสนอแนะต่อภาครัฐ และแนวทางการดำเนินการของภาคเอกชนในการแก้ไขปัญหา

  • แนวทางการแก้ไขปัญหาเรื่องของการบริหารจัดการน้ำให้มีใช้เพียงพอกับภาคการเกษตร ภาคอุตสาหกรรม และภาคครัวเรือน

  • หาแนวทางการแก้ไขหรือมาตรการเยียวยาผู้ประกอบการ หากมีการขึ้นอัตราค่าแรงขั้นต่ำขึ้นตามประกาศรัฐบาล 

  • มาตรการส่งเสริมและกระตุ้นเศรษฐกิจ รวมทั้งแนวทางการเพิ่มจำนวนนักท่องเที่ยวให้มีการจับจ่ายซื้อของเพื่อเพิ่มกำลังซื้อในพื้นที่

  • การดูแลและรักษาเสถียรภาพของค่าเงินบาทให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมต่อภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน และการค้าการลงทุนทั้งในและต่างประเทศ

#สภาหอการค้า #หอการค้าไทย #สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย #เศรษฐกิจไทย #อุตสาหกรรมไทย #ภาคการเกษตร #ท่องเที่ยวไทย #ส่งออกไทย #ราคาพลังงาน #GDP  

 

บทความยอดนิยม 10 อันดับ

 

อัปเดตข่าวทุกวันที่นี่ www.mreport.co.th   

Line / Facebook / Twitter / YouTube @MreportTH