อุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้าไตรมาสที่ 4 ปี 2567 เหล็กลวด "การผลิตหดตัวมากที่สุด"

อุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้าไตรมาสที่ 4 ปี 2567 เหล็กลวด "การผลิตหดตัวมากที่สุด"

อัปเดตล่าสุด 2 เม.ย. 2568
  • Share :

MPI เหล็กไตรมาสที่ 4 ปี 2567  ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม มีค่า 81.5 ขยายตัวจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 0.5 (%YoY) และหดตัวจากไตรมาสก่อนร้อยละ 2.5 (%QoQ) โดยเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน

กองนโยบายอุตสาหกรรมรายสาขา สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) ระบุว่า ผลผลิตอุตสาหกรรมเหล็กไตรมาสที่ 4 ปี 2567 ขยายตัวเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนจากการผลิตผลิตภัณฑ์เหล็ก เช่น เหล็กแผ่นเคลือบดีบุก เหล็กแผ่นเคลือบโครเมียม เหล็กแผ่นรีดร้อนชนิดม้วน และท่อเหล็กกล้า การบริโภคในประเทศขยายตัวจากผลิตภัณฑ์เหล็กทรงยาว เช่น เหล็กลวด การนำเข้า ขยายตัวจากผลิตภัณฑ์เหล็กโครงสร้างรูปพรรณรีดร้อน ประเภท Carbon steel เหล็กลวด และท่อเหล็กไม่มีตะเข็บ

การผลิตเหล็กและเหล็กกล้า

การผลิต ไตรมาสที่ 4 ปี 2567 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม มีค่า 81.5 ขยายตัวจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 0.5 (%YoY) และหดตัวจากไตรมาสก่อนร้อยละ 2.5(%QoQ) โดยเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน การผลิตเหล็กทรงแบน ขยายตัวร้อยละ 3.3 และการผลิตท่อเหล็กกล้าขยายตัวร้อยละ 18.8 ผลิตภัณฑ์ที่มีการขยายตัว เช่น เหล็กแผ่นเคลือบดีบุก ขยายตัวร้อยละ 27.4 เหล็กแผ่นเคลือบโครเมียมขยายตัวร้อยละ 21.4 เหล็กแผ่นรีดร้อนชนิดม้วน ขยายตัวร้อยละ 6.7 ส่วนการผลิตเหล็กทรงยาว หดตัวร้อยละ 9.6 ผลิตภัณฑ์ที่มีการหดตัว เช่น เหล็กลวด หดตัวร้อยละ 26.6 เหล็กเส้นกลมหดตัวร้อยละ 24.2 และลวดเหล็กแรงดึงสูง หดตัวร้อยละ 9.7

การบริโภคเหล็กในประเทศ

ไตรมาสที่ 4 ปี 2567มีปริมาณ 3.9 ล้านตัน ขยายตัวจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 4.3 (%YoY) และหดตัวจากไตรมาสก่อนร้อยละ 7.5 (%QoQ) โดยเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน การบริโภคขยายตัวในผลิตภัณฑ์เหล็กทรงยาวขยายตัวร้อยละ 14.2 จากการบริโภคเหล็กลวด ส่วนการบริโภคเหล็กทรงแบน หดตัวร้อยละ 1.7 จากการบริโภคเหล็กรีดร้อนแผ่นหนา เหล็กแผ่นเคลือบสังกะสีแบบจุ่มร้อน (HDG)เหล็กแผ่นเคลือบดีบุก และเหล็กแผ่นเคลือบชนิดอื่น ๆ

​การนำเข้าเหล็กและเหล็กกล้า

ไตรมาสที่ 4 ปี 2567 มีปริมาณ 2.8 ล้านตัน ขยายตัวจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 9.0 (%YoY) และหดตัวจากไตรมาสก่อนร้อยละ 9.5 (%QoQ) โดยเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน การนำเข้าเหล็กทรงยาว ขยายตัวร้อยละ 46.7 ผลิตภัณฑ์ที่การนำเข้าขยายตัวมากที่สุด คือ เหล็กโครงสร้างรูปพรรณรีดร้อน ประเภท Carbon steel ขยายตัวร้อยละ 138.6 (ประเทศหลักที่ไทยนำเข้าเพิ่มขึ้น ได้แก่ จีน อินเดีย และอังกฤษ) รองลงมา คือเหล็กลวด และท่อเหล็กไม่มีตะเข็บ ขยายตัวร้อยละ 65.8 และ53.0 ตามลำดับ ส่วนการนำเข้าเหล็กทรงแบน หดตัวร้อยละ 1.6 ผลิตภัณฑ์ที่การนำเข้าหดตัวมากที่สุด คือเหล็กแผ่นเคลือบสังกะสีแบบจุ่มร้อน (HDG) หดตัวร้อยละ 26.3 (ประเทศหลักที่ไทยนำเข้าลดลง คือ จีน เกาหลีใต้ และไต้หวัน) รองลงมา คือเหล็กแผ่นเคลือบชนิดอื่น ๆ และเหล็กแผ่นรีดร้อนกัดกรดเคลือบน้ำมัน หดตัวร้อยละ 10.7 และ 9.7 ตามลำดับ

แนวโน้มอุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้าไตรมาสที่ 1 ปี 2568

คาดการณ์การผลิตจะหดตัวเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สำหรับการบริโภคและการนำเข้ายังคงขยายตัว เนื่องจากอุตสาหกรรมเหล็กของไทยอาจได้รับผลกระทบทางอ้อมจากนโยบาย America First ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อจีนเป็นอันดับแรก โดยสหรัฐฯ นำเข้าเหล็กจากจีนมากเป็นอันดับ 3 โดยสินค้าเหล็กของจีนที่ไม่สามารถส่งไปสหรัฐฯ ต้องหาตลาดทดแทน ซึ่งมีแนวโน้มว่าจะเป็นตลาดอาเซียนรวมถึงไทย

 

อ่านต่อ: 

 

 

บทความยอดนิยม 10 อันดับ

 

อัปเดตข่าวทุกวันที่นี่ www.mreport.co.th   

Line / Facebook / X / YouTube @MreportTH