ภาวะเศรษฐกิจโลก ไตรมาส 3/2564
กองวิจัยเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) สรุปภาวะเศรษฐกิจโลกในไตรมาสที่ 3 ปี 2564 ภาพรวมเศรษฐกิจโลกมีทิศทางขยายตัวต่อเนื่อง สะท้อนได้จากการผลิตและปริมาณการค้าของกลุ่มประเทศ เศรษฐกิจหลักขยายตัวเพิ่มขึ้น ส่วนอัตราการว่างงานอยู่ในระดับทรงตัวเป็นผลจากตลาดแรงงานยังไม่สามารถฟื้นตัวได้เต็มศักยภาพ สำหรับอัตราเงินเฟ้อมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น
Advertisement | |
ด้านอัตราดอกเบี้ยนโยบายหลายประเทศทรงตัวอยู่ในระดับต่ำ โดยธนาคารกลางสหรัฐฯ คงระดับอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 0.00-0.25% อันเป็นการเสริมสภาพคล่องให้กับผู้ประกอบการ เอื้อให้ภาคธุรกิจและการลงทุนภายในประเทศดำเนินในระยะต่อไปได้
ขณะที่ราคาน้ำมันดิบมีแนวโน้มปรับราคาสูงขึ้น ส่วนหนึ่งเป็นเพราะอุปทานตึงตัวจากกำลังการผลิตลดลง โดยช่วงที่ผ่านมาสมาชิกบางส่วนของกลุ่มโอเปกพลัสเผชิญกับการแพร่ระบาดของโควิด-19 ขณะที่อุปสงค์การใช้น้ำมันเพื่อดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ มีมากขึ้น ส่งผลให้ราคาน้ำมันดิบดูไบ ไตรมาส 3 ปี 2564 เฉลี่ยอยู่ที่ 71.8 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อบาร์เรล ขยายตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ปี 2563 เฉลี่ยอยู่ที่ 43.0 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ด้านราคาน้ำมันดิบ NYMEX ช่วงเดือนกันยายนส่งมอบ เฉลี่ยอยู่ที่ 71.4 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อบาร์เรล
- น้ำมันแพง กระทบอุตสาหกรรมการผลิตอย่างไร?
- วิกฤตซัพพลายเชนโลก: ผลกระทบจากโควิด-19 ต่อธุรกิจ
- ปัญหาตู้คอนเทนเนอร์ขาดแคลน เจาะลึกตู้สินค้าหายไปไหน?
อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจโลกยังคงมีประเด็นที่ต้องเฝ้าระวัง อาทิ ความไม่แน่นอนจากการกลายพันธุ์ของเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่อาจส่งผลให้เกิดการระบาดระลอกใหม่ขึ้นอีกครั้ง ความผันผวนของเศรษฐกิจโลก ตลอดจน ภาคการผลิตและส่งออกประสบปัญหาต้นทุนปรับตัวเพิ่มขึ้นตามราคาน้ำมัน ความล่าช้าในการขนส่ง และค่าระวางเรือที่ปรับสูงขึ้น เป็นต้น ทั้งนี้ ภายใต้นโยบายการเปิดประเทศตามสถานการณ์แพร่ระบาดที่คลี่คลายลงและการเร่งฉีดวัคซีนอย่างต่อเนื่อง เป็นปัจจัยบวกให้การดำเนินธุรกิจในรูปแบบต่าง ๆ ขับเคลื่อนต่อไปได้ โดยเฉพาะภาคผลิตเพื่อส่งออกยังคงเติบโตตามเศรษฐกิจในประเทศคู่ค้าหลักที่ฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง
โดยสรุป ภาวะเศรษฐกิจโลก ปริมาณการค้า และภาคการผลิต ในไตรมาสที่ 3 ปี 2564 ภาพรวมเศรษฐกิจโลกฟื้นตัวอยู่ในเกณฑ์ดี เนื่องจากหลายประเทศคลายล็อกมาตรการควบคุมการแพร่ระบาด
กอปรกับปัจจัยหนุนจากนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจในแต่ละประเทศ รวมทั้ง การเร่งกระจายฉีดวัคซีนให้ทั่วถึง เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับทุกภาคส่วน ส่งผลให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจขยายตัวได้ต่อเนื่อง
อ่านย้อนหลัง:
- รายงานภาวะเศรษฐกิจโลก ไตรมาสที่ 2/2564
- รายงานภาวะเศรษฐกิจโลก ไตรมาสที่ 1/2564
- รายงานภาวะเศรษฐกิจโลก ไตรมาสที่ 4/2563
- รายงานภาวะเศรษฐกิจโลก ไตรมาสที่ 2/2563
บทความยอดนิยม 10 อันดับ
- เทคโนโลยีแห่ง G สู่ 5G เครือข่ายไร้สาย
- เทคโนโลยีสำหรับโลจิสติกส์ ทางเลือกสู่ทางรอด ปรับก่อนโดนเบียด
- ส่งออกไทย 2564 เดือน มิ.ย. ขยายตัว 43% สูงสุดรอบ 11 ปี อีกครั้ง
- นิยามใหม่ SME ใช้ “รายได้” เป็นตัวกำหนด
- ธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 ปี 2564
- กลยุทธ์การ PR และ Communication ในยุคดิจิทัล
- แบตเตอรี่ลิเธียมไอออนคืออะไร ตลาดจะก้าวไปในทางไหนในปี 2030?
- ปัญหาตู้คอนเทนเนอร์ขาดแคลน เจาะลึกตู้สินค้าหายไปไหน?
- สรุปยอดขายรถยนต์ 2564 ครึ่งปีแรก
- วิกฤตซัพพลายเชนโลก: ผลกระทบจากโควิด-19 ต่อธุรกิจ
อัปเดตข่าวทุกวันที่นี่ www.mreport.co.th
Line / Facebook / Twitter / YouTube @MreportTH