ดัชนี FBCI วัดความเชื่อมั่นนักธุรกิจต่างชาติ ไตรมาส 3 เพิ่มขึ้น อยู่ที่ระดับ 41.1
♦ หอการค้าไทย เผยดัชนีสำรวจความเชื่อมั่นนักธุรกิจต่างประเทศ (FBCI) ไตรมาส 3 อยู่ในระดับ 41.7 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อน
♦ ขณะที่ ดัชนีความเชื่อมั่นเศรษฐกิจไทยปรับตัสดีขึ้นมาอยู่ในระดับ 44.9 ดัชนีความเชื่อมั่นธุรกิจอยู่ในระดับ 38.4 สะท้อนความกังวัลของนักธุรกิจต่างชาติต่อเศรษฐกิจไทย เป็นไปในทิศทางบวกมากขึ้น
นายเกษมสิทธิ์ ปฐมศักดิ์ กรรมการรองเลขาธิการสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และประธานคณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาหอการค้าต่างประเทศ สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย นายสแตนลี่ย์ คัง ประธาน หอการค้าร่วมต่างประเทศในประเทศไทย และ รศ.ดร.ธนวรรธน์ พลวิชัย อธิการบดี มหาวิทยาลัยหอการค้าไทยและประธานที่ปรึกษาศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ร่วมกันเปิดเผย ดัชนีความเชื่อมั่นนักธุรกิจต่างประเทศ (FBCI) ไตรมาสที่ 3/2564 ซึ่งจัดทำขึ้นเป็นครั้งที่สาม โดยสำรวจความเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจไทยและความเชื่อมั่นธุรกิจของนักลงทุนต่างชาติ หอการค้าต่างประเทศที่ลงทุนในประเทศไทยกว่า 41 ประเทศ ซึ่งมีสมาชิกรวม 7,810 สถานประกอบการ และรายงานผลสำรวจทุกไตรมาสเพื่อสะท้อนภาพการค้า การลงทุน พร้อมทั้งข้อเสนอและสิ่งที่ต้องการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามาสนับสนุน เพื่อส่งเสริมให้เกิดการลงทุนในไทยเพิ่มขึ้น
- ดัชนี FBCI วัดความเชื่อมั่นนักธุรกิจต่างชาติ ไตรมาส 2 ลดลง อยู่ที่ระดับ 27.7
- ดัชนี FBCI วัดความเชื่อมั่นนักธุรกิจต่างชาติ ต่ำกว่าคาด อยู่ระดับ 29.8
ผลสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นนักธุรกิจต่างประเทศ (Foreign Business Confidence Index : FBCI) โดยทำการสำรวจกลุ่มตัวอย่าง 29 ประเทศ จำนวน 66 ราย ในเดือนสิงหาคม - ตุลาคม 2564 พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นนักธุรกิจต่างประเทศ (FBCI) ประจำไตรมาสที่ 3/2564 ปรับตัวดีขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 41.7 ดัชนีความเชื่อมั่นเศรษฐกิจไทยอยู่ที่ระดับ 44.9 และดัชนีความเชื่อมั่นธุรกิจอยู่ที่ระดับ 38.4 โดยเศรษฐกิจไทยได้ผ่านพ้นจุดต่ำสุดไปแล้ว
สำหรับความกังวัลของนักธุรกิจต่างชาติต่อเศรษฐกิจไทยทั้งด้านภาวะเศรษฐกิจ กำลังซื้อในประเทศ การลงทุนจากต่างประเทศ สถานการณ์การท่องเที่ยง สภาพการจ้างงาน เป็นไปทางบวก ส่งผลให้ดัชนีความเชื่อมั่นเศรษฐกิจไทยอยู่ในระดับ 44.9 ขณะที่ปัจจัยด้านธุรกิจโดยเฉพาะผลกำไรและสภาพคล่องของธุรกิจส่งผลให้ดัชนีความเชื่อมั่นธุรกิจอยู่ที่ระดับ 38.4 โดยค่าดัชนีฯ ปรับตัวดีขึ้นกว่าไตรมาสที่ผ่านมา ซึ่งอยู่ในระดับ 28.5 และ 26.8 ตามลำดับ ขณะที่ผลสำรวจประเด็นปัญหาทางเศรษฐกิจและสังคมที่ต้องได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วน คือ
- ภาคธุรกิจการท่องเที่ยวที่ซบเซาจากการระบาด COVID-19 และการปิดประเทศทำให้นักท่องเที่ยวไม่สามารถเดินทางเข้ามาได้ 21.7%
- การขาดทุนหมุนเวียนในการดำเนินธุรกิจของ SMEs และการเข้าถึงแหล่งเงินทุนดอกเบี้ยต่ำ (Soft Loan) ที่ยากลำบาก 17.4%
- ข้อจำกัดและมาตรการที่เข้มงวดในการรับมือโควิด-19 ส่งผลต่อความยากลำบากในการลงทุนและดำเนินธุรกิจ 15.9%
- สภาวะเศรษฐกิจซบเซาจากการระบาด COVID-19 และการปิดประเทศ 13%
- การว่างงานของแรงงานจากสถานการณ์ COVID-19 ส่งผลต่ออำนาจซื้อ 11.6%
- การบริหารจัดการวัคซีนที่ล่าช้าไม่ทั่วถึงและไม่เป็นไปตามแผนที่กำหนด 10.1%
- เสถียรภาพด้านการเมือง 5.8%
- อื่น ๆ 4.3%
นอกจากนี้ ยังมีผลสำรวจประเด็นปัญหาทางธุรกิจที่ต่างชาติยังต้องเผชิญอยู่ ได้แก่
- ความเสี่ยงในการดำเนินธุรกิจ จากต้นทุนการดำเนินการที่สูงขึ้น อาทิเช่น ค่าขนส่ง ค่าเงินที่ผันผวน ภาระทางภาษี และการขาดแรงงานในการผลิต 21.7%
- ธุรกิจขาดสภาพคล่อง ไม่สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนจากสถาบันทางการเงินได้ รวมถึงขาดการสนับสนุนจากทางภาครัฐ 18.1%
- ธุรกิจคู่ค้าส่วนใหญ่ปิดตัวลงเป็นการชั่วคราวหรือถาวร ส่งผลให้เกิดการหยุดชะงักของห่วงโซ่อุปทาน 15.7%
- ผลกระทบจากมาตรการล็อกดาวน์ เช่น ข้อจำกัดในการเดินทาง รวมถึงความไม่แน่นอนของการเปิดประเทศ 14.5%
- ผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ยังคงควบคุมไม่ได้ 13.3%
- ตลาดซบเซา คำสั่งซื้อจากทั้งในประเทศและต่างประเทศลดลง เป็นผลมาจากเศรษฐกิจที่ซบเซา ทำให้เกิดความไม่แน่นอนทางด้านคำสั่งซื้อ 9.6%
- ไม่สามารถเข้าถึงวัคซีนที่มีคุณภาพได้อย่างรวดเร็วและทั่วถึง ทั้งกับผู้บริหารและพนักงาน 2.4%
- อื่น ๆ 4.8%
สำหรับประเด็นหลักที่นักธุรกิจต่างชาติต้องการให้รัฐบาลสนับสนุนเพื่อแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจและสังคมไทย คือ มีแผนควบคุม COVID-19 ที่ชัดเจนและเริ่มเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยว 19.3% นโยบายเงินอุดหนุน ค่าจ้าง ค่าเช้า ฯลฯ ต่อภาคธุรกิจและ SMEs ที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 17.5% แก้ไขกฎระเบียบที่ซับซ้อนในการเข้ามาลงทุนของนักลงทุนต่างชาติ รวมถึงสนับสนุนสิทธิประโยชน์ในการลงทุน 15.8% การจัดหาวัคซีนเพื่อนำมาฉีดให้ประชาชนในประเทศให้เร็วและทั่วถึงที่สุด 14% ผ่อนปรนมาตรการ COVID-19 เพื่อให้ภาคธุรกิจดำเนินกิจการได้สะดวกขึ้น 10.5% กำหนดมาตรการฟื้นฟูและกระตุ้นเศรษฐกิจ ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว 8.8% สิทธิประโยชน์ทางภาษีในการลงทุนเพื่อดึงดูดนักลงทุนในประเทศและนักลงทุกนจากต่างประเทศ 8.8% อื่น ๆ 5.3%
ส่วนประเด็นหลักเพื่อให้รัฐบาลแก้ไขปัญหาทางธุรกิจ ได้แก่ ปรับปรุงกฎหมายกฎระเบียบ ที่เกี่ยวกับการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว (FBA) ให้มีความทันสมัย เอื้อต่อการลงทุน รวมถึงกระบวนการขอ Visa และ Work Permit ง่ายขึ้น 20.5% สร้างการเข้าถึงแหล่งเงินทุน สนับสนุนซอฟต์โลน และมาตรการพักทรัพย์พักหนี้ แก่ผู้ประกอบการที่ได้ผลกระทบ โดยเฉพาะผู้ประกอบการ SMEs ทั้งธุรกิจไทยและต่างประเทศ 19.2% สร้างเสถียรภาพทางการเมือง ลดขั้นตอนในการดำเนินงาน ภายใต้ประสิทธิภาพ 11% ควบคุมการแพร่ระบาดและเร่งจัดหาวัคซีนป้องกันโควิด-19 เพิ่มเติมโดยเร็ว เพื่อกระจายให้กับทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ 8.2% ลดหย่อนหรือยกเว้นการเก็บภาษีทุกรูปแบบ ต่อผู้ได้รับผลกระทบ 8.2% เปิดประเทศภายใต้มาตรการความปลอดภัย 8.2% จัดแพ็คเกจกระตุ้นเศรษฐกิจ อาทิเช่น มาตรกระตุ้นการใช้จ่ายจากทั้งภาครัฐและเอกชน 8.2% ผ่อนคลายมาตรการการกักโรค เพื่ออำนวยความสะดวกในการดำเนินธุรกิจ 6.8% อื่น ๆ 9.6%
บทความยอดนิยม 10 อันดับ
- เทคโนโลยีแห่ง G สู่ 5G เครือข่ายไร้สาย
- เทคโนโลยีสำหรับโลจิสติกส์ ทางเลือกสู่ทางรอด ปรับก่อนโดนเบียด
- ส่งออกไทย 2564 เดือน มิ.ย. ขยายตัว 43% สูงสุดรอบ 11 ปี อีกครั้ง
- นิยามใหม่ SME ใช้ “รายได้” เป็นตัวกำหนด
- ธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 ปี 2564
- กลยุทธ์การ PR และ Communication ในยุคดิจิทัล
- แบตเตอรี่ลิเธียมไอออนคืออะไร ตลาดจะก้าวไปในทางไหนในปี 2030?
- ปัญหาตู้คอนเทนเนอร์ขาดแคลน เจาะลึกตู้สินค้าหายไปไหน?
- สรุปยอดขายรถยนต์ 2564 ครึ่งปีแรก
- วิกฤตซัพพลายเชนโลก: ผลกระทบจากโควิด-19 ต่อธุรกิจ
อัปเดตข่าวทุกวันที่นี่ www.mreport.co.th
Line / Facebook / Twitter / YouTube @MreportTH