349-COVID-19-มาตรการเยียวยาผู้ประกอบการ-SMEs

เปิดข้อเสนอ มาตรการเยียวยาผู้ประกอบการ SMEs ในระยะวิกฤต จากผลกระทบ COVID-19

อัปเดตล่าสุด 21 เม.ย. 2563
  • Share :

เมื่อวันที่ 20 เมษายน 2563 ที่ผ่านมา คณะทำงานกลุ่มมาตรการเพื่อธุรกิจ SMEs ภายใต้คณะที่ปรึกษาด้านธุรกิจภาคเอกชน ศูนย์บริหารสถานการการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ที่มีนายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธาน สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เป็นประธานกลุ่ม ได้เสนอมาตรการเยียวยาผู้ประกอบการ SMEs ในระยะวิกฤต จากผลกระทบ COVID-19 โดยแบ่งออกเป็น 5 ด้าน มีรายละเอียดสำคัญ ดังต่อไปนี้

1. มาตรการด้านประกันสังคม/กองทุน/แรงงาน

  1. ลดเงินสมทบประกันสังคมนายจ้างจาก 4% เหลือ 1% ระยะเวลา 180 วัน
  2. บริษัทนำค่าใช้จ่ายด้านค่าจ้างแรงงานในช่วงโควิด หักภาษีได้ 3 เท่า ระยะเวลา 3 เดือน โดยขอให้เทียบกับเดือนมี.ค. 63 (จากเดิมที่สรรพากรกำหนดเดือนธ.ค.62)
  3. กรณีเรื่องกองทุนสำรองเลี้ยงชีพให้ยังคงรักษาสถานภาพไว้เป็นการชั่วคราวแม้ว่านายจ้างหรือลูกจ้างจะหยุดส่ง หรือ จ่ายสมทบเป็นการชั่วคราว
  4. อนุญาตให้ปรับการจ้างงานเป็นรายชั่วโมงได้ ในอัตรา 40–41 บาท/ชม. โดยจ้างขั้นต่ำ 4-8 ชม.
  5. ผ่อนผันการต่อใบอนุญาตแรงงานต่างชาติ (Work Permit) รวมถึงแรงงานต่างด้าว ไป 6 เดือน
  6. ช่วยเหลือแรงงานที่เงินเดือนไม่เกิน 15,000 บาท โดยขอให้รัฐจ่าย 50% บริษัทจ่าย 25% สำหรับบริษัทที่ได้รับผลกระทบจากโควิดและยังมีการผลิตอยู่บางส่วน
  7. ให้รัฐช่วยจ่ายเงินชดเชย กรณีเลิกจ้างพนักงาน หากมีความจำเป็นหรือได้รับผลกระทบ ระยะเวลา 3 เดือน

 

2. มาตรการด้านภาษี

  1. ให้ภาคเอกชนหักค่าใช้จ่ายได้ 3 เท่า กรณีใช้งบประมาณเพื่อป้องกัน COVID-19
  2. ขยายเพดานค่าลดหย่อนภาษีการกุศลของนิติบุคคลและบุคคลธรรมดา ในปี 2563 โดยไม่จำกัดเพดาน
  3. ให้ภาคเอกชน ผู้ให้เช่าสถานที่ นำส่วนลดค่าเช่าและค่าบริการที่ให้กับ SMEs มาลดหย่อนภาษีได้ 3  เท่า 
  4. ปรับอัตราภาษี หัก ณ ที่จ่าย ทุกประเภทเป็นอัตราเดียว คือ 1% เฉพาะปี 63
  5. ให้กรมสรรพากรยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลแก่ SME 2 ปีทุกธุรกิจ (ปีภาษี 63-64) โดยจะต้องเข้าระบบ E-Filling
  6. ให้ขยายระยะเวลาการใช้ “ขาดทุนสุทธิที่ปรับปรุงตามประมวลรัษฎากร จากยกมาไม่เกิน 5 รอบ เป็น 7 รอบ”
  7. ให้ภาคเอกชนหักค่าใช้จ่ายได้ 3 เท่า กรณีใช้ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยวและสัมมนา
  8. ให้กรมสรรพากรเร่งรัดการคืนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีเงินได้นิติบุคคล ส่วนที่ชำระเกิน ภายใน 60 วัน นับจากวันที่ยื่นแบบ

 

3. มาตรการด้านสาธารณูปโภค/ที่ดิน

  1. ขอเลื่อนการจ่ายค่าน้ำ-ค่าไฟ ออกไป 4 เดือน
  2. ปรับลดค่าไฟฟ้าลง 5% ทั่วประเทศและขอให้ค่า FT สะท้อนราคาน้ำมันที่ลดลง
  3. ลดค่าจดจำนองและค่าโอนที่ดินเหลือ 0.01% เฉพาะปี 63
  4. ขอให้คิดค่าใช้กระแสไฟฟ้าในแต่ละเดือนของธุรกิจจากการใช้กระแสไฟฟ้าจริง โดยยกเลิกการคิดจากเกณฑ์การใช้กระแสไฟฟ้าขั้นต่ำตามระบบ Demand Charge จนถึงสิ้นปี 2563
  5. ขอให้พิจารณาคืนเงินประกันการใช้ไฟฟ้าให้กับธุรกิจเอสเอ็มอีที่ใช้มิเตอร์ขนาดไม่เกิน 50 แอมป์ด้วย เพื่อจะได้นำมาเป็นเงินหมุนเวียนในธุรกิจช่วงวิกฤติ
  6. ชะลอการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างออกไป 1 ปี

 

4. มาตรการด้านการเงิน

  1. สินเชื่อที่รัฐให้เพิ่มสภาพคล่อง ขอให้ บสย. ค้ำประกันวงเงินกู้เพิ่มเป็น 80%
  2. ขอให้ธนาคารพานิชย์และรัฐ ลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้เดิม ให้ลดเพิ่มจาก 0.4% เป็น 1%
  3. ขอให้สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ยกเว้นค่าเบี้ยประกันทุกประเภทในช่วงที่ธุรกิจปิดให้บริการ
  4. ขอให้ภาครัฐร่วมลงทุนกับเอกชนในการจัดตั้ง Private Equity Trust ภายใต้กำกับของ กลต. โดยเข้าไปถือหุ้นในธุรกิจโรงแรมที่มีปัญหาเพื่อให้สามารถดำเนินธุรกิจต่อได้
  5. สถาบันการเงินปรับลดระยะเวลาพิจารณาประวัติการผิดนัดชำระหนี้ในเครดิตบูโรจาก 3 ปี เหลือ 1 ปี

 

5. มาตรการอื่น ๆ

  1. ให้รัฐจัดสรรงบประมาณในการจ้างงาน ซื้อสินค้าจากผู้ผลิตในประเทศ (Made-in-Thailand) และให้เพิ่มแต้มต่อสำหรับธุรกิจ SMEs
  2. เร่งการใช้จ่ายงบประมาณภาครัฐ เช่น ขอให้ภาครัฐเร่งเบิกจ่ายเงินให้กับผู้รับเหมาที่ได้ดาเนินการตามสัญญาแล้ว เพื่อให้มีเงินมาหมุนเวียนและเพิ่มสภาพคล่องให้กับผู้ประกอบการ
  3. เลื่อนการบังคับใช้ กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล(PDPA)
  4. ขอขยายสัญญาจัดซื้อจัดจ้างกับภาครัฐออกไป 4 เดือน
  5. สนับสนุนให้ประชาชนและหน่วยงานประเมินความเสี่ยงตัวเองโดยใช้ Application เช่น หมอชนะ
  6. สนับสนุนการตั้งกองทุนนวัตกรรม โดยผู้บริจาคหักเป็นค่าใช้จ่ายทางภาษีได้ 3 เท่า
  7. หน่วยงานภาครัฐที่มีภารกิจติดต่อกับภาคเอกชน สามารถให้บริการทางออนไลน์
  8. ขอให้ห้างสรรพสินค้า บริษัทใหญ่ รวมถึงบริษัทในเครือ ไม่เลื่อนการชำระเงินให้กับซัพพลายเออร์ โดยเฉพาะ SMEs

 

อ่านต่อ: