ภาวะเศรษฐกิจโลก ไตรมาส 4/2564
กองวิจัยเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) สรุปภาวะเศรษฐกิจโลกในไตรมาสที่ 4 ปี 2564 ภาพรวมภาวะเศรษฐกิจโลกขยายตัวต่อเนื่อง สะท้อนได้จากการผลิต การส่งออก และการนําเข้าของประเทศเศรษฐกิจหลักขยายตัวในทิศทางเดียวกัน
สําหรับอัตราการว่างงานอยู่ในระดับต่ำกว่าไตรมาสก่อนหน้า อานิสงส์จากนโยบายเปิดประเทศและการผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์ เป็นปัจจัยหนุนให้แรงงานทั้งในภาคการผลิตและภาคบริการทยอยฟื้นตัว ในส่วนของอัตราดอกเบี้ยนโยบายทรงตัวอยู่ในระดับต่ำ เพื่อกระตุ้นการลงทุนของภาคเอกชน ขณะที่อัตราเงินเฟ้อมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น
Advertisement | |
ราคาน้ํามันดิบมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นจากการคลายความกังวลต่อสถานการณ์การแพร่ระบาดเป็นผลให้อุปสงค์การใช้น้ํามันเพิ่มขึ้นตามกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ขยายตัว ประกอบกับอุปทานการผลิตตึงตัวเนื่องจากกลุ่มโอเปกและประเทศพันธมิตรดําเนินการผลิตแบบค่อยเป็นค่อยไปเป็นเหตุให้ปริมาณน้ํามันดิบในตลาดชะลอตัวลง ส่งผลให้ราคาน้ํามันดิบดูไบ ไตรมาส 4 ปี 2564 เฉลี่ยอยู่ที่ 78.4 ดอลลาร์สหรัฐฯ /บาร์เรล ขยายตัวขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 4 ปี 2563 เฉลี่ยอยู่ที่ 44.6 ดอลลาร์สหรัฐฯ /บาร์เรล ด้านราคาน้ํามันดิบ NYMEX ช่วงเดือนธันวาคมส่งมอบเฉลี่ยอยู่ที่ 71.6 ดอลลาร์สหรัฐฯ /บาร์เรล
อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจโลกมีประเด็นที่ต้องเฝ้าระวัง อาทิ การกลายพันธุ์ของโควิดสายพันธุ์โอมิครอน อาจทําให้ห่วงโซ่อุปทานหยุดชะงัก ราคาพลังงานที่มีแนวโน้มปรับตัวเพิ่มขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้ราคาสินค้าปรับตัวตามไปด้วย รวมถึงความกังวลต่อความขัดแย้งด้านภูมิรัฐศาสตร์ที่อาจกดดันให้กําลังซื้อของผู้บริโภคในระยะข้างหน้าเติบโตได้ในกรอบที่จํากัด
ทั้งนี้ปัจจัยบวกจากอุปสงค์ภายในประเทศและประเทศคู่ค้าของไทยมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้น รวมถึง มาตรการฟื้นฟูเศรษฐกิจของภาครัฐที่ทยอยดําเนินการต่อเนื่องและการฉีดวัคซีนที่แพร่หลายมากขึ้น ล้วนเป็นปัจจัยผลักดันให้กิจกรรมทางธุรกิจและภาคการผลิตมีโอกาสเติบโตต่อไปได้
- น้ำมันแพง กระทบอุตสาหกรรมการผลิตอย่างไร?
- วิกฤตซัพพลายเชนโลก: ผลกระทบจากโควิด-19 ต่อธุรกิจ
- อะลูมิเนียมแพงสุดรอบ 14 ปี เซ่นพิษรัสเซีย-ยูเครน
โดยสรุป ภาวะเศรษฐกิจโลก ปริมาณการค้า และภาคการผลิต ในไตรมาสที่ 4 ปี 2564 ภาพรวมเศรษฐกิจโลกฟื้นตัวต่อเนื่อง ภายหลังหลายประเทศผ่อนคลายมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดและการฉีดวัคซีนครอบคลุมภาคประชาชนมากขึ้น ส่งผลให้ธุรกิจหลายประเภทดําเนินการได้ใกล้เคียงภาวะปกติ รวมทั้งภาคการผลิต การค้า และอัตราการว่างงานที่ปรับตัวดีขึ้น แม้ด้านอัตราเงินเฟ้อจะปรับตัวสูงขึ้นก็ตาม
อ่านย้อนหลัง:
- รายงานภาวะเศรษฐกิจโลก ไตรมาสที่ 3/2564
- รายงานภาวะเศรษฐกิจโลก ไตรมาสที่ 2/2564
- รายงานภาวะเศรษฐกิจโลก ไตรมาสที่ 1/2564
บทความยอดนิยม 10 อันดับ
- เทคโนโลยีแห่ง G สู่ 5G เครือข่ายไร้สาย
- เทคโนโลยีสำหรับโลจิสติกส์ ทางเลือกสู่ทางรอด ปรับก่อนโดนเบียด
- ส่งออกไทย 2564 เดือน มิ.ย. ขยายตัว 43% สูงสุดรอบ 11 ปี อีกครั้ง
- นิยามใหม่ SME ใช้ “รายได้” เป็นตัวกำหนด
- ธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 ปี 2564
- กลยุทธ์การ PR และ Communication ในยุคดิจิทัล
- แบตเตอรี่ลิเธียมไอออนคืออะไร ตลาดจะก้าวไปในทางไหนในปี 2030?
- ปัญหาตู้คอนเทนเนอร์ขาดแคลน เจาะลึกตู้สินค้าหายไปไหน?
- สรุปยอดขายรถยนต์ 2564 ครึ่งปีแรก
- วิกฤตซัพพลายเชนโลก: ผลกระทบจากโควิด-19 ต่อธุรกิจ
อัปเดตข่าวทุกวันที่นี่ www.mreport.co.th
Line / Facebook / Twitter / YouTube @MreportTH