ดัชนีความเชื่อมั่นหอการค้าไทย ต.ค. 65 เพิ่มต่อเนื่องเดือนที่ 5
ดัชนีความเชื่อมั่นหอการค้าไทย (TCC Confidence Index) ประจำเดือนตุลาคม 2565 อยู่ที่ระดับ 43.1 เพิ่มขึ้น 0.6 ค่าดัชนีฯ เพิ่มขึ้นต่อเนื่องเดือนที่ 5 เอกชนวอนรัฐเยียวยาน้ำท่วม - ดูแลต้นทุนปัจจัยการผลิตของธุรกิจ พร้อมช่วย SME เข้าถึงแหล่งทุน
นายวชิร คูณทวีเทพ ผู้อำนวยการสถาบันยุทธศาสตร์การค้า มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยผลสำรวจสมาชิกผู้ประกอบการ 369 รายทั่วประเทศ ระหว่างวันที่ 24-28 ตุลาคม 2565 พบว่า ความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 5 ค่าดัชนีความเชื่อมั่นหอการค้าไทย อยู่ที่ระดับ 43.1 เพิ่มขึ้น 0.6 จากเดือนกันยายน 2565 ซึ่งอยู่ที่ระดับ 42.5 ได้ปัจจัยบวกจากการที่ ครม. เห็นชอบมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ เพื่อบรรเทาโควิด, การผ่อนคลายมาตรการในการเดินระหว่างประเทศ และยกเลิกระบบ Thailand Pass ทำให้จำนวนนักท่องเที่ยวเริ่มทยอยกลับเข้าไทยเพิ่มขึ้น, รวมถึง ยอดส่งออกไทยเดือนกันยายนที่เพิ่มขึ้น 7.83% เป็นต้น
- ดัชนีความเชื่อมั่นหอการค้าไทย ก.ย. 65 เพิ่มขึ้น 4 เดือนติด
- กกร. คงเป้า GDP ปี'65 ขยายตัว 3 - 3.5% ส่งออกยังขยายตัวได้ 7 - 8%
- ดัชนีเชื่อมั่นอุตฯ ต.ค. 65 พุ่งต่อเนื่องเดือนที่ 5 ส.อ.ท. ชงรัฐออกของขวัญปีใหม่กระตุ้นศก.
ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อดัชนีความเชื่อมั่นของหอการค้าไทย
ปัจจัยด้านลบ
- ความกังวลต่อเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวช้า ตลอดจนปัญหาค่าครองชีพและราคาสินค้าที่ยังทรงตัวอยู่ในระดับสูง
- สถานการณ์น้ำท่วมที่เกิดขึ้นในหลายจังหวัดในพื้นที่ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก ที่สร้างความเสียหายต่อทรัพย์สิน
- ราคาน้ำมันขายปลีกแก๊สโซฮอล ออกเทน 91 (E10) และแก๊สโซฮอล ออกเทน 95 (E10) ในประเทศปรับตัวเพิ่มขึ้นประมาณ 1.20 บาทต่อลิตร ราคาน้ำมันดีเซลขายปลีกในประเทศ ยังคงทรงตัวจากเดือนที่ผ่านมา โดยอยู่ที่ระดับ 34.94 บาทต่อลิตร
- ความกังวลเกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ยขาขึ้นของประเทศไทย ที่ส่งผลต่อต้นทุนการดำเนินงานของธุรกิจ
- การปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ โดยกำหนดอัตราค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำทั่วประเทศอยู่ที่ 328-354 บาทต่อวัน มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2565
- ค่าเงินบาทปรับตัวอ่อนค่าขึ้นเล็กน้อยจากระดับ 37.044 ฿/$ ณ สิ้นเดือน ก.ย. 65 เป็น 37.920 ฿/$ ณ สิ้นเดือน ต.ค. 65
- สถานการณ์สงครามระหว่างรัสเซียและยูเครน รวมถึงจีนกับไต้หวันที่อาจส่งผลให้ราคาน้ำมันโลกมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น
- ความวิตกกังวลต่อสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19
ปัจจัยด้านบวก
- ครม. เห็นชอบมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ เพื่อบรรเทาผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 และเป็นการแบ่งเบาภาระค่าครองชีพของประชาชน
- การปรับขึ้นค่าแรงขึ้นต่ำทำให้แรงงานมีอำนาจซื้อมากขึ้น
- ศบค. ได้ผ่อนคลายมาตรการในการเดินระหว่างประเทศ และยกเลิกระบบ Thailand Pass พร้อมทั้งปรับระดับพื้นที่สถานการณ์เป็นระดับเฝ้าระวัง (สีเขียว) ทั้งประเทศ ตลอดจนมาตรการการใส่หน้ากากอนามัยให้เป็นโดยความสมัครใจ เพื่อให้ประชาชนและผู้ประกอบการได้ใช้ชีวิตใกล้เคียงปกติ
- จำนวนนักท่องเที่ยวเริ่มทยอยกลับเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทย
- การส่งออกของไทยเดือน ก.ย. 65 ขยายตัวร้อยละ 7.83 มูลค่าอยู่ที่ 24,919.31 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และการนำเข้าขยายตัวร้อยละ 24.67 มีมูลค่าอยู่ที่ 25,772.48 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ส่งผลให้ดุลการค้าขาดดุล 853.17 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
- SET Index เดือน ต.ค. 65 ปรับตัวเพิ่มขึ้น 19.25 จุด จาก 1,589.51 ณ สิ้นเดือน ก.ย. 65 เป็น 1,608.76 ณ สิ้นเดือน ต.ค. 65
- ราคาพืชผลทางการเกษตรหลายรายการปรับตัวดีขึ้นหรือทรงตัวในระดับที่ดี โดยเฉพาะข้าว มันสำปะหลัง และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ส่งผลให้เกษตรกรเริ่มมีรายได้สูงขึ้น
ข้อเสนอแนะต่อภาครัฐ และแนวทางการดำเนินการของภาคเอกชนในการแก้ไขปัญหา
- มาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการและประชาชนที่ได้รับความเสียหายจากสถานการณ์น้ำท่วมหรือน้ำป่าไหลหลากในหลายจังหวัด
- มาตรการดูแลต้นทุนของปัจจัยการผลิตของธุรกิจ
- รักษาเสถียรภาพค่าเงินบาทไม่ให้ผันผวน และให้เอื้อต่อธุรกิจส่งออกนำเข้า
- มาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการ SMEs โดยเฉพาะทางด้านการตลาด และมาตรฐานการผลิตรวมทั้งการเข้าถึงแหล่งสินเชื่อ
- ควรจัดการปัญหาหนี้ครัวเรือนทั้งระบบโดยปรับโครงสร้างหนี้ให้สอดคล้องกับรายได้
- มาตรการรองรับและการจัดการระบบเพื่อรองรับนักท่องเที่ยวต่างชาติที่จะเดินทางเข้ามาในประเทศในช่วงปลายปี
#หอการค้า #หอการค้าไทย #สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย #ภาคเอกชน #โควิด-19 #วิกฤตโควิด 19 ผลกระทบ #ผลกระทบธุรกิจจากโควิด-19 #บรรเทาผลกระทบโควิด #เยียวยาโควิด #มาตรการควบคุมการระบาด #GDP #จีดีพี #เศรษฐกิจไทย
บทความยอดนิยม 10 อันดับ
- สรุปยอดขายรถยนต์ ครึ่งปีแรก 2022
- ภาพรวมอุตสาหกรรมโซลาร์เซลล์ของไทย
- สถานการณ์ชิปขาดตลาด 2022 จะสิ้นสุดเมื่อไหร่?
- 12 เทรนด์เทคโนโลยีมาแรงแห่งปี 2022
- 10 ตัวอย่างที่นำ 5G มาใช้งานได้อย่างน่าสนใจและประสบผลสำเร็จ
- เทคโนโลยีแห่ง G สู่ 5G เครือข่ายไร้สาย
- แบตเตอรี่ลิเธียมไอออนคืออะไร ตลาดจะก้าวไปในทางไหนในปี 2030?
- เทคโนโลยีสำหรับโลจิสติกส์ ทางเลือกสู่ทางรอด ปรับก่อนโดนเบียด
- นิยามใหม่ SME ใช้ “รายได้” เป็นตัวกำหนด
- FTA ไทย มีกี่ประเทศ พอหรือไม่ ทำไมต้องคิดเรื่อง CPTPP
อัปเดตข่าวทุกวันที่นี่ www.mreport.co.th
Line / Facebook / Twitter / YouTube @MreportTH