ดัชนีความเชื่อมั่นหอการค้าไทย 2565 พฤษภาคม

ดัชนีความเชื่อมั่นหอการค้าไทย พ.ค. 65 ลดต่อเนื่องเดือนที่ 5 วิกฤตน้ำมัน กระทบต้นทุนผู้ผลิต

อัปเดตล่าสุด 9 มิ.ย. 2565
  • Share :

ดัชนีความเชื่อมั่นหอการค้าไทย (TCC Confidence Index) ประจำเดือนพฤษภาคม 2565 อยู่ที่ระดับ 35.2 หดตัว 0.2 ค่าดัชนีฯ ลดลง 5 เดือนติด เป็นผลจากภาวะเศรษฐกิจที่ยังชะลอตัว ปัญหาค่าครองชีพและราคาสินค้ายังทรงตัวในระดับสูง รวมถึง วิกฤตน้ำมันแพงที่ดันต้นทุนผู้ผลิตเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง

ผศ.ดร.ธนวรรธน์ พลวิชัย อธิการบดี มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และประธานที่ปรึกษาศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยผลสำรวจสมาชิกผู้ประกอบการ 369 รายทั่วประเทศ ระหว่างวันที่ 23-30 พฤษภาคม 2565 พบว่า ความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการปรับตัวลดลง ค่าดัชนีความเชื่อมั่นหอการค้าไทย อยู่ที่ระดับ 35.2 ลดลง 0.2 จากเดือนเมษายน 2565 ซึ่งอยู่ที่ระดับ 35.4 ลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 5 เป็นผลจากความกังวลทางด้านเศรษฐกิจที่ยังชะลอตัวลง , ปัญหาค่าครองชีพและราคาสินค้าที่ยังอยู่ในระดับสูง , สงครามระหว่างรัสเซียและยูเครนที่ดันราคาน้ำมันเพิ่มสูงต่อเนื่อง และความวิตกกังวลต่อสถานการณ์โควิด เป็นต้น

ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อดัชนีความเชื่อมั่นของหอการค้าไทย

ปัจจัยด้านลบ

  • ความกังวลของเศรษฐกิจยังชะลอตัวลง ตลอดจนปัญหาค่าครองชีพและราคาสินค้าที่ยังทรงตัวอยู่ในระดับสูง
  • สถานการณ์สงครามระหว่างรัสเซียและยูเครน ที่อาจส่งผลให้ราคาน้ำมันโลกมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น และกระทบต่อต้นทุนการผลิตสินค้า
  • ความวิตกกังวลต่อสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19
  • ราคาน้ำมันขายปลีกในประเทศปรับตัวเพิ่มขึ้นโดยแก๊สโซฮอล ออกเทน 91 (E10) และแก๊สโซฮอล ออกเทน 95 (E10) ปรับตัวเพิ่มขึ้นประมาณ 4.20 บาทต่อลิตร และราคาน้ำมันดีเซลขายปลีกในประเทศปรับตัว เพิ่มขึ้นประมาณ 3.00 บาทต่อลิตร เมื่อเทียบกับเดือนที่ผ่านมา
  • SET Index เดือน พ.ค. 65 ปรับตัวลดลง 4.03 จุด จาก 1,667.44 ณ สิ้นเดือน เม.ย. 65 เป็น 1,663.41 ณ สิ้นเดือน พ.ค. 65
  • ค่าเงินบาทปรับตัวอ่อนค่าขึ้นเล็กน้อยจากระดับ 33.821 ฿/$ ณ สิ้นเดือน เม.ย. 65 เป็น 34.416 ฿/$ ณ สิ้นเดือน พ.ค. 65

ปัจจัยด้านบวก

  • ศบค. ได้ผ่อนคลายมาตรการในการเดินทางเข้าประเทศไทย โดยยกเลิกการกักตัวทุกรูปแบบ ส าหรับคนไทยไม่ต้องลงทะเบียนผ่านระบบ Thailand Pass และไม่ต้องตรวจหาเชื้อ โควิดก่อนเข้าประเทศ ส่วนชาวต่างชาติยังต้องลงทะเบียนในระบบ Thailand Pass
  • ผ่อนคลายให้เปิดสถานบันเทิง ผับ บาร์ คาราโอเกะ หรือสถานที่อื่นที่มีลักษณะคล้ายกัน สามารถกลับมาเปิดบริการได้ในพื้นที่เฝ้าระวัง (สีเขียว) และพื้นที่นำร่องท่องเที่ยว (สีฟ้า)
  • การส่งออกของไทยเดือน เม.ย. 65 ขยายตัวร้อยละ 9.90 มูลค่าอยู่ที่ 23,521.42 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และการนำเข้าขยายตัวร้อยละ 21.5 มีมูลค่าอยู่ที่ 25,429.82 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ส่งผลให้ดุลการค้าขาดดุล 1,908.40 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
  • ราคาพืชผลทางการเกษตรหลายรายการปรับตัวดีขึ้นหรือทรงตัวในระดับที่ดีโดยเฉพาะข้าว ปาล์มน้ำมัน ยางพารา มันส าปะหลัง และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์

ข้อเสนอแนะต่อภาครัฐ และแนวทางการดำเนินการของภาคเอกชนในการแก้ไขปัญหา

  • ภาครัฐควรดูแลเรื่องค่าใช้จ่ายด้านพลังงานที่มีการปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
  • ภาครัฐควรเข้ามามีส่วนช่วยประคับประคองราคาสินค้าและบริการที่จ าเป็น รวมถึงลดภาระค่าครองชีพของประชาชนให้ต่ำลง
  • แนวทางในการจัดการระบบต้อนรับนักท่องเที่ยวที่จะเดินทางเข้ามาในประเทศให้มีความกระชับ และทำให้ชาวต่างชาติเข้าใจง่าย
  • มาตรการป้องกันและดูแลระดับของน้ำ ไม่ให้มีมากจนส่งผลกระทบถึงประชาชนส่วนรวม
  • การผ่อนคลายการดำเนินธุรกิจ
  • การกระตุ้นประชาชนในการให้ทยอยฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นให้มากขึ้น เพื่อให้มีภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัสได้มากขึ้น

 

#หอการค้า #หอการค้าไทย #สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย #ภาคเอกชน #โควิด-19 #วิกฤตโควิด 19 ผลกระทบ #ผลกระทบธุรกิจจากโควิด-19 #บรรเทาผลกระทบโควิด #เยียวยาโควิด #มาตรการควบคุมการระบาด #GDP #จีดีพี #เศรษฐกิจไทย

 

บทความยอดนิยม 10 อันดับ

 

อัปเดตข่าวทุกวันที่นี่ www.mreport.co.th   

Line / Facebook / Twitter / YouTube @MreportTH