กรุงศรี จัดสินเชื่อดอกเบี้ย 2% ต่อปี หนุน SME ปรับตัวรับดิจิทัล สร้างนวัตกรรมและความยั่งยืน
ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จํากัด (มหาชน)(BAY) สนับสนุนสินเชื่อเพื่อ SME ปรับตัวรับดิจิทัลเทคโนโลยี สร้างนวัตกรรมและความยั่งยืน ที่พร้อม Transform ธุรกิจสู่ข้อได้เปรียบการแข่งขัน ด้วยสินเชื่อเพื่อการปรับตัว (Transformation Loan) ตามโครงการความร่วมมือกับธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ด้วยอัตราดอกเบี้ยพิเศษ 2% ต่อปี ใน 2 ปีแรก และยกเว้นดอกเบี้ยในช่วง 6 เดือนแรก พร้อมฟรีค่าธรรมเนียมทุกประเภท วงเงินกู้สูงสุดถึง 150 ล้านบาท
วันที่ 12 ตุลาคม 2565 น.ส.ดวงกมล ลิมป์พวงทิพย์ ประธานคณะเจ้าหน้าที่ด้านลูกค้าธุรกิจ SME ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า สินเชื่อเพื่อการปรับตัว (Transformation Loan) เป็นโครงการความร่วมมือระหว่าง ธปท.และธนาคารกรุงศรีอยุธยาในการให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 ภายใต้ พ.ร.ก.สินเชื่อฟื้นฟู (Soft Loan) อีกทั้งสอดคล้องกับของวิสัยทัศน์ของธนาคารในการเติบโตอย่างยั่งยืนที่ครอบคลุมมิติด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (ESG) พร้อมกันกับการสนับสนุนสินเชื่อที่เชื่อมโยงกับการดำเนินงานด้านความยั่งยืน
ทั้งนี้ สินเชื่อเพื่อการปรับตัวเป็นเงินกู้ระยะเวลาสูงสุด 7 ปี วงเงินสูงสุด 150 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ยปีที่ 1-2 คงที่ 2% ต่อปี ปีที่ 3-5 อัตราดอกเบี้ยสูงสุด 7% ต่อปี และปีที่ 6 เป็นต้นไป อัตราดอกเบี้ยจะเป็นไปตามหลักเกณฑ์การพิจารณาของธนาคาร และยกเว้นดอกเบี้ยในช่วง 6 เดือนแรก พร้อมฟรีค่าธรรมเนียมทุกประเภท โดยให้วงเงินกู้สูงสุดถึง 150 ล้านบาท
- “สมาคมธนาคารไทย” ผนึก“ธปท.-เครือข่ายภาคเอกชน” พัฒนาเทคโนโลยีช่วย SMEs เข้าถึงสินเชื่ออย่างยั่งยืน
- กรุงไทย ผนึก อบก. หนุน SME เปลี่ยนเครื่องจักร ด้วยสินเชื่อ Robotics & Automation เริ่มต้น 4% ต่อปี ผ่อนนาน 7 ปี
- 'พาณิชย์' ร่วม SME D Bank ปล่อยสินเชื่อดอกต่ำ วงเงิน 2-15 ล้านบาท เริ่มต้น 2% ต่อปี
โดยสินเชื่อนี้จะสามารถช่วยสนับสนุนผู้ประกอบธุรกิจที่ได้ประคับประคองกิจการ ผ่านช่วงที่รุนแรงของสถานการณ์โควิด-19 มาแล้ว ให้สามารถปรับตัวและแข่งขันได้ในระยะต่อไป อีกทั้งให้ธุรกิจเตรียมความพร้อม ในการปรับปรุง พัฒนา และเสริมศักยภาพธุรกิจ โดยให้ความสำคัญต่อการส่งเสริมความสามารถในการแข่งขันที่สอดรับกับ New Normal ใน 3 รูปแบบ
โดยรูปแบบแรกเพื่อรับกระแสดิจิทัลเทคโนโลยีอันประกอบไปด้วยการนำดิจิทัลเทคโนโลยีมาปรับใช้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการธุรกิจหรือลงทุนในระบบการทำงานอัตโนมัติ (Automation) หรือนำหุ่นยนต์มาใช้ในกระบวนการผลิตและการบริการ
รูปแบบที่สอง เพื่อการสร้างนวัตกรรมแห่งโลกอนาคต ที่ประกอบไปด้วยการสร้างนวัตกรรมโดยลงทุนในเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่เสริมความสามารถการแข่งขันและความมั่งคงธุรกิจหรือเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือบริการที่ตอบโจทย์การใช้ชีวิตสมัยใหม่รวมถึงลงทุนในอุปกรณ์หรือเครื่องมือที่ทันสมัยและปลอดภัยเพื่อปรับรูปแบบธุรกิจสู่ High-value Service
และรูปแบบที่สาม เพื่อการดำเนินธุรกิจที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งประกอบไปด้วยการลงทุนในระบบประหยัดพลังงานหรือปรับใช้พลังงานทดแทนพลังงานสะอาดหรือพลังงานหมุนเวียน การลงทุนออกแบบสินค้าและบริการตลอดจนระบบการผลิตและการบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม หรือการลงทุนในเครื่องจักรเพื่อรองรับการขยายตัวของยานยนต์ไฟฟ้าหรือพลังงานสะอาด
นอกจากนี้ ธนาคารยังได้มีการสนับสนุนสินเชื่อที่เชื่อมโยงกับความยั่งยืนอื่นๆ เช่น สินเชื่อโซลาร์รูฟท็อปเพื่อผู้ประกอบการ สนับสนุนให้มีการใช้พลังงานทางเลือกมากขึ้นในหมู่ผู้ประกอบการและยังช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายด้านพลังงานจากการใช้พลังงานสะอาด โดยเป็นสินเชื่อที่ให้วงเงินสูงถึง 100% นอกจากนี้ ธนาคารยังได้มีการจัดอบรมสัมมนาเพื่อแบ่งปันความรู้เกี่ยวกับการกำหนดกลยุทธ์ ESG สำหรับธุรกิจสู่การเป็นข้อได้เปรียบในการแข่งขันและการเติบโตอย่างยั่งยืนให้ลูกค้าผู้ประกอบการของธนาคารอย่างต่อเนื่อง
- กนอ. จับมือ พพ. และ 5 สถาบันการเงิน หนุนใช้ “พลังงานสะอาด-ลดก๊าซเรือนกระจก”
- SME D Bank จับมือ กนอ. หนุนธุรกิจสีเขียว ปล่อยสินเชื่อดอกต่ำ 4.5% ต่อปี กู้สูงสุด 50 ล้าน ผ่อนยาว 10 ปี
- “ดีพร้อมเปย์” สินเชื่อระยะสั้น อุ้มผู้ประกอบการฝ่าทางตันธุรกิจ
บทความยอดนิยม 10 อันดับ
- 10 ตัวอย่างที่นำ 5G มาใช้งานได้อย่างน่าสนใจและประสบผลสำเร็จ
- เทคโนโลยีแห่ง G สู่ 5G เครือข่ายไร้สาย
- แบตเตอรี่ลิเธียมไอออนคืออะไร ตลาดจะก้าวไปในทางไหนในปี 2030?
- เทคโนโลยีสำหรับโลจิสติกส์ ทางเลือกสู่ทางรอด ปรับก่อนโดนเบียด
- นิยามใหม่ SME ใช้ “รายได้” เป็นตัวกำหนด
- ธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 ปี 2564
- กลยุทธ์การ PR และ Communication ในยุคดิจิทัล
- ปัญหาตู้คอนเทนเนอร์ขาดแคลน เจาะลึกตู้สินค้าหายไปไหน?
- เทรนด์การทำงานในอนาคต หลังไทยติดโควิด นานเกือบสองปี!
- FTA ไทย มีกี่ประเทศ พอหรือไม่ ทำไมต้องคิดเรื่อง CPTPP
อัปเดตข่าวทุกวันที่นี่ www.mreport.co.th
Line / Facebook / Twitter / YouTube @MreportTH