วิเคราะห์ส่งออกไทย ปี 2564: ฝ่าวิกฤติโควิด?
ม.หอการค้าไทย เผยผลการศึกษา "การวิเคราะห์ส่งออกไทย ปี 2564: ฝ่าวิกฤติโควิด?” โดยการผลิตวัคซีนโควิด -19 ได้ตามเป้าหมายเป็นปัจจัยสำคัญ หากไม่ได้ตามเป้า (น้อยกว่า 40% ของประชากรโลก) หวั่นฉุดส่งออกไทยติดลบ 0.8%
รองศาสตราจารย์ ดร.อัทธ์ พิศาลวานิช ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาการค้าระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยว่า ศูนย์ศึกษาการค้าระหว่างประเทศ ม.หอการค้าไทย ได้ทำการวิเคราะห์ทิศทางการส่งออกไทยปี 2564 ภายใต้สถานการณ์ที่ทั่วโลกยังเผชิญกับการระบาดของโควิด-19 โดยคาดว่าปี 2564 แบ่งเป็น
- กรณีผลิตวัคซีนโควิด-19 ได้ตามเป้าหมาย (40% ของประชากรโลก) ไทยจะมีมูลค่าการส่งออก 237,200 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (224,934- 242,356 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ) หรือขยายตัว 3.6% (-1.8 ถึง-5.8%)
- กรณีไม่สามารถผลิตวัคซีนโควิด -19 ได้ตามเป้าหมาย (ผลิตได้น้อยกว่า 40% ของประชากรโลก) และจำนวนผู้ติดโควิดวันละ 7-8 แสนคน ไทยจะมีมูลค่าการส่งออก 227,165 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (214,899- 232,321 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ) หรือหดตัว -0.8% (-6.2 ถึง-1.4%) ซึ่งมีปัจจัยที่สำคัญดังนี้
ปัจจัยบวกต่อการส่งออกที่สำคัญคือ
- เศรษฐกิจโลกและประเทศคู่ค้าเริ่มพื้นตัว
- ประเทศต่างๆ เริ่มมีการฉีดวัคซีนโควิด-19 ในปลายปี 2563
- ราคาน้ำมันที่มีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นกว่าปี 2563
- การลงนามความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP)
ปัจจัยเสี่ยงต่อการส่งออกที่สำคัญคือ
- ไม่สามารถผลิตวัคซีนโควิด-19 ครอบคลุมประชากรโลก
- ค่าเงินบาทที่มีทิศทางแข็งค่าอย่างต่อเนื่อง
- ปัญหาตู้สินค้าขาดแคลน และต้นทุนค่าขนส่งสูงขึ้น
- ผลกระทบจากกรอบความตกลง EVFTA
ประเด็นที่ต้องติดตาม
- นโยบายโจ ไบเดน ประธานาธิบดีคนใหม่ของสหรัฐฯ จะส่งผลต่อเศรษฐกิจโลก
- BREXIT DEAL
- อังกฤษและแคนาดาแบนสินค้าจีน