ดัชนีความเชื่อมั่นหอการค้าไทย ก.พ. 65 ลดต่อเนื่อง โควิด-สงคราม-น้ำมันแพง รุมเร้า
ดัชนีความเชื่อมั่นหอการค้าไทย (TCC Confidence Index) ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2565 อยู่ที่ระดับ 36.1 หดตัว 1.1 ค่าดัชนีฯ ลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 ผลจากการระบาดของโควิดสายพันธ์โอมิครอน สงครามรัสเซีย-ยูเครน รวมถึง ราคาน้ำมันและวัตถุดิบที่เพิ่มสูงขึ้น
ผศ.ดร.ธนวรรธน์ พลวิชัย อธิการบดี มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และประธานที่ปรึกษาศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยผลสำรวจสมาชิกผู้ประกอบการ 369 รายทั่วประเทศ ระหว่างวันที่ 21-25 กุมภาพันธ์ 2565 พบว่า ความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการปรับตัวลดลง ค่าดัชนีฯ อยู่ที่ระดับ 36.1 ลดลง 1.1 จากเดือนมกราคม 2565 ซึ่งอยู่ที่ระดับ 37.2 ลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 เป็นผลจากความวิตกกังวลต่อสถานการณ์โควิดในประเทศ โดยเฉพาะสายพันธุ์ "โอมิครอน, ความกังวลต่อสงครามระหว่างรัสเซียและยูเครน, ราคาน้ำมัน สินค้าและวัตถุดิบที่เพิ่มสูงขึ้นกระทบต่อภาคธุรกิจและประชาชน, ค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น เป็นต้น
- ดัชนีความเชื่อมั่นหอการค้าไทย ธ.ค. 64 ปรับตัวดีขึ้นสูงสุดรอบ 9 เดือน
- หอการค้าชี้ ฟื้นสัมพันธ์ซาอุดิอาระเบีย โอกาสทางเศรษฐกิจของไทย
- กกร. ขยับกรอบเงินเฟ้อ ปี'65 เพิ่ม 1.5-2.5% ห่วงราคาสินค้า-น้ำมันแพง ฉุดเศรษฐกิจไทยฟื้นตัวช้า
ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อดัชนีความเชื่อมั่นของหอการค้าไทย
ปัจจัยด้านลบ
- ความวิตกกังวลต่อสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ในประเทศไทยโดยเฉพาะไวรัสสายพันธุ์ใหม่ "โอมิครอน“ ที่มีการแพร่ระบาดเป็นวงกว้างอย่างรวดเร็ว และมีแนวโน้มของผู้ติดเชื้อเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
- ความกังวลต่อสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครน ที่จะส่งผลต่อเศรษฐกิจโลก และเศรษฐกิจไทย
- ราคาสินค้าในบางรายการโดยเฉพาะวัตถุดิบมีระดับราคาที่สูง ส่งผลต่อค่าครองชีพ และกำลังซื้อสินค้าของประชาชน และรายได้ของธุรกิจ
- ราคาน้ำมันขายปลีกในประเทศปรับตัวเพิ่มขึ้นโดยแก๊สโซฮอล ออกเทน 91 (E10) และแก๊สโซฮอล ออกเทน 95 (E10) ปรับตัวเพิ่มขึ้นประมาณ 2.50 บาทต่อลิตร
- ค่าเงินบาทปรับตัวแข็งค่าขึ้นเล็กน้อยจากระดับ 33.240 ฿/$ ณ สิ้นเดือน ม.ค. 64 เป็น 32.674 ฿/$ ณ สิ้นเดือน ก.พ. 65
- การปรับนโยบายและแนวทางการรักษาแก่ผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัส COVID-19 ในประเทศไทยที่ยังมีความไม่แน่นอน
ปัจจัยด้านบวก
- สศค. เผยผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ไตรมาสที่ 4/2564 ขยายตัว 1.9% จากการลดลง 0.2% ในไตรมาสที่ 3/2564
- กนง. มีมติเป็นเอกฉันท์ให้คงดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 0.50% ต่อปี โดยประเมินว่าเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มฟื้นตัวต่อเนื่อง และโควิดโอมิครอนสร้างผลกระทบสาธารณสุขในวงจำกัด ทำให้ความเสี่ยงต่อเศรษฐกิจไทยจึงลดลง
- มาตรการสนับสนุนการฟื้นตัวเศรษฐกิจ ได้แก่ มาตรการช้อปดีมีคืน โครงการคนละครึ่งเฟส 4 มาตรการขยายระยะเวลาการลดค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมสำหรับที่อยู่อาศัย เป็นต้น อย่างต่อเนื่อง
- การฉีดวัคซีนของทั้งโลกทำให้สถานการณ์ COVID-19 ในระดับโลกปรับตัวดีขึ้น และการฉีดวัคซีน COVID ในประเทศเกิดขึ้นเป็นรูปธรรมมากขึ้น
- การส่งออกของไทยเดือน ธ.ค. 64 ขยายตัวร้อยละ 7.98 มูลค่าอยู่ที่ 21,258.64 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และการนำเข้าขยายตัวร้อยละ 20.52 มีมูลค่าอยู่ที่ 23,784.99 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ส่งผลให้ดุลการค้าขาดดุล 2,526.35 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
- ราคาพืชผลทางการเกษตรหลายรายการปรับตัวดีขึ้นหรือทรงตัวในระดับที่ดีโดยเฉพาะข้าวยางพารา มันสำปะหลัง และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ส่งผลให้เกษตรกรเริ่มมีรายได้สูงขึ้น ทำให้กำลังซื้อในต่างจังหวัดเริ่มปรับตัวดีขึ้น
- และราคาน้ำมันดีเซลขายปลีกในประเทศ มีการปรับตัวลดลงที่ 0.80 บาทต่อลิตร
- SET Index เดือน ก.พ. 65 ปรับตัวเพิ่มขึ้น 36.37 จุด จาก 1,648.81 ณ สิ้นเดือน ม.ค. 64 เป็น 1,685.18 ณ สิ้นเดือน ก.พ. 65
ข้อเสนอแนะต่อภาครัฐ และแนวทางการดำเนินการของภาคเอกชนในการแก้ไขปัญหา
- หาแนวทางป้องกันผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากสงครามรัสเซียกับยูเครน
- มาตรการแนวทางการดูแลผู้ติดเชื้อไวรัสโควิด 19 รายใหม่ในประเทศที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
- มาตรการช่วยเหลือเพื่อบรรเทาราคาน้ำมัน ราคาก๊าซหุงต้ม ค่าไฟฟ้า รวมถึงภาระค่าใช้จ่ายของประชาชน
- มาตรการบรรเทาภาระหนี้สิน แนวทางการแก้ไขปัญหาหนี้ครัวเรือนให้ครอบคลุมทุกมิติ
- เพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันของประเทศและเพิ่มรายได้ให้ประชาชน เพื่อเพิ่มโอกาสในการสร้างรายได้ให้แก่ประชาชนอย่างทั่วถึงและเสมอภาค
- มาตรการการลงทุนเพื่อเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันของประเทศ โดยควรจะเร่งรัดการลงทุนโครงการขนาดใหญ่ของรัฐ ให้มีเม็ดเงินกระจายลงไปในพื้นที่ทั้งโครงการ EEC และโครงสร้างพื้นฐานสร้างความเชื่อมโยง
#หอการค้า #หอการค้าไทย #สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย #ภาคเอกชน #โควิด-19 #วิกฤตโควิด 19 ผลกระทบ #ผลกระทบธุรกิจจากโควิด-19 #บรรเทาผลกระทบโควิด #เยียวยาโควิด #มาตรการควบคุมการระบาด #GDP #จีดีพี #เศรษฐกิจไทย
บทความยอดนิยม 10 อันดับ
- 10 ตัวอย่างที่นำ 5G มาใช้งานได้อย่างน่าสนใจและประสบผลสำเร็จ
- เทคโนโลยีแห่ง G สู่ 5G เครือข่ายไร้สาย
- แบตเตอรี่ลิเธียมไอออนคืออะไร ตลาดจะก้าวไปในทางไหนในปี 2030?
- เทคโนโลยีสำหรับโลจิสติกส์ ทางเลือกสู่ทางรอด ปรับก่อนโดนเบียด
- นิยามใหม่ SME ใช้ “รายได้” เป็นตัวกำหนด
- ธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 ปี 2564
- กลยุทธ์การ PR และ Communication ในยุคดิจิทัล
- ปัญหาตู้คอนเทนเนอร์ขาดแคลน เจาะลึกตู้สินค้าหายไปไหน?
- เทรนด์การทำงานในอนาคต หลังไทยติดโควิด นานเกือบสองปี!
- FTA ไทย มีกี่ประเทศ พอหรือไม่ ทำไมต้องคิดเรื่อง CPTPP
อัปเดตข่าวทุกวันที่นี่ www.mreport.co.th
Line / Facebook / Twitter / YouTube @MreportTH