ดัชนีความเชื่อมั่นหอการค้าไทย ม.ค. 66 สูงสุดในรอบ 3 ปี
ดัชนีความเชื่อมั่นหอการค้าไทย (TCC Confidence Index) ประจำเดือนมกราคม 2566 อยู่ที่ระดับ 47.4 เพิ่มขึ้น 1.9 ค่าดัชนีฯ สูงสุดในรอบ 3 ปี ได้อานิสงส์จากการท่องเที่ยวฟื้นตัว อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มชะลอตัว อาจกระทบต่อภาคการส่งออกของไทย
นายวชิร คูณทวีเทพ ผู้อำนวยการสถาบันยุทธศาสตร์การค้า มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยผลสำรวจสมาชิกผู้ประกอบการ 369 รายทั่วประเทศ ระหว่างวันที่ 23-31 มกราคม 2566 พบว่า ความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 8 สูงสุดในรอบ 3 ปี ค่าดัชนีความเชื่อมั่นหอการค้าไทย อยู่ที่ระดับ 47.4 เพิ่มขึ้น 1.9 จากเดือนธันวาคม 2565 ซึ่งอยู่ที่ระดับ 45.5 ได้ปัจจัยบวกจากภาวะเศรษฐกิจไทยที่มีแนวโน้มฟื้นตัวจากภาคการท่องเที่ยว โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวชาวจีน, มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจปี 2566 เช่น ช้อปดีมีคืน, มาตรการลดภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง, SET Index เดือน ม.ค. 66 ปรับตัวเพิ่มขึ้น 2.80 จุด และราคาพืชผลทางการเกษตรปรับตัวดีขึ้น เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ภาวะเศรษฐกิจโลกยังคงอยู่ในแนวโน้มชะลอตัว ทำให้คาดว่าจะกระทบต่อภาคการส่งออกของไทย
- ดัชนีความเชื่อมั่นหอการค้าไทย ธ.ค. 65 เพิ่มขึ้นต่อเนื่องเดือนที่ 7
- กกร. คง GDP ปี'66 ขยายตัว 3 - 3.5% วอนรัฐลดค่าไฟ งวด พ.ค - ส.ค.
- วิเคราะห์ส่งออกไทย ปี 2566: “โตแค่ไหนในยุคเศรษฐกิจโลกถดถอย”
ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อดัชนีความเชื่อมั่นของหอการค้าไทย
ปัจจัยด้านลบ
- เศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มชะลอตัวส่งผลกระทบต่อภาคการส่งออก คาดว่าจะมีการชะลอลง แต่ทั้งนี้เศรษฐกิจโดยรวมยังคงฟื้นตัวได้ใกล้เคียงเดิม
- กนง. มีมติเป็นเอกฉันท์ให้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% ต่อปี จาก 1.25% เป็น 1.50% ต่อปี
- การส่งออกของไทยเดือน ธ.ค. 65 หดตัวร้อยละ 14.56 มูลค่าอยู่ที่ 21,718.81 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ขณะที่การนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.95 มีมูลค่าอยู่ที่ 22,752.71 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ส่งผลให้ดุลการค้าขาดดุล 1,033.90 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
- ราคาน้ำมันขายปลีกแก๊สโซฮอล ออกเทน 91 (E10) และแก๊สโซฮอล ออกเทน 95 (E10) ในประเทศปรับตัวเพิ่มขึ้นประมาณ 1.90 บาทต่อลิตร มาอยู่ที่ระดับ 36.38 และ 36.65 บาทต่อลิตร ส่วนราคาน้ำมันดีเซลขายปลีกในประเทศยังคงทรงตัวจากเดือนที่ผ่านมา โดยอยู่ที่ระดับ 34.94 บาทต่อลิตร
- สถานการณ์สงครามระหว่างรัสเซียและยูเครน รวมถึงจีนกับไต้หวันที่อาจส่งผลให้การเติบโตของเศรษฐกิจโลกชะลอตัว ราคาพลังงาน ราคาอาหาร และเงินเฟ้อเพิ่มสูงขึ้น
- ความวิตกกังวลต่อสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ที่ยังคงเกิดขึ้นและยิ่งมีการเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติอย่างต่อเนื่อง ส่งผลทำให้ประชาชนยังต้องระมัดระวังการดำเนินชีวิตประจำวันมากขึ้น
ปัจจัยด้านบวก
- นักท่องเที่ยวต่างชาติที่เข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทยจำนวนมากขึ้นเนื่องจากประเทศจีนยกเลิกมาตรการควบคุมโควิด 19 และอนุญาตให้ประชาชนสามารถเดินทางออกนอกประเทศได้ตั้งแต่วันที่ 8 ม.ค. 66
- มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจปี 2566 ให้ประชาชนอย่างต่อเนื่อง อย่างมาตรการช้อปดีมีคืน, มาตรการลดภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง เป็นต้น
- SET Index เดือน ม.ค. 66 ปรับตัวเพิ่มขึ้น 2.80 จุด จาก 1,668.66 ณ สิ้นเดือน ธ.ค. 65 เป็น 1,671.46 ณ สิ้นเดือน ม.ค. 66
- การผ่อนคลายมาตรการคุมเข้มโควิด 19 ทำให้ตลาดเริ่มฟื้นตัวจากโควิดกลับมาดำเนินชีวิตตามปกติ โดยเฉพาะช่วงเทศกาลท่องเที่ยวและจับจ่ายและการเพิ่มขึ้นของนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศ
- ราคาพืชผลทางการเกษตรหลายรายการปรับตัวดีขึ้นหรือทรงตัวในระดับที่ดี โดยเฉพาะข้าว มันสำปะหลัง และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ส่งผลให้เกษตรกรเริ่มมีรายได้สูงขึ้น
- ค่าเงินบาทปรับตัวแข็งค่าขึ้นเล็กน้อยจากระดับ 34.795 ฿/$ ณ สิ้นเดือน ธ.ค. 65 เป็น 33.225 ฿/$ ณ สิ้นเดือน ม.ค. 66
ข้อเสนอแนะต่อภาครัฐ และแนวทางการดำเนินการของภาคเอกชนในการแก้ไขปัญหา
- ดูแลรักษาต้นทุนการประกอบธุรกิจที่มีแนวโน้มสูงขึ้นในเรื่องอัตราค่าไฟฟ้า และค่าน้ำมันที่มีแนวโน้มปรับขึ้นราคา ซึ่งปัจจัยด้านพลังงานถือเป็นต้นทุนสำคัญของภาคธุรกิจต่างๆ
- สภาพคล่องทางการเงินในการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ของธุรกิจ ดูแลเรื่องอัตราดอกเบี้ยไม่ให้สูง และดูแลค่าเงินบาทให้เอื้อต่อธุรกิจส่งออกนำเข้าอย่างเหมาะสม
- การว่างงานจากสภาวะเศรษฐกิจที่ยังฟื้นตัวไม่เต็มที่ ทำให้ธุรกิจส่วนใหญ่ไม่พร้อมที่จะดำเนินกิจกรรมทางธุรกิจอย่างเต็มที่
- มาตรการรับมือในการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด 19 ที่อาจจะเริ่มกลับมาสูงขึ้นอีกครั้ง จากการเปิดรับนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติมากขึ้น
#หอการค้า #หอการค้าไทย #สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย #ภาคเอกชน #โควิด-19 #วิกฤตโควิด 19 ผลกระทบ #ผลกระทบธุรกิจจากโควิด-19 #บรรเทาผลกระทบโควิด #เยียวยาโควิด #มาตรการควบคุมการระบาด #GDP #จีดีพี #เศรษฐกิจไทย
บทความยอดนิยม 10 อันดับ
- สรุปยอดขายรถยนต์ ครึ่งปีแรก 2022
- ภาพรวมอุตสาหกรรมโซลาร์เซลล์ของไทย
- สถานการณ์ชิปขาดตลาด 2022 จะสิ้นสุดเมื่อไหร่?
- 12 เทรนด์เทคโนโลยีมาแรงแห่งปี 2022
- 10 ตัวอย่างที่นำ 5G มาใช้งานได้อย่างน่าสนใจและประสบผลสำเร็จ
- เทคโนโลยีแห่ง G สู่ 5G เครือข่ายไร้สาย
- แบตเตอรี่ลิเธียมไอออนคืออะไร ตลาดจะก้าวไปในทางไหนในปี 2030?
- เทคโนโลยีสำหรับโลจิสติกส์ ทางเลือกสู่ทางรอด ปรับก่อนโดนเบียด
- นิยามใหม่ SME ใช้ “รายได้” เป็นตัวกำหนด
- FTA ไทย มีกี่ประเทศ พอหรือไม่ ทำไมต้องคิดเรื่อง CPTPP
อัปเดตข่าวทุกวันที่นี่ www.mreport.co.th
Line / Facebook / Twitter / YouTube @MreportTH