ดัชนีความเชื่อมั่นหอการค้าไทย 2566 เมษายน

ดัชนีความเชื่อมั่นหอการค้าไทย เม.ย. 66 สูงสุดในรอบ 64 เดือน

อัปเดตล่าสุด 11 พ.ค. 2566
  • Share :
  • 30,401 Reads   

ดัชนีความเชื่อมั่นหอการค้าไทย (TCC Confidence Index) ประจำเดือนเมษายน 2566 อยู่ที่ระดับ 51.9 เพิ่มขึ้น 1.4 จากเดือนก่อนหน้า ได้ปัจจัยบวกจากการเลือกตั้ง-ท่องเที่ยว ดันค่าดัชนีฯ สูงสุดในรอบ 64 เดือน

นายวชิร คูณทวีเทพ ผู้อำนวยการสถาบันยุทธศาสตร์การค้า มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยผลสำรวจสมาชิกผู้ประกอบการ 369 รายทั่วประเทศ ระหว่างวันที่ 24-28 เมษายน 2566 พบว่า ความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 11 ค่าดัชนีความเชื่อมั่นหอการค้าไทย อยู่ที่ระดับ 51.9 เพิ่มขึ้น 1.4 จากเดือนมีนาคม 2566 ซึ่งอยู่ที่ระดับ 50.5 ค่าดัชนีฯ อยู่ในระดับสูงสุดในรอบ 64 เดือน นับตั้งแต่เริ่มทำสำรวจ โดยได้รับปัจจัยบวกจากการการเลือกตั้งและฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยว และราคาพืชผลทางการเกษตรปรับตัวดีขึ้นหลายรายการ อย่างไรก็ตาม ยังมีปัจจัยลบจากภาวะเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว, ปัญหาพลังงาน และการหดตัวของภาคการส่งออกในเดือนมีนาคมที่ผ่านมา

ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อดัชนีความเชื่อมั่นของหอการค้าไทย

ปัจจัยด้านลบ

  • สศค. ปรับลดประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 66 ใหม่เหลือ 3.6% จาก 3.8% เป็นผลจากภาคส่งออกในปีนี้ ที่คาดว่าจะติดลบ 0.5%

  • แรงกดดันจากเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว ส่งผลให้ราคาน้ำมันและพลังงานโลกยังทรงตัวสูง ซึ่งรวมถึงบรรยากาศความตึงเครียดของสงคราม 2 ประเทศรัสเซียและยูเครน

  • การส่งออกของไทยเดือน มี.ค. 66 หดตัว 4.2% มูลค่าอยู่ที่ 27,654.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ขณะที่การนำเข้าลดลง 7.1% มีมูลค่าอยู่ที่ 24,935.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ส่งผลให้ดุลการค้าเกินดุล 2,718.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

  • สถานการณ์ค่าพลังงานที่ยังคงทรงตัวอยู่ในระดับที่สูง

  • ความกังวลต่อสถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 ในเขตพื้นที่ กทม. และปริมณฑล และในบางจังหวัดของภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

  • ความวิตกกังวลต่อสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่เกิดขึ้นและมีแนวโน้มที่จะสูงขึ้น เนื่องจากมีการเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติอย่างต่อเนื่อง ซึ่งทำให้ประชาชนยังต้องระมัดระวังการดำเนินชีวิตประจำวันมากขึ้น

  • ความวิตกกังวลต่อความเสี่ยงเรื่องวิกฤตภาคธนาคารที่ยังคงมีอยู่ จากการที่สหรัฐเผชิญความเสี่ยงในภาคการเงินและวิกฤตเพดานหนี้ มีแนวโน้มกดดันเศรษฐกิจระยะข้างหน้า

ปัจจัยด้านบวก

  • กกต. มีมติให้จัดการเลือกตั้ง ส.ส. ในวันที่ 14 พ.ค. 66 ทำให้บรรยากาศในการหาเสียงคึกคักทั่วประเทศ

  • รัฐบาลยังมีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจปี 66 ให้ประชาชนอย่างต่อเนื่อง เช่น ภาคการท่องเที่ยว ในโครงการเราเที่ยวด้วยกัน เฟส 5 ที่เริ่ม 7 มี.ค.-30 เม.ย. 66 และโครงการบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ มาตรการช่วยเหลือด้านการลดค่าครองชี

  • บรรยากาศการท่องเที่ยวไทยคึกคักต่อเนื่อง จากจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติ ที่เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทยมากขึ้น หลังจากการเปิดประเทศ ประกอบกับช่วงเทศกาลหยุดยาววันสงกรานต์

  • ราคาน้ำมันขายปลีกในประเทศ ทั้งแก๊สโซฮอล และดีเซลปรับตัวลดลงจากเดือนที่ผ่านมา

  • เงินบาทปรับตัวแข็งค่าขึ้นเล็กน้อย จากระดับ 34.503 บาท/ดอลลาร์ ณ สิ้นเดือน มี.ค.66 เป็น 34.285 บาท/ดอลลาร์ ณ สิ้นเดือน เม.ย.66

  • ราคาพืชผลทางการเกษตรหลายรายการปรับตัวดีขึ้น ส่งผลให้เกษตรกรเริ่มมีรายได้สูงขึ้น และมีกำลังซื้อในต่างจังหวัดเริ่มปรับตัวดีขึ้น

ข้อเสนอแนะต่อภาครัฐ และแนวทางการดำเนินการของภาคเอกชนในการแก้ไขปัญหา

  • มาตรการป้องกันการทุจริตคอรัปชันของหน่วยงานภาครัฐ

  • ดูแลต้นทุนสินค้า และค่าใช้จ่ายด้านสาธารณูปโภค (ไฟฟ้า) ให้อยู่ในระดับราคาที่เหมาะสม

  • รักษาฐานค่าแรงตามความเหมาะสมของอัตราเงินเฟ้อ และรายจ่ายตามสถานการณ์จริงในปัจจุบัน

  • สร้างความเท่าเทียมทำให้เศรษฐกิจในแต่ละพื้นที่มีความคึกคัก โดยไม่ต้องเดินทางเข้าเมืองหลวงเพื่อหาโอกาส

  • การแก้ไขปัญหาเรื่องของฝุ่นควัน PM 2.5 ที่เกินมาตรฐาน จนกระทบต่อการดำเนินชีวิตของประชาชนในพื้นที่

 

#หอการค้า #หอการค้าไทย #สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย #ภาคเอกชน #โควิด-19 #วิกฤตโควิด 19 ผลกระทบ #ผลกระทบธุรกิจจากโควิด-19 #บรรเทาผลกระทบโควิด #เยียวยาโควิด #มาตรการควบคุมการระบาด #GDP #จีดีพี #เศรษฐกิจไทย

 

บทความยอดนิยม 10 อันดับ

 

อัปเดตข่าวทุกวันที่นี่ www.mreport.co.th   

Line / Facebook / Twitter / YouTube @MreportTH